ขี้โอ่ มั่นใจว่าตัวเองเก่งที่สุด อาการของโรคทางจิต “Manic Episode”

ขี้โอ่ มั่นใจว่าตัวเองเก่งที่สุด อาการของโรคทางจิต “Manic Episode”

ขี้โอ่ มั่นใจว่าตัวเองเก่งที่สุด อาการของโรคทางจิต “Manic Episode”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยชมการสัมภาษณ์ของบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นคนในวงการบันเทิง กีฬา ธุรกิจ การเมือง หรือเป็นเซเล็บชื่อดังจากโลกออนไลน์กันบ้างไหมคะ เคยรู้สึกหรือเปล่าว่าบางคนตอบคำถามอย่างมั่นใจ พูดเร็วและรัวจนพิธีกรแทบไม่ได้พูด เชื่อมั่นในตนเองว่าเป้นคนเก่งอย่างที่ไม่มีใครเทียบเท่า จนบางครั้งเรารู้สึกได้ว่าคนๆ นี้เป็นคนขี้โอ่ขี้อวด และมั่นใจในตัวเองมากเกินไป หากถูกขัดใจก็จะมีอารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง จนทำให้อีกฝ่ายงงจนตั้งตัวไม่ติด

อาการเหล่านี้ เป็นอาการของผู้ป่วยโรคทางจิต ที่มีชื่อว่า Manic Episode ค่ะ

 

Manic Episode คืออะไร?

Manic Episode (แมนิค เอพิโสด) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งของโรค Bipolar (ไบโพล่าร์) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว โดย Manic Episode เป็นช่วงหนึ่งที่ผู้ป่วยมีอาการฟุ้งซ่าน ที่จะเกิดขึ้นสลับกับช่วงที่มีอาการซึมเศร้า

โดย Manic Episode จะมีเป็นช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการพุ่งพล่าน อยู่ไม่สุข มีพลังมาก อาจจะเดินไปเดินมา หรือทำอะไรต่อมิอะไรอยู่ตลอดเวลา คิดเร็วพูดเร็ว ไม่ค่อยอยากนอน เพราะอยากทำนู่นนี่ไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ในช่วงแรกๆ อาจจะมีการหลงผิด มั่นใจในตัวเองสูงมาก คิดว่าตัวเองเก่งที่สุด เป็นคนใหญ่คนโต มีชื่อเสียง ร่ำรวยมีเงินมีทองมหาศาล เป็นคนสำคัญที่ใครๆ ต้องสนใจและให้ความนับถือ

 

 

อาการด้านลบของ Manic Episode

จากอาการนอนน้อย บวกกับความตึงเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้มีสมาธิสั้น ฉุนเฉียวง่าย โมโหแรงเมื่อถูกขัดใจ หรือสิ่งที่ทำไปไม่สำเร็จดั่งที่หวัง หรือเกิดเหตุผิดพลาดในสิ่งที่กำลังทำอยู่ จนอาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย หุนหันพลันแล่น และอาจควบคุมอารมณ์ และการกระทำของตัวเองไม่ได้ จนอาจทำร้ายคนรอบข้างได้

ผู้ป่วย Manic Episode อาจเริ่มเข้าสู่ช่วง Depression (ซึมเศร้า) อาจเริ่มมีอาการประสาทหลอน หูแว่ว คิดว่าไปได้ยินเรื่องที่ทำให้เข้าใจผิด จากอารมณ์ฉุนเฉียวขี้โมโห ก็อาจเข้าสู่ช่วงหวานระแวง กลัว ไม่มีความสุข น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ นอนไม่หลับ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ เริ่มรู้สึกผิด หรือรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่มีใครรักและสนใจ จนอาจนำไปสู่ช่วงอารมณ์ดำดิ่งที่ทำให้อยากฆ่าตัวตายได้

อนึ่ง ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ยังพอควบคุมสติได้บ้าง ใช้ชีวิตทำงานตามปกติได้บ้าง อาจจะเรียกได้ว่ามีอาการ Hypomanic Episode

 bragging-2iStock

วิธีรักษา Manic Episode

ผู้ป่วยต้องยอมรับตัวเองว่ามีอาการผิดปกติทางจิต และพร้อมเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ จิตแพทย์จะเน้นไปที่การปรับสภาพอารมณ์ด้วยยาก่อน จึงตามด้วยการช่วยเหลือทางด้านจิตใจ

แพทย์จะเลือกยามในกลุ่มที่ช่วยปรับสภาพอารมณ์ให้คงที่ ไม่ฟุ้งซ่านหรือหุนหันพลันแล่น เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ป่วยเอง และคนรอบข้าง จากนั้นถึงเสริมด้วยกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อช่วยปรับสภาพจิตใจให้ดีขึ้น ลดความรู้สึกแง่ลบ และผ่อนคลายกับตัวเองมากขึ้น โดยแพทย์อาจติดตามอาการ และเปลี่ยนยาตามอาการที่เปลี่ยนไปด้วย แต่ที่สำคัญคือผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และอย่าขาดยาเป็นอันขาด

 

อยากให้เข้าใจว่าหากเขาหรือเธอคนนั้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Mania Episode จริง ต้องเข้าใจและเห็นใจพวกเขาให้มากๆ เพราะเขาเหล่านั้นไม่สามารถควบคุมตัวเองได้จริงๆ และไม่ควรแนะนำว่าให้ไปนั่งสมาธิสวดมนต์แล้วจะดีขึ้น เพราะนี่เป็นอาการทางประสาท ไม่สามารถทำให้จิตใจดีขึ้นด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ได้รับยาอย่างต่อเนื่อง และติดตามอาการเป็นระยะเวลาพอสมควร การนั่งสมาธิสวดมนต์เป็นเพียงวิธีที่ช่วยเพิ่มความผ่อนคลายให้กับร่างกายและจิตใจของคนที่ไม่ได้มีอาการทางจิตเท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook