เลาะรั้ว "กสทช." ดูห้องประมูล 3G

เลาะรั้ว "กสทช." ดูห้องประมูล 3G

เลาะรั้ว "กสทช." ดูห้องประมูล 3G
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลาะรั้ว "กสทช." ดูห้องประมูล 3G

สำหรับ "กสทช." การเปิดประมูลใบอนุญาต 3G คลื่น 2.1 GHz วันที่ 16-18 ต.ค. 2555 นี้ เป็น "ภารกิจเพื่อชาติ" แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประเทศไทยจะมีการประมูล 3G ย้อนไปเมื่อ 2 ปีก่อน "กทช." ทุ่มสรรพกำลังคนและเงินไม่น้อย เพื่อประมูล 3G ณ รีสอร์ตหรู "เอวาซอน หัวหิน" (20-27 ก.ย. 2553)



แต่ต้องล้มคว่ำในโค้งสุดท้าย เมื่อ "กสท โทรคมนาคม" ยื่นฟ้องศาลปกครองขอให้ยุติการประมูล โดยอ้างว่า "กทช." ไม่มีอำนาจจัดประมูลและยังไม่มีแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ตลอดจนจัดสรรคลื่นระหว่างความถี่ที่ใช้ในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

23 ก.ย.2553 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับประกาศ กทช. และให้ระงับการประมูลคลื่น 2.1 GHz ไปก่อนจนว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

10 ต.ค. 2555 หรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ? เมื่อ "ดร.อนุภาพ ถิรลาภ" นักวิชาการอิสระ ยื่นฟ้อง "กสทช." ต่อศาลปกครองขอให้มีการระงับการประมูล โดยระบุว่าการจัดสรรคลื่นความถี่ที่กำลังจะมีขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 47 เพราะไม่ได้จัดสรรโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนใน ระดับชาติและระดับท้องถิ่น เนื่องจาก กสทช.กำหนดเงื่อนไขในการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ 50% ใน 2 ปี 80% ใน 4 ปี แต่ไม่ได้ระบุว่าต้องให้ครบ 100% เมื่อใดจึงมีประชาชน 20% ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ์ ทั้งไม่ได้กำหนดเงื่อนไขคุณภาพมาตรฐานบริการรวมถึงอัตราค่าบริการขั้นสูง

อย่างไรก็ตาม "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช.มองว่า คดีที่ยื่นฟ้องศาลปกครองไม่ได้สร้างความกังวลเท่าความยุ่งยากอีกมากที่จะ เกิดขึ้นหลังประมูลสิ้นสุด เช่น ราคาประมูลจะเป็นเท่าไร

ผลประมูลจะเป็นอย่างไร เชื่อว่าจะมีคดีฟ้องร้อง กสทช.ตามมาอีกแน่ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า "กสทช." รักษาผลประโยชน์ประเทศชาติหรือไม่

ฟาก กสทช.ฝ่ายกฎหมาย "สุทธิพล ทวีชัยการ" มั่นใจว่าสามารถชี้แจงศาลได้ทุกประเด็น และมองว่าผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้ เดือดร้อนเสียหายโดยตรง แต่พยายามบังคับให้ กสทช.ทำผิดกฎหมายทั้งที่มีความรู้ด้านกฎหมายและเทคนิค จึงเป็นการใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต เชื่อว่าจะมีการฟ้องร้องอีกหลายกรณี

"หาก ต้องชะลอการประมูลออกไป นักวิชาการจากนิด้าเคยศึกษาผลเสียหายทางเศรษฐกิจของไทยว่า 2 ปี อยู่ที่ 153,900 ล้านบาท เฉลี่ยวันละ 210 ล้านบาท หากต้องเริ่มกระบวนการใหม่อาจใช้เวลา 8 เดือน คิดเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจ 51,300 ล้านบาท ซึ่งต้องบวกเวลาที่ต้องรอคดียุติในชั้นศาลอีกวันละ 210 ล้านบาท"

ใครจะได้ใครจะเสีย เมื่อยังไม่ถึงวันที่ 16 ต.ค. 2555 อะไรก็เกิดขึ้นได้

แต่ก่อน ถึงวันจริง "กสทช." จัดทริปพาสื่อมวลชนทัวร์ดูสถานที่จัดประมูล ณ อาคารอำนวยการ สำนักงาน กสทช. พหลโยธิน 8 เพื่อให้เข้าใจกระบวนการประมูล และเปิดห้องให้ดูกันจริง ๆ ว่า 3 บริษัทในเครือค่ายมือถือดัง บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด, บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ต้องเจอกับอะไรบ้าง
เอไอเอส และ ทรู มีผู้เข้าประมูลเต็มโควตา 10 คน "ดีแทค" 7 คน

เช้า วันที่ 16 ต.ค.นี้ เมื่อตัวแทนทั้ง 3 บริษัทเดินเข้าประตู "กสทช." จะโดนจับแยกพื้นทีจนถึงเวลาจับสลากเลือกห้อง (09.00 น.) มี "พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เป็นผู้จับสลากว่า รายใดจะจับเลือกห้องก่อน-หลัง (ห้องอยู่ชั้น 3-4 และ 6) เมื่อรู้ห้องแล้วจะได้ซองบรรจุ username และ password ที่ใช้เข้าระบบประมูล

แต่ละบริษัทจะ log in เข้าระบบก่อน 09.45 น. เพื่อให้เริ่มต้นประมูล 10.00 น. โดยเริ่มต้นเคาะราคาจาก 4,500 ล้านบาทต่อ 1 สลอต (5 MHz) การประมูลแต่ละรอบใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีแรกเป็นช่วงเสนอราคา 30 นาทีหลังเป็นการประมวลผลของคณะกรรมการ ราคาเพิ่มขึ้นรอบละ 5% ของราคาตั้งต้น (225 ล้านบาท) ประมูลไปเรื่อย ถึง 21.00 น.จึงยุติก่อนเริ่มใหม่วันรุ่งขึ้นหรือปิดประมูลเมื่อไม่มีผู้เสนอราคาก่อน ที่ตัวแทนผู้เข้าประมูลจะเข้าไปยังห้องประมูลได้ ต้อง ผ่านระบบรักษาความปลอดภัย ค้นตัวบุคคลและสัมภาระ สิ่งของที่อนุญาตให้พกเข้าห้องประมูลได้ คือ ของเครื่องใช้ส่วนตัว ยารักษาโรค และอุปกรณ์การแพทย์ แผ่นบันทึก CD หรือ DVD ไม่เกิน 5 แผ่น เอกสารหรือหนังสือตามความจำเป็นเท่านั้น เพราะ กสทช.เตรียมอุปกรณ์จำเป็นไว้ให้หมดแล้ว ทั้งคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมการประมูล 2 เครื่อง ใช้จริง 1 เครื่อง สำรอง 1 เครื่อง, คอมพิวเตอร์สำหรับวางแผนประมูล 2 เครื่อง มีพรินเตอร์ 2 เครื่อง ทุกเครื่องไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้

ใน ห้องประมูลจะปิดตายหน้าต่างทุกบานด้วยสติ๊กเกอร์สีดำ และล็อกไม่ให้เปิดออกได้ หน้าห้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยามรักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ กสทช.เฝ้าอยู่ มีกล้อง CCTV ติดที่ทางเข้า-ออกเพื่อสังเกตการณ์ตลอดเวลา เหตุการณ์จากกล้อง CCTV และการเสนอราคาผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ จะมีทีมควบคุมการประมูลเฝ้าสังเกตการณ์ในห้องควบคุมการประมูลชั้น 10 ในห้องมีเฉพาะ กทค. 5 คน รองเลขาธิการ กสทช. เจ้าหน้าที่เทคนิคที่ผ่านการคัดเลือก และที่ปรึกษาการประมูลจากบริษัทพาวเวอร์ ออกชั่น เพื่อ อำนวยความสะดวกและคลายความเครียด ทุกห้องมีอาหาร 3 มื้อพร้อมเสิร์ฟหน้าห้อง โดยแต่ละรายเลือกเมนูไว้ตั้งแต่ 12 ต.ค. มีกาต้มน้ำร้อนและของว่างอิมพอร์ตจากต่างประเทศ มีตู้เย็น 11 คิว บรรจุน้ำแร่ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และจอ LCD พร้อม DVD ภาพยนตร์ห้องละ 5 เรื่อง เรียกว่าตั้งใจให้เพลิดเพลินจะได้เคาะราคาไปเรื่อย ๆ

วัน ประมูลจริง "กสทช." เตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้เต็มที่ มีเจ้าหน้าที่สายตรวจลาดตระเวนตั้งแต่ก่อนวันประมูลเพื่อป้องกันคนมาปั่น ป่วนในพื้นที่สำนักงาน เพิ่มสารวัตรทหาร 20 นาย ตำรวจสันติบาล 30 นาย ตำรวจจาก ส.น.บางซื่อ 2 นาย และมีเครื่องปั่นไฟสำรองสำหรับใช้ทั้งสำนักงาน เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ป้องกันน้ำท่วม

และวันประมูลจะไม่อนุญาตให้ บุคคลภายนอกเข้ามาในพื้นที่ กสทช. สำหรับสื่อมวลชนที่จะมาทำข่าวหรือสังเกตการณ์ได้ต้องลงทะเบียน และมีบัตรประจำตัวที่สำนักงาน กสทช.ออกให้เท่านั้น แต่ก็ไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่อาคารอำนวยการได้ เข้าได้เฉพาะผู้เข้าประมูล และพนักงาน กสทช.ที่ปฏิบัติหน้าที่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook