10 สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ “ความดันโลหิตสูง” สาเหตุโรคหัวใจ-ไต-หลอดเลือดสมอง

10 สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ “ความดันโลหิตสูง” สาเหตุโรคหัวใจ-ไต-หลอดเลือดสมอง

10 สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ “ความดันโลหิตสูง” สาเหตุโรคหัวใจ-ไต-หลอดเลือดสมอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุของหลายๆ โรคอันตรายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง และอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่อันตรายจนถึงชีวิตได้ทั้งนั้น และความดันโลหิตสามารถตรวจพบได้ง่ายๆ จากการวัดความดันเมื่อเราเข้ารับการตรวจร่างกาย หรือตรวจสุขภาพประจำปี ดังนั้นหากเราให้ความสนใจกับความดันโลหิตอยู่เสมอ ก็อาจจะช่วยป้องกันเราจากโรคอันตรายเหล่านั้นได้อย่างทันท่วงที

มีเรื่องอะไรที่เราควรทราบเกี่ยวกับความดันโลหิตบ้าง มาดูรายละเอียดกัน

 

  1. ความดันโลหิตมี 2 จำนวน คือ ค่าบน เป็นความดันช่วงหัวใจบีบ และค่าล่าง เป็นความดันช่วงหัวใจคลายตัว ค่าความดันโลหิตที่เหมาะสม คือ ค่าบนไม่เกิน 120 และค่าล่างไม่เกิน 80 หากคุณมีความดันอยู่ที่ 130/80 ขึ้นไป แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์ความดันโลหิตสูงเรียบร้อยแล้ว

 

  1. หากความดันโลหิตสูงไม่เกิน 10 มิลลิเมตรปรอท จากค่าปกติ เช่น 130/90 ส่วนใหญ่แพทย์จะยังไม่ถึงกับให้เข้ารับการรักษาอย่างเป็นทางการ อาจจะแค่ให้กลับไปปรับไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตเล็กน้อย เว้นแต่จะมีอาการที่อะไรส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างชัดเจน

 

  1. หากมีความดันโลหิตสูงเล็กน้อย ให้ปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น ลดน้ำหนัก ลดทานเค็ม ทานอาหารที่มีโพแทสเซียมให้มากขึ้น เช่น ลูกพรุน ลูกเกด เมล็ดทานตะวัน อินทผาลัม แซลมอน ผักโขม เห็ด กล้วย และส้ม และออกกำลังกายให้มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เว้นแต่ทำทุกอย่างแล้ว ความดันโลหิตยังไม่ลดลง

 

  1. หากความดันโลหิตค่าบนมากกว่า 140 ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ แต่หากน้อยกว่านี้ อาจจะยังไม่แนะนำให้เข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจัง เพราะนอกจากจะสามารถลดความดันโลหิตลงได้ด้วยตัวเองจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว การรักษาด้วยยาอาจส่งผลข้างเคียงอื่นๆ ได้ เช่น เวียนหัว หน้ามืด หรือทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของไตลดลง เว้นแต่คุณจะมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น เป็นโรคเบาหวาน สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือประวัติสมาชิกครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เริ่มต้น

 

  1. การวัดความดันโลหิตอาจทำได้หลายครั้ง ในเวลาที่ต่างกัน เพื่อให้แพทย์สามารถหาค่าความดันโลหิตที่แน่นอนได้

 

  1. วิธีที่ทำให้ได้ค่าความดันโลหิตที่ถูกต้องที่สุด คือ ให้นั่งนิ่งๆ อยู่ในห้องเฉยๆ กับเก้าอี้ ยืดหลังตรงพิงพนัก งดกาแฟ หรือแอลกอฮอล์ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง นั่งอยู่เฉยๆ อย่างน้อย 5 นาที และอาจทำการวัดค่าความดันโลหิตซ้ำครั้งที่ 2 หลังจากผ่านครั้งแรกไปอย่างน้อย 5 นาที หากมีการวัดซ้ำครั้งที่ 3 ควรนำมาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้ง เพื่อให้ได้เป็นค่าความดันที่ถูกต้องที่สุด

 

  1. อาหารที่ช่วยลดความดันโลหิตได้ดี ได้แก่ ผักผลไม้สด อาหารที่มีโพแทสเซียม ถั่ว และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อย สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้มากกว่า 11 มิลลิเมตรปรอท ในขณะที่การออกกำลังกายก็ช่วยลดความดันโลหิตได้อีก 4 มิลลิเมตรปรอท หากทำทั้งคู่จะช่วยลดความดันโลหิตได้มากขึ้น

 

  1. ขนาดของสายรัดแขนก็มีส่วนทำให้ค่าความดันโลหิตคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน เช่น หากคนที่มีต้นแขนใหญ่ ใช้สายรัดแขนวัดความดันขนาดเล็ก ค่าความดันที่ได้อาจจะสูงเกินจริง ดังนั้นควรเลือกสายรัดแขนที่เหมาะกับขนาดของแขนตัวเอง

 

  1. ใครที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิต หรืออยากควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติอยู่เสมอ สามารถหาซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาใช้ที่บ้านเองได้ ปัจจุบันมีจำหน่ายแล้วตามร้านขายยาใกล้บ้าน หรือห้างสรรพสินค้า

 

  1. หากเข้ารับการรักษากับแพทย์ด้วยการใช้ยา ยังสามารถปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างที่แนะนำไปข้างต้นได้อีกเช่นกัน และหากระหว่างการทานยาตัวใดตัวหนึ่งอยู่ แล้วมีอาการข้างเคียงที่รู้สึกได้ ควรรีบบอกแพทย์ที่รักษาอยู่ด้วยทันที เพื่อที่แพทย์อาจจะทำการเปลี่ยนตัวยาใหม่ที่เหมาะสมกับเรามากขึ้น

 

หากเราควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้แล้ว นั่นหมายความว่าเราสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอันตรายหลายๆ โรคได้ ดังนั้นหากอยากมีสุขภาพดี เริ่มต้นด้วยการรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติกันดีกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook