ทำไมต้องพาลูกพบจิตแพทย์ โดย หมอโอ๋ จากเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน

ทำไมต้องพาลูกพบจิตแพทย์ โดย หมอโอ๋ จากเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน

ทำไมต้องพาลูกพบจิตแพทย์ โดย หมอโอ๋ จากเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

เคยสงสัยไหมว่าทำไมผู้ปกครองบางคนถึงต้องพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็กหรือหมอด้านพัฒนาการเด็ก นั่นก็เพราะว่าการพบคุณหมอด้านพัฒนาการหรือจิตแพทย์เด็กเป็นหนึ่งในวิธีรักษาและคำแนะนำที่ถูกต้องเหมือนๆ กับการป่วยด้วยโรคไข้หวัด ไอ เจ็บคอ นั่นเอง

 

วันนี้ทีมเว็บไซต์ สสส. พาทุกท่านมาพบคำตอบจาก พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร หรือคุณหมอโอ๋จากเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน กันค่ะ

Q: ทำไมต้องพาลูกไปพบหมอพัฒนาการหรือจิตแพทย์เด็ก

A: เนื่องจากคุณหมอสามารถช่วยเหลือในการดูแลด้านจิตใจและพัฒนาการของเด็กได้อย่างตรงจุด

Q: เมื่อไหร่ที่ควรพาลูกเข้าพบคุณหมอ

A: เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจนไม่สามารถทำกิจวัตรหรือเรียนหนังสือได้ตามปกติ เช่น ก้าวร้าว ขโมยของ โกหกซ้ำๆ มีอาการแยกตัว ซึมเศร้า ซน สมาธิสั้น       ร้องไห้บ่อย ปลีกตัว แยกตัว นอนไม่หลับ ซึมเศร้าง่าย โวยวายง่าย เก็บตัวเงียบ ไม่พูดจา เด็กดูแล้วไม่มีความสุข

Q: การรักษาทางการแพทย์

A: เริ่มต้นจากการหาสาเหตุ ซึ่งมีตั้งแต่ให้คำปรึกษา แนะนำเบื้องต้น ทำจิตบำบัด และให้ยารักษาในกรณีที่มีความจำเป็น ท้ายสุดแล้วการแก้ไขที่สาเหตุจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

Q: ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างไร

A: คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิด หมั่นสังเกตพฤติกรรมหรือความเปลี่ยนแปลงของลูก และไม่ควรลังเลที่จะพาลูกพบคุณหมอด้านพัฒนาการหรือจิตแพทย์เด็ก

Q: เคสตัวอย่าง

A: คุณหมอโอ๋เล่าเคสตัวอย่างเด็กชายอายุราว 7 ขวบ ที่เข้ามาพบด้วยอาการที่มีอารมณ์รุนแรง ใช้กำลังเมื่อไม่พอใจ จากการรักษาคุณหมอพบสาเหตุว่าเกิดจากโรคซึมเศร้าในเด็กที่เกิดจากการเห็นเหตุการณ์ที่พ่อและแม่ทะเลาะกัน ซึ่งเคสนี้ต้องแก้ปัญหาที่สาเหตุควบคู่กับการให้ยากิน จนตอนนี้น้องอยู่ในภาวะปกติ

“ปัจจุบันมีผู้ปกครองเข้าพบจิตแพทย์มากขึ้น เพราะมีองค์ความรู้มากขึ้น ได้รับความรู้ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ รวมถึงยกคนในสังคมว่าการเข้าพบหมอเป็นเรื่องปกติ การมีพัฒนาการที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ นอกจากเรื่องพื้นฐานแล้ว การดูแลจิตใจ การเลี้ยงดู การมีเวลาคุณภาพกับลูก รับฟังเวลามีความทุกข์ หรือฝึกให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์ โดยไม่เน้นเรื่องการลงโทษ การช่วยเหลือฝึกให้เด็กเรียนรู้จากผลลัพธ์ หรือการฝึกวินัยเชิงบวก ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพสมอง และจะเป็นสิ่งที่ดีระหว่างความสัมพันธ์ในครอบครัว”  พญ.จิราภรณ์ ทิ้งท้าย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook