ห่วงโซ่อุปทาน กับการรั่วไหลข้อมูลของแอปเปิล
ห่วงโซ่อุปทาน กับการรั่วไหลข้อมูลของแอปเปิล
แน่นอนว่า วิศวกรของแอปเปิลอยากเห็นผลิตภัณฑ์ของตนเปิดตัวอย่างงดงาม ในงาน Keynote ท่ามกลางสายตาผู้คน จึงไม่น่าแปลกใจที่ีพวกเขาต้องกระเสือกกระสนในการปกปิดข้อมูลทุกอย่างให้ เป็นความลับ และต้องการชมปฏิกิริยาที่ผู้คนทั่วโลกเห็นขณะเปิดตัว แน่นอนว่าใคร ๆ ก็คงอยากรู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลก่อนงานเปิดตัว ดังนั้น จึงเกิดข่าวลือต่าง ๆ ออกมามากมาย ซึ่งเหล่าวิศวกรแอปเปิลนั้น เมื่อเห็นข่าวลือพวกนี้ก็คงเหมือนเด็ก ๆ ที่หมดสนุกกับการเปิดกล่องของขวัญ โดยการเขย่า บีบ เพื่อเดาว่าอะไรอยู่ในนั้น แล้วจึงเปิด
ข้อมูลทั้งหลายรั่วไหลจากแอปเปิลแน่นอน และโครงสร้างองค์กรขนาดใหญ่ของแอปเปิลแสดงให้เห็นอำนาจในการแบ่งปันข้อมูล ภายในกับเพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน นักลงทุน แม้กระทั่งผู้สื่อข่าว ความลับสร้างความไว้วางใจกันระหว่างทีมงาน แต่บางครั้งหากพนักงานไม่พอใจบริษัท ทำให้พนักงานเหล่านั้นระบายความคับข้องใจโดยปล่อยข้อมูลให้รั่วไหล
การรั่วไหลของข้อมูล ทำให้ยากที่จะสร้างความประหลาดใจเมื่อแอปเปิลเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ทำไม? พนักงานบางส่วนของแอปเปิลไม่เปิดเผยตัวตนบอกกับเราว่า การรั่วไหลนั้นเป็นผลพลอยได้จากโลกาภิวัฒน์
ต้องโทษห่วงโซ่อุปทาน
พนักงานทั้งหมดบอกเราว่า การรักษาความปลอดภัยที่แอปเปิลเข้มงวดมาก วิศวกรหลายคนบอกว่าการรักษาความปลอดภัยเหมือนจะเข้มงวดมากขึ้นหลังจากทิม คุก ขึ้นมาเป็นซีอีโอ แต่ความเข้มงวด ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดสถานที่อย่างแอปเปิล สินค้าต้นแบบที่ใช้ในรอบ ๆ บริษัท จะต้องถูกคลุมด้วยผ้าสีดำ ซึ่งพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องจะแอบมองไม่ได้เลย ผู้ทดสอบผลิตภัณฑ์ก่อนออกจำหน่ายนอกบริษัท จะต้องถูกควบคุมเข้มงวด ในการใช้กับคนอื่น ๆ รวมทั้งพนักงานแอปเปิลคนอื่นด้วย ในบริเวณใกล้เคียง ทีมรักษาความปลอดภัยจะตรวจสอบด้วย IRC กับพนักงานที่เดินไปมาภายในบริษัท วิธีการเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เรื่องเหล่านี้มักจะวนเวียนอยู่กับคนที่ถูกลงโทษโดยการไล่ออกและถูกย้าย ไปแผนกอื่น
"แอปเปิลรักษาความปลอดภัย โดยกำหนดเป้าหมายหมายว่า พนักงานในอเมริกาจะไม่ทำข้อมูลรั่วไหล แต่ทุกอย่างในตอนนี้มาจากเมืองจีน ผมคิดว่าการรักษาความปลอดภัยของแอปเปิลนั้นล้าสมัยแล้ว" พนักงานคนหนึ่งกล่าว
การรั่วไหลอาจเป็นผลจากแอปเปิลมีห่วงโซ่อุปทานที่ดีมาก ต้องให้เครดิตทิม คุก ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่น่าประทับใจ ผลลัพธ์คือ ผู้ใช้ได้ iPhone 5 เครื่องใหม่เพียงแค่สั่งออนไลน์และมาส่งถึงบ้านในเวลาไม่กี่วัน
"หลายพันคนที่ทำงานในสายการผลิตที่ไม่มีส่วนได้เสียในการรักษาความลับ การรั่วไหลจะยังเพิ่มขึ้นเมื่อแอปเปิลผลิตสินค้าในต่างประเทศ ยากมากที่จะซ่อนการออกแบบ ถ้าผลิตสินค้าในอเมริกาไม่ได้ ก็ยากที่จะเก็บความลับแล้วสร้างความประหลาดใจกับคนทั้งโลกในอนาคต" พนักงานอีกคนกล่าว
คนอีกพวกที่ Ars Technica ไปคุยด้วย คือพนักงานระดับล่าง ที่ต้องทำงานหนักขึ้นเมื่อความลับของสินค้าเปิดตัวสู่สาธารณชน "หนึ่งในสิ่งที่ดีทีเดียวกับการรักษาความปลอดภัยของแอปเปิล คือการนำเสนอบางส่วนให้โลกรู้ หลังจากนั้น จะมีบางคนมาทำลายความสนุกของทุกคน"
รัดกุมมากขึ้น
การรั่วไหลของข่าว ทำให้งานของวิศวกรแอปเปิลหนักยิ่งขึ้น เมื่อความลับถูกปล่อยไปแล้ว แอปเปิลมีแนวโน้มจะตอบสนองให้ข่าวซาลงอย่างมากกับพนักงานที่สามารถควบคุมมัน ได้ ซึ่งมักอยู่ในอเมริกา หรือไม่พวกเขาก็อาจมีส่วนร่วมในการรั่วของข่าว "พวกเขารัดกุมกับสิ่งเหล่านี้ขึ้น โดยสร้างโค้ดเนมบนโค้ดเนมบนโค้ดเนม" พนักงานอีกคนกล่าว
เขาอธิบายว่า ในระบบของแอปเปิล โดยเฉพาะการทดสอบสินค้าต้นแบบนอกสำนักงานใหญ่ กำหนดการเหล่านี้ถูกตั้งขึ้นมาหลายปี แต่เกิดการปรับครั้งใหญ่ขึ้นเมื่อปีที่แล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เดียวกับ iPhone 4
ร้านค้าปลีกแอปเปิลก็ถูกรัดกุมมากขึ้นเช่นกัน พนักงานคนหนึ่งที่ร้านค้าปลีกบอกเราว่า ก่อนหน้า ร้านค้าเหล่านี้จะได้รับอัพเดตระบบปฏิบัติการทั้ง OS X และ iOS ก่อนปล่อยให้คนทั่วไปอัพเดตประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ตอนหลังกลับลดลงเหลือเพียง 12 ชั่วโมง
ท้ายที่สุด พนักงานแอปเปิลบอกเราว่า ที่พูดไปพวกเขาก็ยังยอมรับการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้นจากเบื้องบน ขณะที่พวกเขาไม่เห็นด้วยว่ามันจะเป็นประโยชน์นัก แต่พวกเขาก็รู้ว่าโลกปัจจุบัน ขณะที่พนักงานจีนในสายการผลิตมีโทรศัพท์มือถือและสามารถต่ออินเทอร์เน็ตได้ ความลับก็จะเกิดช่องโหว่จนกว่าแอปเปิลจะออกมาปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยใน ด้านนี้ แม้กระนั้น ข้อมูลก็ยังรั่วไหลได้อยู่ดี
"ผู้คนที่ต้องการปล่อยข้อมูล เพราะพวกเขาอยากมีความสำคัญและพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขารู้ แต่ มาตรการรักษาความปลอดภัยทั้งหมดนี้ จะสำเร็จได้จริง ๆ จะต้องป้องกันเท่านั้น" เหมือนเหตุการณ์ iPhone 4 หลุด "ถ้าคนอยากรู้ พวกเขาก็ต้องหามัน"
ที่มา - Ars Technica
ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
บทความโดย: nutmos