"กสทช." ฟังแต่ไม่ได้ยิน ? บทเรียนสัมปทาน "ทรูมูฟ-ดีพีซี"

"กสทช." ฟังแต่ไม่ได้ยิน ? บทเรียนสัมปทาน "ทรูมูฟ-ดีพีซี"

"กสทช." ฟังแต่ไม่ได้ยิน ? บทเรียนสัมปทาน "ทรูมูฟ-ดีพีซี"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"กสทช." ฟังแต่ไม่ได้ยิน ? บทเรียนสัมปทาน "ทรูมูฟ-ดีพีซี"

ใกล้เข้ามาทุกที่ "15 ก.ย. 2556" สัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บนคลื่น 1800 MHz ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด จะปิดฉากลงแล้วเรียบร้อย ถึงดูท่าว่าจะต่ออายุไปอีกปีโดย "กสทฯ" จ้างทรูมูฟดูแลลูกค้าต่อ ไม่ได้มีการปิดสวิตช์บริการ แต่กรณีฐานลูกค้ากว่า 17 ล้านคนจะมีชะตากรรมอย่างไรเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายตั้งคำถาม

คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเวทีถกกันถึงเรื่องนี้ก่อนที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะจัดประชาพิจารณ์ (ร่าง) ประกาศมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...

"แก้วสรร อติโพธิ" อนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่น 1800 MHz และหัวหน้าคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางอนุญาตให้ใช้คลื่น 1800 MHz ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องนี้ควรทำมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาเคร่งเครียดก่อนจะสิ้นสุดสัมปทานแค่ 2 เดือน แต่โทษ กสทช.ฝ่ายเดียวคงไม่ได้ เจ้าของสัมปทานก็มีส่วนทำให้ล่าช้า เพราะทั้งเตะถ่วง ขอต่อ

เวลาใช้คลื่น โดยเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อคานอำนาจ กสทช.

"กฎหมายระบุชัดว่าต้องคืนคลื่นให้ กสทช.เมื่อสิ้นสุดสัมปทาน พอไม่ยอมคืนธุรกิจจะยังจมปลักกับระบบสัมปทาน ถ้าปล่อยไว้จะเกิดอีกกับ 900 MHz ที่ทีโอทีให้สัมปทานเอไอเอส รวมถึงคลื่นที่ดีแทคใช้อยู่ ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องเร่งหารือเพื่อทางออกที่ดีที่สุด อย่างน้อยก่อนหมดสัมปทาน 90 วัน ต้องชัดเจนไม่ใช่ตกลงกันไม่ได้ก็ขอยืดเวลาออกไปเหมือนที่ทำกับกรณีนี้"

ปรากฏการณ์ "ซิมดับ" กสทช.ต้อง

รับผิดชอบหากไม่สามารถจัดการปัญหาได้แต่แรก ในต่างประเทศก็มีปัญหานี้แต่จัดการได้เป็นระบบกว่า ทำให้การเปลี่ยนผ่านหลังสิ้นสุดสัมปทานทำได้อย่างไร้รอยต่อ

ฟาก "สารี อ๋องสมหวัง" ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช.กล่าวว่า ได้เสนอวิธีแก้ปัญหาแต่ กสทช.เพิกเฉย มุ่งทำตามแผนที่ตนเองต้องการจนเกิดปัญหา ทั้งยังจะนำร่างประกาศมาตรการคุ้มครองมาใช้กับการสิ้นสุดสัมปทานของรายอื่นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางคณะอนุกรรมการเห็นว่าไม่สมควร

"ร่างนี้จะไม่เกิดถ้ามีการจัดการที่ดีเพียงพอ แต่เมื่อเรื่องปานปลายมาแบบนี้แล้วก็ต้องทำตามนั้น แต่ไม่ควรนำมาใช้กับสัมปทานคลื่นอื่นอีก เพราะแสดงถึงความไม่กระตือรือร้นของ กสทช. คลื่น 900 MHz จะสิ้นสุดในอีก 2 ปีข้างหน้า รวมถึง 1800 MHz ของดีแทคในอีก 5 ปี กสทช.ควรวางแผนได้แล้ว เช่น จัดประมูลล่วงหน้าเพื่อให้ได้ผู้ถือครองคลื่นมาให้บริการในทันทีที่สิ้นสุดสัมปทาน ไม่อย่างนั้นจะเกิดการนำผู้ใช้บริการมาเป็นตัวประกันเหมือนครั้งนี้ที่ใช้ผู้ติดค้างประมาณ 17 ล้านรายมาเป็นข้อต่อรองขอขยายเวลาให้บริการไปเรื่อย ๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย"

ฝั่งคุ้มครองผู้บริโภคฯจึงจะยื่นเรื่องร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี ที่มีอำนาจทางการตรวจสอบกฎหมาย ว่า กสทช.ทำแบบนี้ได้หรือไม่

ขณะที่ "เดือนเด่น นิคมบริรักษ์" อนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูลาร์ DIGITAL PCN 1800 MHz เห็นตรงกันว่า กสทช.ไม่เคยรับฟังข้อเสนออื่น และวิธีการของ กสทช.ที่ตัดสินใจให้มีช่วงเปลี่ยนผ่าน 1 ปี เสี่ยงผิดกฎหมาย และเรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้า กสทช.ทำงานเร็วกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนประมูล รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการย้ายค่ายเบอร์เดิม (MNP : Mobile Number Portability) ที่เพิ่งมาเร่งช่วงนี้ ถ้าลูกค้าย้ายค่ายโดยใช้เบอร์เดิมได้เป็นหลักแสนเบอร์ต่อวันตั้งแต่ต้นปี ลูกค้ากว่า 17 ล้านรายน่าจะออกมาจากระบบได้ทันสิ้นสุดสัมปทาน

"ปัญหา MNP เกิดขึ้นเพราะก่อนหน้านี้มีทรูมูฟแค่เจ้าเดียวอยากย้ายลูกค้าออกเพราะสัมปทานจะสิ้นสุด แต่เพิ่งมาเพิ่มประสิทธิภาพได้ตอนที่ทุกค่ายอยากย้ายลูกค้าออกมาจากสัมปทานเพื่อลดต้นทุนจากระบบสัมปทาน ซึ่ง กสทช.บังคับให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันเพิ่มความจุได้ แต่ไม่ทำหรือติดปัญหาบางอย่าง ซึ่งผู้กำกับกิจการไม่ควรเป็นอย่างนี้"

ทางออกที่ต้องการให้ กสทช.เร่งดำเนินการ คือ แจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าบริการของทั้งสองบริษัทจะสิ้นสุด พร้อมแจ้งสิทธิ์ของลูกค้าที่โอนย้ายผู้ให้บริการโดยใช้เบอร์เดิมได้ และผู้ประกอบการต้องแจ้งให้ลูกค้าที่ยังไม่ลงทะเบียนซิมด้วย รวมถึงเจรจากับผู้ให้บริการที่ได้สิทธิ์ใช้คลื่นต่อไปให้รับลูกค้าที่ค้างอยู่ไปดูแลด้วย หรือไม่ก็นำคลื่น 1800 MHz ที่ดีแทคได้สิทธิ์ใช้งานตามสัมปทาน แต่ไม่ได้มีการใช้งานจริงมาให้บริการกับลูกค้ากลุ่มนี้แทน

ด้าน กสทช.คุ้มครองผู้บริโภค "ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กล่าวว่าในฐานะ กสทช.คงต้องตอบได้แค่ที่เรื่องช้าแบบนี้มาจากความล่าช้าของการเดินเอกสาร แต่ถ้าในแง่ข้อเท็จจริงต้องบอกว่า กสทช.ไม่ใส่ใจผู้บริโภคมากนักทำให้ปัญหาลากยาว สัมปทานของเอไอเอสต้องเจอกับภาวะแบบนี้อีกก็คงไม่แปลกที่จะถามว่า กสทช.ชุดนี้ควรโดนถอดถอนหรือไม่ เพราะละเลยในหน้าที่

ถ้ากรณี 1800 MHz ของทรูมูฟและดีพีซีจะให้บทเรียนอะไรกับการทำงานของ "กสทช." บ้าง ก็คงได้เห็นการจัดการกับคลื่นความถี่ที่ยังไม่หมดอายุในอีกไม่ช้านี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook