ค้างคาว กับการไขความลับเรื่องการมีชีวิตยืนยาว

ค้างคาว กับการไขความลับเรื่องการมีชีวิตยืนยาว

ค้างคาว กับการไขความลับเรื่องการมีชีวิตยืนยาว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิจัยของยุโรปรายงานการศึกษาเกี่ยวกับค้างคาวในวารสารวิทยาศาสตร์Science Advances เดือนนี้ รัะบุว่า ค้างคาวนอกจากจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวที่สามารถบินได้ไกลแล้ว ค้างคาวหลายชนิดยังมีอายุยืนยาวมากเมื่อพิจารณาจากขนาดและน้ำหนักตัว

นักวิจัยสนใจศึกษาเรื่องนี้เพื่อหาคำตอบที่จะนำมาปรับใช้กับกระบวนการสูงวัยของมนุษย์ และเพื่อให้การย่างเข้าสู่วัยทองเป็นไปได้ด้วยดีและมีคุณภาพ

นักวิจัยได้พบคุณสมบัติที่สำคัญทางชีววิทยาในค้างคาวบางพันธุ์ โดยเฉพาะเกี่ยวกับสารชื่อ เทโลเมเรส (telomeres) ซึ่งอยู่ที่ส่วนปลายของโครโมโซม

โดยปกติแล้วสารเทโลเมเรสนี้จะหุ้มและช่วยปกป้องส่วนปลายของโครโมโซม แต่จะมีขนาดสั้นลงทุกครั้งเมื่อเซลล์แบ่งตัว และการสั้นลงของเทโลเมเรสทำให้เซลล์สลายตัว นำไปสู่กระบวนการชราภาพในสิ่งมีชีวิต

อย่างไรก็ตาม ในค้างคาวบางพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มค้างคาวหนู ซึ่งมีลักษณะหูคล้ายหนู และสายพันธุ์อื่นที่ใกล้เคียง ที่เรียกว่าค้างคาวกลุ่ม Myotis นั้น มีสารเทโลเมเรสซึ่งไม่สั้นลงจากการแบ่งเซลล์หรือสั้นลงในอัตราที่ช้ากว่าปกติ

นักวิจัยพบด้วยว่า ค้างคาวหนูนี้โดยเฉลี่ยแล้วจะมีอายุยาวถึง 37 ปี และค้างคาว Myotis บางพันธุ์มีอายุยืนที่สุดคือถึง 41 ปี ในขณะที่ถ้าเทียบจากขนาดและน้ำหนักตัวแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพันธุ์อื่นที่มีขนาดตัวเท่าค้างคาว จะอยู่ได้เพียง 4 ปีเท่านั้นเอง

นักวิจัยบอกด้วยว่า เท่าที่ทราบในขณะนี้มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียง 19 ชนิดเท่านั้นที่มีอายุยืนยาวกว่ามนุษย์ หากเทียบจากขนาดและน้ำหนักตัวโดย 18 ใน 19 สายพันธุ์ดังกล่าวล้วนแต่เป็นค้างคาว

ส่วนสัตว์อีกชนิดหนึ่งนั้นคือหนูไม่มีขนพันธุ์แอฟริกา ชื่อ Naked Mole Rat

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook