เพจปลอมบนเฟซบุ๊ก

เพจปลอมบนเฟซบุ๊ก

เพจปลอมบนเฟซบุ๊ก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพจปลอมบนเฟซบุ๊ก

ธุรกิจจำนวนไม่น้อยทั้งเล็กหรือใหญ่ใช้หน้าเพจเฟซบุ๊กสำหรับการทำโปรโมชั่น กลยุทธ์ที่เราเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือ การชักชวนให้กด Like เพื่อรับของแจกของแถมหรือส่วนลด สิ่งที่เจ้าของเพจจะได้จากการที่มีคนมากด Like ก็คือสะพานเชื่อมไปสู่การปล่อยข้อมูลสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจต่อ ๆ ไป ทั้งไปถึงคนที่กด Like โดยตรง และคนในกลุ่มของผู้กด Like ในท่ามกลางเพจทำนองนี้ แน่นอนว่ามีเพจปลอมปะปนอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีเพจบนเฟซบุ๊กอยู่เพจหนึ่ง ที่ปลอมจนเนียนว่าเป็นหน้าเพจของบริษัทแอปเปิล เชิญชวนให้คนกด Like เพื่อรับแจก iPad ปลอมกันดื้อ ๆ ทั้งโลโก้ และชื่อบริษัท

เพจที่ว่านี้ประกาศจาก iPad mini ฟรีให้กับคนกด Like โดยอ้างว่ามีอยู่ 82 กล่องซึ่งไม่สามารถขายได้เพราะเป็นสินค้ามีตำหนิก็เลยนำมาแจกฟรี โดยมีเงื่อนไขให้กด Like เพจ และแชร์ภาพ หลังจากนั้น ในวันที่ 17 มีนาคมที่จะถึงนี้ก็จะสุ่มเลือกผู้โชคดีเพจดังกล่าวตามรายงานของ CNET มีคนเข้าไปกดไลก์เกือบ 50,000 คน

แต่ในเมื่อเพจอย่างทางการของแอปเปิลมีคนกดไลก์อยู่กว่า 9 ล้านคน ก็ไม่น่าเป็นไปได้ที่แอปเปิลจะมาเปิดเพจแจกของฟรี ที่สำคัญเป็นของฟรีที่ไม่มีอยู่จริง เนื่องจากไม่มีไอแพด มินิ จอเรติน่า

อีกเพจหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้เป็นเพจปลอมที่ใช้กลยุทธ์เดียวกัน คือ ประกาศแจกหูฟังระดับไฮเอนด์ของบริษัท Beats Electronics ด้วยเหตุผลเดียวกันว่า สินค้าไม่สามารถขายได้เพราะมีตำหนิ ก็เลยเอามาแจกฟรีถึงพันกว่าชิ้น

ตัวแทนของบริษัท Beats Electronics ปฏิเสธว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับเพจดังกล่าว และติดต่อกับทางเฟซบุ๊กให้ลบเพจนี้ออกไป

ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าการทำเพจปลอมเหล่านี้มีวัตถุประสงค์อะไรกันแน่ แต่

มันเริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือการโพสต์รูปผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันแพร่หลาย แต่ไม่มีอยู่จริงในเว็บหรือหน้าเพจที่เป็นทางการ เนื่องจากมันไม่ใช่ของจริง เช่น iPad mini ที่เป็นจอเรติน่า เป็นต้น

ตามข้อสันนิษฐานของเว็บไซต์ Wafflesatnoon ซึ่งค้นพบและติดตามเพจปลอมเหล่านี้ เป็นไปได้ว่าการสร้างเพจปลอมขึ้นและทำโปรโมชั่นที่น่าสนใจก็เพื่อสร้างจำนวนผู้กดไลก์ให้ได้มาก ๆ หลังจากนั้น ก็จะขายเพจให้คนอื่น ๆ เมื่อขายแล้วเพจนั้นก็จะเปลี่ยนชื่อและลบโปรโมชั่นออกไป ผู้ซื้อก็ไม่เสียเวลาสร้างฐานแฟนเพจ

อย่างไรก็ตาม คำอธิบายดังกล่าวก็ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ที่น่าคิดก็คือ Wafflesatnoon พบว่า เพจปลอมบางเพจนั้นมีจำนวนคนกดไลก์มากกว่าเพจจริงเสียอีก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook