"ยักษ์ไอที"ขนแอปเจาะการศึกษา "กูเกิล-ซัมซุง"ฮึดท้าชน"แอปเปิล-ไมโครซอฟท์"

"ยักษ์ไอที"ขนแอปเจาะการศึกษา "กูเกิล-ซัมซุง"ฮึดท้าชน"แอปเปิล-ไมโครซอฟท์"

"ยักษ์ไอที"ขนแอปเจาะการศึกษา "กูเกิล-ซัมซุง"ฮึดท้าชน"แอปเปิล-ไมโครซอฟท์"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ยักษ์ไอที"ขนแอปเจาะการศึกษา "กูเกิล-ซัมซุง"ฮึดท้าชน"แอปเปิล-ไมโครซอฟท์"

ค่าย ไอทีขนผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ ระบบปฏิบัติการ โซลูชั่น แอปพลิเคชั่น เจาะตลาดการศึกษา จีบมหา"ลัยทำความร่วมมือระยะยาว กูเกิล-ซัมซุง ผู้เล่นรายใหม่เร่งขยายตลาดสู้ งัดแคมเปญประชัน ไมโครซอฟท์-แอปเปิล


แหล่งข่าวในแวดวงการศึกษา-ไอทีเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ค่ายไอทีรุกเข้ามาในตลาดการศึกษามากขึ้น อย่างกูเกิล ซัมซุง ทำให้เจ้าตลาดรายเดิมที่ยึดฐานเดิมมานานอย่างแอปเปิล และไมโครซอฟท์ ต้องกลับมาโหมทำตลาดทั้งรักษาลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้ารายใหม่เพิ่ม โดยเฉพาะค่ายแอปเปิลบุกตลาดในมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ 5 ปีก่อน เน้นไปที่การขายสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์ในราคานักเรียน-นักศึกษา และตั้งร้าน U-Store ฝังตัวอยู่ในมหาวิทยาลัย เช่น ม.รังสิต ม.กรุงเทพ ม.หอการค้าไทย ม.ศรีปทุม ม.ธรรมศาสตร์ ฯลฯ ส่วนในด้านแอปพลิเคชั่นบน iOS แอปเปิลพยายามจับมือกับภาครัฐ เพื่อพัฒนาแอปการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามในส่วนของซัมซุง แม้จะเข้าสู่ตลาดการศึกษาช้ากว่า แต่ใช้การตลาดแบบบีทูบี (Business to Business) หรือตลาดองค์กร จับมือกับสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่น ม.เนชั่น ม.รังสิต หรือ ร.ร.อัสสัมชัญ ติดตั้งระบบการเรียนการสอนซึ่งพัฒนาโดยซัมซุง และต้องใช้งานบนอุปกรณ์ซัมซุงโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังให้ส่วนลดและร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชั่นร่วม กัน จึงได้รับการตอบรับมากขึ้น ขณะเดียวกันได้เปิดตัวโซลูชั่นเพื่อการเรียนรู้ Edu Cloud และ Witz School ร่วมกับบริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่น Born และ Digital Education พัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็กวัยเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงระดับปริญญาตรี พร้อมจับมือเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ให้เป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อขยายฐานลูกค้า

ส่วนกูเกิลเร่งพัฒนาระบบ เสิร์ชเอ็นจิ้นให้เอื้อต่อการศึกษา (Google Scholar) ใช้ในการเรียนการสอนในรูปแบบของ Google Applications เช่น Google Earth, Google Docs, Google Calendar เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับระบบบริหารงาน และการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ด้านไมโครซอฟท์

นายสมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ม.รังสิต กล่าวว่า ขณะนี้แข่งขันสูงมาก และด้วยเหตุที่ ม.รังสิต เป็น ม.เอกชนขนาดใหญ่ แทบทุกแบรนด์ต่างต้องการเข้ามาทำความร่วมมือ เพราะนอกจากจะเป็นโชว์เคสและมีนักศึกษาที่เป็นผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากแล้ว ยังเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่สถาบันการศึกษาอื่น ๆ ด้วย

นางสาวอภิรดี อำนรรฆมณี ผู้อำนวยการกลุ่มบริการเทคโนโลยี ม.ศรีปทุม กล่าวว่า ที่ผ่านมามีบริษัทไอทีหลายรายเข้ามานำเสนอสินค้าเช่นเดียวกัน อย่าง ซิสโก้ ผู้วางระบบโครงข่ายไอทีในมหาวิทยาลัยที่ร่วมมือกันหลายปีแล้ว และมีบางค่ายจับมือกับค่ายโทรศัพท์มือถือเข้ามาให้ข้อเสนอ บริษัทเหล่านี้จะรู้ช่วงเวลาของสถาบันการศึกษาว่าจะลงทุนเวลาใด เพราะแต่ละสถาบันมีรอบเวลาลงทุน โดยในเฟสล่าสุด ม.ศรีปทุมมีแผนลงทุนด้านไอทีสำหรับนักศึกษากว่า 35 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ม.ศรีปทุมไม่ได้เน้นแบรนด์ แต่ดูความเหมาะสมและผลประโยชน์นักศึกษาเป็นหลักมากกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook