5 ความเสี่ยง “กระเพาะอาหารอักเสบ” ที่คุณอาจไม่เคยรู้

5 ความเสี่ยง “กระเพาะอาหารอักเสบ” ที่คุณอาจไม่เคยรู้

5 ความเสี่ยง “กระเพาะอาหารอักเสบ” ที่คุณอาจไม่เคยรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกจากการทานอาหารไม่ตรงเวลาแล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้กรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารถูกผลิตออกมามากจนเกินไป จนอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้ มาเช็คกันดีกว่าว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงเหล่านี้อยู่หรือไม่

 

5 ความเสี่ยง “กระเพาะอาหารอักเสบ” ที่คุณอาจไม่เคยรู้

  1. ทานอาหารรสจัดเป็นประจำ

การทานอาหารรสจัด ทั้งรสเค็ม เปรี้ยว เผ็ด จะเป็นการกระตุ้นให้กระเพาะอาหารผลิตน้ำย่อยออกมามากกว่าเดิม จึงอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ในอนาคต

 

  1. ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ รวมถึงน้ำอัดลมเป็นประจำ

คาเฟอีน และน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของแก็สอยู่มาก ทำให้กระเพาะอาหารขับเอาน้ำย่อยออกมามากกว่าเดิมเช่นกัน

 

  1. ทานยาแก้ปวด

ยาแก้ปวดบางตัว เช่น แอสไพริน อาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้กระเพาะอาหารต้องผลิตน้ำย่อยออกมามากขึ้น นอกจากนี้ยาแก้ปวดบางตัวอาจต้องทานหลังอาหาร เพราะหากทานก่อนอาหาร อาจมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้

 

  1. ความเครียดสะสม

เคยได้ยิน “เครียดลงกระเพาะ” กันมาบ้างไหมคะ หมายความว่าหากเราอยู่ในภาวะเครียดสะสมนานๆ อาจไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากขึ้น ยิ่งใครที่เครียดแล้วไม่ยอมทานอาหารด้วยแล้วยิ่งแย่เขาไปกันใหญ่ เพราะเมื่อกระเพาะอาหารว่าง ไม่มีอาหารให้ย่อย น้ำย่อยก็จะไปทำให้ผนังของกระเพาะอาหารระคายเคืองได้นั่นเอง

 

  1. อดอาหารเย็น

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าการอดอาหารเย็นจะทำร้ายสุขภาพของกระเพาะอาหารของเราได้ เพราะจากปกติที่เราต้องทาน 3 มื้อทุกวัน หากงดมื้อเย็น น้ำย่อยที่หลั่งออกมาตามเวลาก็ทำร้ายผนังกระเพาะอาหารของเราแทนนั่นเอง

 

 

หากปวดท้องจากกระเพาะอาหารอักเสบ ควรทำอย่างไร

สามารถหายาลดกรดทานได้ โดยกลไกในการออกฤทธิ์ของยาลดกรดคือ การนำความเป็นด่างของยาสะเทินกับกรดในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เพื่อลดความเป็นกรดเมื่อความเป็นกรดลดลง การกัดกร่อนของกรดที่จะทำให้เกิดแผล หรือการทำให้แผลที่มีอยู่ระคายเคืองจึงลดลง และให้ผลในการบรรเทาอาการปวดท้องจากกรดเกินในกระเพาะอาหารได้ แต่การรับประทานยาลดกรดมีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรรับประทานพร้อมกับยาอื่นเนื่องจาก ยาลดกรดอาจไปลดการดูดซึมของยาอื่นๆ ได้

 

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดบริเวณกลางท้อง แสบร้อนท้อง และรู้ตัวว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวอยู่เป็นประจำ ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อหาทางรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook