โปรดฟังอีกครั้ง...ทำไมยังไม่คืน "กสท." ยืมมือ "ไอซีที" ยื้อคลื่น-โยกลูกค้า

โปรดฟังอีกครั้ง...ทำไมยังไม่คืน "กสท." ยืมมือ "ไอซีที" ยื้อคลื่น-โยกลูกค้า

โปรดฟังอีกครั้ง...ทำไมยังไม่คืน "กสท." ยืมมือ "ไอซีที" ยื้อคลื่น-โยกลูกค้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โปรดฟังอีกครั้ง...ทำไมยังไม่คืน "กสท." ยืมมือ "ไอซีที" ยื้อคลื่น-โยกลูกค้า

จะยื้อกันไปได้สักแค่ไหนก็ต้องรอดู แต่หากดูจากเงื่อนเวลาที่มีโดยยึดจากระยะเวลาสิ้นสุดสัมปทานเดือน ก.ย.ที่จะถึงนี้ นับนิ้วไปก็เหลืออีกเพียงไม่กี่เดือน แต่ถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรกับฐานลูกค้า

"ทรู มูฟ" และ "ดีพีซี" ซึ่งในฐานะผู้กำกับดูแลอุตสาหกรรมโทรคมนาคม "กสทช." ยืนยันชัดเจนว่า บมจ.กสท โทรคมนาคม ต้องส่งคืนคลื่น 1800 MHz ที่ให้สิทธิทั้งสองบริษัทดำเนินการเมื่ออายุสัมปทานสิ้นสุดลง เพื่อนำคลื่นดังกล่าวมาประมูลใหม่

เป็นธรรมดาที่ "กสท." จะมีความเห็นตรงกันข้าม

โดย "กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ย้ำว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2556 ที่ผ่านมา ได้มีการหารือเรื่องคลื่น 1800 MHz เพื่อหาทางออกในการบริหารคลื่นดังกล่าว ได้คำตอบตรงกันคือจะยังไม่คืนคลื่นภายในปีนี้แน่นอน เพราะติดปัญหาเรื่องการโอนย้ายลูกค้า ถ้าต้องคืนคลื่นในเวลาที่กำหนดจะดำเนินการไม่ทันอย่างแน่นอน ดังนั้นบริษัทจึงยืนยันข้อเสนอเดิมที่เคยยื่นให้ กทค. (กรรมการกิจการโทรคมนาคม) ของ กสทช.ไปแล้ว คือคลื่นของทรูมูฟ มีผู้ใช้บริการมากกว่า 18 ล้านเลขหมาย จึงต้องขอใช้คลื่นไปถึงปี 2568 เพื่อหาวิธีจัดการกับลูกค้าจำนวนมาก ส่วนของดีพีซีมีลูกค้าเพียง 8 หมื่นราย จึงขอใช้คลื่นต่อไปอีก 3 ปี หรือคืนในปี 2559

เช่นกันกับคลื่นความ ถี่ที่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ใช้อยู่ในขณะนี้ มีแถบความถี่จำนวน 25 MHz ถ้าให้คืนตามกำหนดก็คงเป็นไปไม่ได้เช่นกัน เพราะต้องใช้เวลาจัดการเหมือนรายอื่น ๆ ดังนั้นจึงขอยืดเวลาใช้คลื่นต่อไปจนถึงปี 2568

"ไม่ว่าอย่างไร เราต้องพยายามอธิบายให้ กทค.เข้าใจมากที่สุด ว่าจำเป็นจริง ๆ ที่จะไม่คืนคลื่นตอนนี้ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่คืน แต่ขอยืดเวลาออกไปก่อนจนถึงช่วงที่เราคิดว่าน่าจะพร้อมที่สุดในการคืนคลื่น โดยบอร์ดบริหารของบริษัทรับรู้ และเห็นชอบให้เราดำเนินการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าไว้จึงต้องทำแบบนี้"

"กิตติศักดิ์" ย้ำว่า แม้จะมีผู้ใช้บริการบางส่วนย้ายไปใช้บริการ 3G ของผู้ให้บริการรายใหม่ แต่จะยังมีผู้ใช้บริการ 2G อีกจำนวนมากที่ยังต้องการใช้บริการ 2G ต่อไป ณ วันสิ้นสุดสัมปทานด้วยสาเหตุ

ต่าง ๆ เช่น ไม่เห็นความจำเป็นของ 3G หรือไม่มั่นใจในความครอบคลุมของคุณภาพโครงข่ายใหม่ เป็นต้น อีกทั้งลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เน้นการโทร.เป็นหลัก หากไม่สามารถใช้บริการ 2G ต่อไปจะได้รับผลกระทบมาก หาก กสทช.ให้คืนคลื่นก็เท่ากับตัดทางเลือกผู้ให้บริการที่ต้องการใช้ 2G ต่อไป

"น.ท.สม พงษ์ โพธิ์เกษม" หนึ่งในคณะกรรมการบริหาร บมจ.กสท โทรคมนาคม เสริมด้วยว่า คลื่น 1800 MHz สามารถต่อยอดไปยังเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในอนาคต เช่น 4G เทคโนโลยี LTE ได้ ขณะที่จะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่รองรับเทคโนโลยีดังกล่าวมากขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน ทำให้ช่วงคลื่นนี้เป็นที่ต้องการของทุกฝ่าย

"การที่ กทค.จะเรียกคืนคลื่นที่หมดสัมปทานเพื่อนำไปจัดสรรใหม่ก็เป็นเรื่องดี แต่ควรเก็บส่วนหนึ่งไว้ให้ภาครัฐใช้ด้วย เพราะคลื่นเป็นสมบัติของชาติ ถ้าให้เอกชนบริหารทั้งหมด เมื่อเกิดภัยพิบัติหรือมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันถามว่าจะนำคลื่นจากไหนมาแจ้ง ประชาชน ผมเข้าใจว่ามันจำเป็นที่ต้องเอาคลื่นไปจัดสรรใหม่ แต่ถ้าไม่เหลือให้รัฐเป็นผู้เกี่ยวข้องกับคลื่นนี้เลยก็คงไม่ถูกนัก เพราะไม่ว่าอย่างไร

ถ้ารัฐเป็นผู้บริหาร ประโยชน์ต่าง ๆ ก็ต้องตกอยู่ที่ประชาชนอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าคลื่นนี้จะนำไปต่อยอดเทคโนโลยีได้ไกล และให้เอกชนรับผิดชอบอย่างเดียว"

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้ส่งหนังสือถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) โดยนำเสนอแผนการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ได้มาจากสัญญาสัมปทาน และแนวทางการขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ต่อคณะรัฐมนตรีด้วย

โดย การบริหารจัดการสินทรัพย์จากสัมปทานจะนำมาให้บริการต่อเพื่อรองรับผู้ใช้ บริการเดิม และการให้บริการในลักษณะผู้ให้บริการโครงข่าย (Network Operator) เพื่อเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับรายย่อยที่ไม่มีโครงข่ายของตนเองในรูปแบบ Mobile Virtual Network Operator หรือ MVNO

นอกจากนี้ยังจะมีแผน ขยายพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศด้วย เทคโนโลยี LTE (Long Term Evolution) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 โดยลงทุนต่อยอดจากทรัพย์สินโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีอยู่เดิม และได้รับโอนตามสัมปทานทำให้ กสทฯ สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในราคาที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ด้วย

บอร์ดคนเดิมอธิบายว่า การส่งจดหมายไปยังกระทรวงไอซีที ก็เพื่อให้ช่วยเจรจากับ กทค.ด้วยอีกแรง จะได้เข้าใจเหตุผลมากขึ้นว่าทำไมยังไม่ต้องการคืนคลื่น

"ผมจะพยายาม ดึงเรื่องให้เป็นระดับชาติ เพราะ กสทฯเองมีกำลังไม่พอในการเข้าไปเจรจากับ กทค. ดังนั้นกระทรวงไอซีทีก็น่าจะเป็นผู้ช่วยที่ดี ทำให้เราได้ใช้คลื่นต่อไปก่อน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าไว้ได้มากที่สุด"

อย่างไรก็ตามหากไม่ สามารถยื้อใช้คลื่นได้ กสทฯได้เตรียมทางออกเบื้องต้นเอาไว้บ้างแล้ว คือในระยะสั้นจะพยายามโอนลูกค้ากว่า 18 ล้านเลขหมาย มายังบริการภายใต้แบรนด์ "My" ที่บริษัทให้บริการอยู่บนคลื่น 850 MHz เพื่อไม่ให้เกิดอาการซิมดับหรือใช้งานไม่ได้ เพราะในสัญญาสัมปทานระบุว่า ลูกค้าทั้งหมดเป็นสมบัติของเจ้าของสัมปทาน ส่วนในระยะยาวนั้นเมื่อคลื่นดังกล่าวมีการนำไปจัดสรรด้วยการประมูล ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นภายในปี 2557 กสทฯก็จะเป็นหนึ่งในผู้เข้าประมูล เพื่อนำคลื่นดังกล่าวกลับมาเป็นสมบัติของรัฐอีกครั้ง

เมื่ออีกฝ่าย บอกว่า ขอยังไม่คืน (ตอนนี้) แต่อีกฝั่งบอกต้องคืน แม้ "กทค." จะเริ่มเสียงอ่อนอาจยืดเวลาให้อีกปีก็ยังน่าจับตาว่า สุดท้ายแล้วเรื่องนี้จะได้ข้อสรุปที่สมประโยชน์ทุกฝ่ายอย่างไร และน่าสนใจว่า ลูกค้า 17-18 ล้านราย ภายใต้ "ทรูมูฟ" และ "ดีพีซี" ถึงที่สุดแล้วจะไปอยู่ที่ไหน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook