“หูตึงเฉียบพลัน” อันตรายที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา

“หูตึงเฉียบพลัน” อันตรายที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา

“หูตึงเฉียบพลัน” อันตรายที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากเป็นโรคร้ายที่มีสัญญาณเตือนของโรคให้เราได้ทราบก่อน เราก็ยังพอมีเวลาไปพบแพทย์ก่อนที่จะมีอาการของโรคเด่นชัดจนรบกวนการดำเนินชีวิตของเรา แต่หากโชคร้าย ดันเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันแบบไม่ทันได้ตั้งตัว และยังหาสาเหตุที่เกิดอย่างแน่ชัดไม่ได้อีกด้วย คงทำให้คุณเตรียมรับมือกับโรคลำบากแน่ๆ

นอกจากเส้นเลือดสมองแตก หรือหัวใจวายเฉียบพลันที่คนไทยรู้จักกันดีแล้ว ยังมีอีกโรคหนึ่งที่เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และพบผู้ป่วยในไทยเป็นมากขึ้นอย่างหาสาเหตุไม่ได้

 

โรคหูตึงเฉียบพลัน

โรคหูตึงเฉียบพลัน หรือโรคหูดับ คือภาวะที่มีการสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับฟังเสียงบกพร่องที่เกิดขึ้นทันทีทันใด พบได้ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย มักพบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และวัยกลางคน

 

สาเหตุของโรคหูตึงเฉียบพลัน

เป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันก็ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นเพราะสาเหตุใด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากเชื้อไวรัส การอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน การบวมน้ำของหูชั้นใน การมีรูรั่วของท่อหูชั้นใน แต่อาจเกิดจากสาเหตุที่เป็นอันตรายได้ เช่น เนื้องอกบริเวณประสาทหู หรือความผิดปกติของสมอง เป็นต้น

 

อาการของโรคหูตึงเฉียบพลันที่พบบ่อย

  1. สูญเสียการได้ยินเฉียบพลัน และมักเป็นเฉพาะหูข้างเดียว

  2. อาจมีอาการเสียงดังรบกวนในหูข้างนั้น

  3. มีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย

 

การตรวจวินิจฉัยโรคหูตึงเฉียบพลัน

แพทย์อาจทำการซักประวัติพร้อมตรวจร่างกาย และตรวจระดับการได้ยินขั้นต้น โดยใช้เครื่องมือ Audiometer ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจเพิ่มพิเศษ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง หรือตรวจทางรังสี

 

วิธีรักษาโรคหูดับเฉียบพลัน

  1. รักษาด้วยยา เช่น ยาลดการอักเสบ ยาขยายหลอดเลือด วิตามิน หรือยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ

  2. ผู้ป่วยอาจสามารถนอนพักที่บ้านได้ หรือบางคนอาจต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการ

  3. แพทย์จะนัดตรวจวัดระดับการได้ยิน เป็นระยะเพื่อประเมินผลการรักษา และติดตามผลการรักษาในระยะยาวต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook