9 มะเร็งยอดฮิตที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด ทุกเพศทุกวัย

9 มะเร็งยอดฮิตที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด ทุกเพศทุกวัย

9 มะเร็งยอดฮิตที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด ทุกเพศทุกวัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จริงๆ ก็ไม่อยากจะใช้คำว่า “ยอดฮิต” เท่าไร เพราะเรื่องฮิตๆ จริงๆ มันควรจะเป็นเรื่องที่ฟังแล้วชื่นใจ แต่มันก็ฮิตจริงๆ เพราะ “มะเร็ง” เป็นหนึ่งในโรคฮิตที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต แถมยังพบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย

หากจะถามว่า แล้วมะเร็งส่วนไหนล่ะ ที่พบว่าคนไทยเป็นมากที่สุด ลองเดากันดูเล่นๆ ก่อนเลื่อนไปอ่านด้านล่างกันนะคะ

 

มะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในคนไทย

จากรายงานสถิติล่าสุดของสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี พ.ศ. 2554 และรายงาน Globocan ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี พ.ศ. 2555 พบว่า

เพศชาย

  1. มะเร็งปอด
  2. มะเต็งตับ
  3. มะเร็งลำไส้ใหญ่
  4. มะเร็งช่องปาก และคอหอย

 

เพศหญิง

  1. มะเร็งปากมดลูก
  2. มะเร็งเต้านม
  3. มะเร็งลำไส้ใหญ่

 

เด็ก

  1. มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  2. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  3. มะเร็งสมอง

 

** สถิติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในเพศชาย และเพศหญิง

 beef-for-burgeriStock

 

สาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น

  1. ทานผักผลไม้น้อยลง

จากรายงานผลการสำรวจสุขภาพประชาชนครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2551-2552) โดยสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ซึ่งสำรวจการบริโภคผักปลไม้ในคนไทย พบว่า ประชากรในกรุงเทพมหานคร และภาคกลาง บริโภคผักผลไม้น้อยที่สุดในประเทศ มีประชาชนเพียงร้อยละ 14.5 เท่านั้นที่บริโภคผักผลไม้เพียงพอ คือ ปริมาณ 400 กรัมต่อวันตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก

ในขณะเดียวกัน สถิติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศก็พบสูงสุดในประชากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร และภาคกลางเช่นกัน

 

  1. ทานเนื้อสัตว์ และไขมันสูง

สัมพันธ์กับข้อแรก พฤติกรรมการบริโภคแบบตะวันตก ที่เน้นอาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์มาก ทั้งที่ภูมิอากาศบ้านเราก็เป็นเมืองร้อน ไม่จำเป็นต้องทานอาหารพลังงานสูงเพื่อต่อสู้กับอากาศหนาวเย็นเหมือนตะวันตก จึงทำให้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ได้

 

  1. ออกกำลังกายน้อย

พฤติกรรมนั่งอยู่กับที่ ออกกำลังกายน้อย และมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง หรือขยับตัวน้อย เหล่านี้นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อโรคมะเร็งลำไส้

 

วิธีใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากโรคมะเร็ง

  1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการทานอาหารไขมันสูง เนื้อแดง อาหารปิ้งย่างกรอบไหม้ อาหารแปรรูปเช่น ไส้กรอก แหนม แฮม ฯลฯ ของหมักดอง
  2. ทานผักผลไม้ให้มากขึ้น
  3. งดดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างต่ำ 30 นาที 3-4 วันต่อสัปดาห์ ทั้งคาร์ดิโอ และเวทเทรนนิ่ง
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
  6. หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook