6 ความเสี่ยง “นิ่วในถุงน้ำดี” ที่ผู้หญิงควรระวัง
“นิ่วในถุงน้ำดี” ไม่ใช่โรคใหม่ และไม่ใช่โรคที่มีการกล่าวถึงกันในวงกว้างมากนัก แม้ว่าจะไม่ได้มีอันตรายต่อชีวิตมากเท่าโรคอื่นๆ อย่าง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคตับ หรือโรคไต แต่ก็ยังเป็นโรคที่ควรระมัดระวัง และควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่จะมีอาการมากไปกว่าเดิม
นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยพบในคนไทยราว 5-10 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นควรสังเกตอาการของตัวเองให้ดี แล้วรีบพบแพทย์
นิ่วในถุงน้ำดี คืออะไร?
นิ่วในถุงน้ำดี เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการขาดสมดุลของน้ำดี จนทำให้คอเลสเตอรอล เกลือแร่ และโปรตีนในน้ำดีเกิดการตกผลึกของหินปูน หรือแคลเซียมเป็นก้อนกลมๆ หรือเหลี่ยมๆ มีสีเข้ม หากก้อนนิ่วเข้าไปอุดในถุงน้ำดี อาจทำให้ถุงน้ำดีอักเสบ หรือการเป็นมะเร็งถุงน้ำดีได้
ใครที่มีความเสี่ยงต่อภาวะนิ่วในถุงน้ำดี
- เพศหญิง มีโอกาสเกิดนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าเพศชาย 2-3 เท่า
- อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
- เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
- อยู่ในภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน จะทำให้มีคอเลสเตอรอลสะสมอยู่ในถุงน้ำดีมากเกินไป
- มีอาการจุกแน่นท้องบ่อยๆ หลังทานอาหารที่มีไขมันสูงราว 1-2 ชั่วโมง และอาการอาจไม่ดีขึ้น แม้ทานยาลดกรด
- เป็นผู้ป่วยโรคทาลัสซีเมีย
อันตรายของนิ่วในถุงน้ำดี
นอกจากการที่ก้อนนิ่วอาจเข้าไปอุดตันถุงน้ำดี จนอาจก่อให้เกิดอาการถุงน้ำดีอักเสบ หรือกลายเป็นมะเร็งถุงน้ำดีได้ในภายหลังแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายมากขึ้นกับคนที่ไม่ค่อยเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพราะยังคิดว่าอาการจุกแน่นท้องสามารถรักษาให้หายได้แค่เพียงซื้อยาลดกรดทาน กว่าจะถึงมือแพทย์จึงอยู่ในระยะอาการที่เป็นหนัก รุนแรง เช่น ก้อนนิ่วตกลงไปในท่อน้ำดีแล้ว ซึ่งอาจทำให้การรักษายุ่งยากมากยิ่งขึ้น
การป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี
แม้ว่าจะเป็นอาการที่ป้องกันได้ค่อนข้างยาก แต่เราสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ เพียงแค่ลดการทานอาการมัน อาหารทอด อาหารที่มีไขมันสูง รวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ งดการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันภาวะอ้วนลงพุง และเข้ารับการตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีโดยไม่รู้ตัว