“เด็คเคน” สารอันตรายในเคสมือถือกลิตเตอร์ผสมน้ำ เสี่ยงผิวหนังไหม้

“เด็คเคน” สารอันตรายในเคสมือถือกลิตเตอร์ผสมน้ำ เสี่ยงผิวหนังไหม้

“เด็คเคน” สารอันตรายในเคสมือถือกลิตเตอร์ผสมน้ำ เสี่ยงผิวหนังไหม้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ว่าจะไม่ใช่ครั้งแรกที่มีข่าวว่า ผู้ที่ใช้เคสมือถือที่ด้านหลังบรรจุของเหลวผสมกลิตเตอร์วิ๊งวับ เกิดอุบัติเหตุของเหลวรั่วซึมออกมาจากเคส สัมผัสกับผิวหนังจนเกินเป็นรอบแผลไหม้ หรือพุพอง แต่ก็ยังเห็นหลายคนที่ยังใช้เคสือถือดังกล่าว และยังอาจไม่แน่ใจว่าอันตรายมากแค่ไหน

หลังจากที่ ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยทำการทดลองโดยนำเอาเนื้อไก่สด แช่ลงไปในของเหลวจากเคสมือถือกลิตเตอร์ ปรากฏว่า ของเหลวนั้นสามารถทำให้เยื้อไก่เปื่อยยุ่ยได้ สรุปแล้วเจ้าของเหลวอันตรายนี้ เป็นของเหลวที่มีส่วนผสมของ “เด็คเคน” นั่นเอง

อ่านต่อ >> อ.เจษฎาเตือน! สารเคมีจากเคสมือถือกลิตเตอร์อาจเสี่ยงผิวหนังไหม้-พุพอง

 

“เด็คเคน” คืออะไร?

รศ. วีรชัย พุทธวงศ์ อ.ประจำสาขาเคมีอินทรีย์ ม.เกษตรศาสตร์ ระบุว่า เด็คเคน (Decane) เป็นสารที่เป็นตัวทำละลายอินทรีย์ชนิดหนึ่ง โดยอยู่ในกลุ่มที่ไม่ละลายพลาสติก ดังนั้นถึงไม่ทำปฏิกิริยาอะไรกับเคสมือถือที่ทำจากพลาสติก ปกติแล้วสารตัวนี้ถูกนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โดนใช้เป็นสารชะล้างไขมัน เช่น ล้างแผงวงจรวิเล็กทรอนิกส์ เป็นตัวทำละลายในปิโตรเคมี และเป็นตัวทำละลายในห้องปฏิบัติการเคมี

 glitter-phone-case-2

 

อันตรายจากสารเด็คเคน

แม้ว่าเด็คเคนจะไม่ทำปฏิกิริยากับสารอื่นง่ายๆ แต่ก็สามารถทำปฏิกิริยากับส่วนประกอบบางส่วนที่อยู่ในเนื้อได่ ตามที่เคยได้ทดลองเอาไว้ได้ เนื้อไก่จึงเปื่อยยุ่ยได้ ในผิวหนังของมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน มีสิทธิ์ที่สารเด็คเคนจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสโดนได้ โดยอาจเป็นรอยแผลไหม้ พุพอง แสบร้อน แดง

ดังนั้นหากเผลอทำของเหลวจากเคสมือถือสัมผัสกับผิวหนัง ควรรีบล้างด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่ผิวบริเวณนั้นมากๆ เพื่อป้องกันสารตกค้างทำลายเนื้อเยื่องบนผิวหนัง และหากรู้สึกไม่ปลอดภัย ก็ควรเปลี่ยนมาใช้เคสมือถือแ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook