เกิดอะไรขึ้นกับ "เฟซบุ๊ก" จุดเริ่มต้นของยุคขาลง ?

เกิดอะไรขึ้นกับ "เฟซบุ๊ก" จุดเริ่มต้นของยุคขาลง ?

เกิดอะไรขึ้นกับ "เฟซบุ๊ก" จุดเริ่มต้นของยุคขาลง ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เกิดอะไรขึ้นกับ "เฟซบุ๊ก" จุดเริ่มต้นของยุคขาลง ?

คงไม่มีโซเชียลเน็ตเวิร์กรายใดเป็นที่รู้จักและมีผู้ใช้งานทั่วโลกเทียบเคียง ได้กับ "เฟซบุ๊ก" จากผู้เปิดบัญชีใช้งานรวมกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก หากนับเฉพาะผู้ใช้ในประเทศไทย มีมากกว่า 18 ล้านคน หรือกว่า 28% จากประชากรในประเทศไปแล้ว

ข้อมูลจากบริษัทวิจัยต่างประเทศระบุว่า ฐานของยักษ์ผู้ปลุกกระแสโซเชียลเน็ตเวิร์กรายนี้กำลังค่อย ๆ อ่อนกำลังลง เนื่องจากกำลังเสียฐานผู้ใช้จำนวนหลายล้านคนอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลักจากการ

ที่จำนวนผู้ใช้เครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ กทั่วโลกเริ่มเข้าสู่จุดอิ่มตัว นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากโซเชียลเน็ตเวิร์กคู่แข่งรายอื่นราวกับเคราะห์ ซ้ำกรรมซัด

ขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญบางคนยังมองว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดของเฟซบุ๊กในขณะนี้คือ การที่กลุ่มคนที่มีความต้องการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กต่างมีบัญชีใช้งานของตนเองกันหมดแล้ว

"เดอะการ์เดี้ยน" รายงานว่า เฟซบุ๊กสูญเสียฐานผู้ใช้เป็นหลักล้านคนต่อเดือนในตลาดหลักของตน โดยข้อมูลระบุว่า

โซ เชียลเน็ตเวิร์กทางเลือกรายอื่น ๆ ดึงดูดผู้ที่ต้องการหาพื้นที่เล่นเครือข่ายสังคมออนไลน์แบบใหม่ ๆ ไปจากเฟซบุ๊ก ถึงแม้ขณะนี้เฟซบุ๊กน่าจะกำลังอยู่ในช่วงเตรียมแถลงข้อมูลผลประกอบการบริษัท ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า รายได้ของเฟซบุ๊กน่าจะเพิ่มขึ้น 36% จากปีที่แล้ว

ตลาดหุ้นวอลล์สต รีตคาดว่า รายได้ของบริษัทโซเชียลเน็ตเวิร์กอันดับหนึ่งรายนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1,440 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 1,060 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีที่แล้วก็ตาม เพราะการขยายตลาดในสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และประเทศแถบยุโรป น่าจะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว

ข้อมูลจากบริษัทวิจัย "โซเชียลเบคเกอร์" ณ เดือน มี.ค.ที่ผ่านมาระบุว่า โซเชียลเน็ตเวิร์กรายใหญ่ที่สุดของโลกสูญเสียฐานผู้เข้าชมจำนวน 6 ล้านคน ในตลาดสหรัฐอเมริกา ลดลงจากปีที่แล้ว 4%

ส่วนในสหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้ใช้งานเข้าเช็กข้อมูลในเฟซบุ๊กน้อยกว่าเดิม 1.4 ล้านคน ลดลง 4.5% ซึ่งถือว่าเฟซบุ๊กยังมีอัตราการลดลงของจำนวนผู้ใช้งานอย่างคงที่

เนื่องจากช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ฐานผู้ใช้เฟซบุ๊กในสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรลดลงต่อเนื่อง โดยในสหรัฐ
มีจำนวนผู้เข้าใช้รายเดือนน้อยกว่าเดิม 9 ล้านคน ส่วนในสหราชอาณาจักรน้อยกว่าเดิม 2 ล้านคน

นอกจากนี้ฐานผู้ใช้ในแคนาดา, สเปน, ฝรั่งเศส, เยอรมนี และญี่ปุ่น ก็มีจำนวนลดลงเป็นอย่างมากเช่นกัน

"เอียน มอด" ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อใหม่ บริษัท เอนเดอร์ส อะนาไลซิส แสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้ว่า ปัญหาตอนนี้
คือ คนส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และสห ราชอาณาจักรที่ต้องการมีบัญชีเฟซบุ๊กต่างทำการสมัครไปเรียบร้อยหมดแล้ว และมีปัจจัยความน่าเบื่อจากเรื่องที่คนต้องการลองใช้สิ่งใหม่ ๆ ส่วนคำถามที่ว่าชะตาของเฟซบุ๊กในอนาคตจะเป็นแบบมายสเปซหรือไม่ คงต้องบอกว่ามีความเป็นไปได้น้อย แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเลย

ฝั่งโซเชียลเน็ตเวิร์กรายอื่น เช่น เว็บไซต์แชร์รูปภาพ "อินสตาแกรม (Instagram)" กลับเพิ่มจำนวนฐานผู้ใช้งานได้ถึง 30 ล้านคนในช่วง 18 เดือน ก่อนที่เฟซบุ๊กจะเข้ามาซื้อกิจการเมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา ทั้งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในกลุ่มผู้ใช้งานอายุน้อย

ส่วน โซเชียลเน็ตเวิร์กบนแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถืออย่าง "พาท (Path)" ซึ่งจำกัดจำนวนเพื่อนของผู้ใช้อยู่ที่ 150 คนเท่านั้น และก่อตั้งโดย "เดฟ โมริน" อดีตบุคลากรของเฟซบุ๊ก ก็สามารถรวบรวมฐานผู้ใช้งานได้ถึง 1 ล้านคน ในเวลาเพียงสัปดาห์เดียว และล่าสุดมียอดผู้ใช้งานมากกว่า 9 ล้านคน ทั้งมียอดดาวน์โหลดแอปในเวเนซุเอลาสูงถึง 50,000 ครั้ง ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ของอาทิตย์เดียวเท่านั้น

อย่าง ไรก็ตาม เฟซบุ๊กยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดแถบอเมริกาใต้ โดยข้อมูลจากบริษัทโซเชียลเบคเกอร์นำเสนอว่า ผู้เข้าชมเว็บไซต์ในบราซิลมีจำนวนเพิ่มขึ้น 6% จากเดือน มี.ค. ทำให้มีฐานผู้ใช้ทั้งหมด 70 ล้านคน ในขณะที่จำนวนผู้ใช้งานในประเทศอินเดียเพิ่มขึ้น 4% ทำให้มีฐานผู้ใช้งานทั้งหมด 64 ล้านคน ซึ่งฐานผู้ใช้งานดังกล่าวถือเป็นส่วนน้อยต่อประชากรทั้งประเทศ บ่งชี้ให้เห็นว่า เฟซบุ๊กยังมีโอกาสเติบโตได้ในกลุ่มประเทศเหล่านี้

แต่ ทางฝั่งตลาดประเทศพัฒนาแล้ว จำนวนผู้ติดตามใช้งานเฟซบุ๊กต่างอยู่ในช่วงขาลง โดยนักวิเคราะห์จากธนาคารเจฟเฟอรีส์ได้พัฒนาระบบที่ผสานกับซอฟต์แวร์ของ เฟซบุ๊ก ซึ่งชี้ให้เห็นว่า จำนวนผู้ใช้งานในช่วงไตรมาสแรกอาจลดลง จากจุดสูงสุด โดยในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้งานทั่วโลกของเฟซบุ๊กน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,050 ล้านคน ก่อนที่จะลดลงถึง 20 ล้านคนในเดือน ก.พ. และเพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือน เม.ย. แต่เฟซบุ๊กสูญเสียฐานผู้ใช้ในสหราชอาณาจักรเกือบ 2 ล้านคน ตั้งแต่เดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว จากฐานผู้ใช้ทั้งหมด 27 ล้านคน ในปี 2555 ที่ค่อนข้างเติบโตคงที่ในแง่ระยะเวลาที่ชาวอเมริกาใช้งานเฟซบุ๊ก ก็ลดลงเช่นกัน ข้อมูลจาก "คอมสกอร์" เปิดเผยว่า ปกติมีเวลาเฉลี่ยประมาณคนละ 121 นาที ในเดือน ธ.ค.ปี 2555 ลดลงมาเหลือ 115 นาที ในเดือน ก.พ.ปี 2556

นอก จากนี้ระยะเวลาการใช้งานเฟซบุ๊กผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีก็ลดลงอย่างรวด เร็ว เพราะคนทั่วไปเริ่มหันไปใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเลตมากยิ่งขึ้น โดยระยะเวลาเฉลี่ยของการใช้งานเฟซบุ๊กผ่านสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจาก ปีที่แล้วมาอยู่ที่ 69 นาทีต่อเดือน แต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนระยะเวลาการใช้งานบนคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปที่ลดลงได้
ช่องทางการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือสามารถทำรายได้จากโฆษณาให้

"เฟซบุ๊ก" ได้มากกว่า 25% จากรายได้รวมของบริษัททั้งหมดในปลายปี 2555 และมีฐานผู้ใช้งานผ่านอุปกรณ์มือถือ ประมาณ 680 ล้านคน เป็นผลมาจากการผลักดันบริการของเฟซบุ๊กบนโทรศัพท์มือถือด้วยการเปิดตัวฟังก์ ชั่นการใช้งานใหม่ ๆ ในช่วงปีที่แล้ว

คอลัมน์ Click World

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook