สร้างภูมิคุ้มกันลูกน้อยด้วย ‘นมแม่’

สร้างภูมิคุ้มกันลูกน้อยด้วย ‘นมแม่’

สร้างภูมิคุ้มกันลูกน้อยด้วย ‘นมแม่’
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“นมแม่” เปรียบเสมือน ‘วัคซีนหยดแรก’ ของลูกน้อย เนื่องจากน้ำนมของแม่ในช่วงแรกหลังคลอด คือ ‘หัวน้ำนม’ที่มีสีเหลืองข้น (Colostrum) อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับทารก มีภูมิคุ้มกันนานาชนิดที่แสนวิเศษ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย

สารอาหารที่มากกว่า 200 ชนิด ที่อยู่ในนมแม่นั้น ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุ ฮอร์โมนและเอ็นไซม์ นับว่ามีความโดดเด่น มีคุณภาพเหมาะกับระบบทางเดินอาหาร และไตของทารกที่ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของลูกทุกระยะการเติบโต และช่วยปกป้องลูกจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอุจจาระร่วง โรคภูมิแพ้ โรคอ้วน ที่พบบ่อยในวัยทารก

นมแม่ สร้างและเป็นเกราะปกป้องร่างกายลูกสร้างภูมิคุ้มกันลูกน้อยด้วย ‘นมแม่’ thaihealth

1. สมอง : นมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสมอง และส่งเสริมพัฒนาการที่ดี ช่วยสร้างเชาว์ปัญญาได้เต็มที่ การอุ้มลูกขึ้นดูดนมแม่เป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสทุกส่วนของลูก ทำให้สมองได้รับสัญญาณประสาทส่งเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ สมองที่ถูกกระตุ้นบ่อยๆ จะเกิดการแตกแขนงเซลล์ประสาทอย่างมากมาย เพิ่มการเชื่อมโยงของเส้นใยสมอง เส้นประสาทจะรับสัญญาณการเรียนรู้เร็วขึ้น ในกลุ่มเด็กที่ได้รับนมแม่มีการเพิ่มระดับเชาวน์ปัญญาขึ้นโดยเฉลี่ย 3.16 จุด และในกลุ่มทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับนมแม่ มีการเพิ่มระดับเชาวน์ปัญญาที่ 5.26 จุดระยะ เวลาของการให้นมแม่จะสัมพันธ์กับการเพิ่มเชาวน์ปัญญาของลูก ยิ่งได้รับนมแม่มากกว่า 6 เดือน มีระดับเชาว์ปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับนมแม่น้อยกว่า 6 เดือน
2. หู : ลดโอกาสเป็นโรคหูน้ำหนวก หรือหูอักเสบ เนื่องจากลักษณะการดูดนมของลูกต้องใช้การเคลื่อนไหวของลิ้นหรือแรงดันทาง ช่องปาก ทำให้มีการเคลียร์น้ำในหูของลูกน้อยออกไปด้วย
3. สายตา : พัฒนาการมองเห็น สายตาคมชัด เนื่องจากในนมแม่มีสารอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น สารดีเอชเอ กรดอะมิโน และไขมันอื่นๆ
4. ระบบทางเดินปัสสาวะ : มีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ เนื่องจากในนมแม่มีภูมิคุ้มกันต่างๆ ทำให้ไม่ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
5. ไตแข็งแรง : ในนมแม่มีปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม ส่งผลให้ไตทำงานอย่างสมดุล และแข็งแรง
6. ผิวพรรณ : ลดโอกาสภูมิแพ้ผิวหนัง 42 % ในช่วงที่ทารกกินนมแม่อย่างเดียว ทารกจะไม่ได้รับโปรตีนจากนม วัว ซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของทารก และทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ทารกที่กินนมแม่ จึงมีอัตราการเกิดโรคภูมิแพ้น้อยกว่า
7. ระบบทางเดินอาหาร : ลดโอกาสโรคท้องเสียและลำไส้อักเสบน้อยกว่า 64% ในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่ปกป้องลูกน้อยในระบบทางเดินอาหาร ประกอบด้วยสร้างภูมิคุ้มกันลูกน้อยด้วย ‘นมแม่’ thaihealth

Secretory antibodies ทำหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอม

Oligosaccharides และ Glycoconjugates กระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของทารก

Lactoferrin สามารถกำจัดเชื้อราที่เป็นอันตราย อีกทั้งยังป้องกันโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

Anti-inflammatory effects นมแม่มีการต่อต้านการอักเสบซี่งมีประโยชน์ต่อสำไส้ของทารก

Prebiotic effects ในนมแม่มีน้ำตาลที่มีคุณสมบัติเป็นอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ใหญ่

8. ช่องปาก: เนื่องจากลูกน้อยดูดนมแม่จากเต้า กล้ามเนื้อจึงเกิดการพัฒนา กรามล่างของลูกจึงแข็งแรง ฟันเกน้อยลงเมื่อโตขึ้น

9. ระบบทางเดินหายใจ : โอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจ ปอดบวมน้อยกว่าทารกที่กินนมผสม 60% และป้องกันเบื้องต้นต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ ช่วยป้องกันโรคหอบหืด

การส่งเสริมให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว 6 เดือนขึ้นไปจะส่งผลดีและส่งเสริมพัฒนาการทางด้านต่างๆ ของร่างกาย และหลังจาก 6 เดือนขึ้นไป ควรให้นมแม่คู่กับอาหารตามวัยจนกระทั่งถึง 2 ปีเป็นอย่างน้อย เนื่องจากนมแม่ยังคงเป็นอาหารหลักสำคัญสำหรับเด็กๆ สร้างภูมิคุ้มกันลูกน้อยด้วย ‘นมแม่’ thaihealth

ปริมาณนมแม่ที่ควรให้ลูกน้อยได้กินในแต่ละวัน คือวันละ 8 ครั้งขึ้นไป หรือทุกๆ 2-3 ชม. และหากลูกดูดนมเร็ว ดูดนมบ่อย และดูดอย่างถูกวิธี ซึ่ง เป็นปัจจัยสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะส่งผลให้คุณแม่มีน้ำนมในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อย และประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่...

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook