′แผ่นดิสก์′ ยังไม่ตาย-พัฒนาต่อยอดรับหนัง 4 เค

′แผ่นดิสก์′ ยังไม่ตาย-พัฒนาต่อยอดรับหนัง 4 เค

′แผ่นดิสก์′ ยังไม่ตาย-พัฒนาต่อยอดรับหนัง 4 เค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

′แผ่นดิสก์′ ยังไม่ตาย-พัฒนาต่อยอด โซนี่-พานาโซนิคจ่อเข็นแผ่น 300 กิกะไบต์-รับหนัง 4 เค

เว็บไซต์ เอ็กซ์ตรีมเทค รายงานว่า สองบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีความบันเทิงจากประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ โซนี่ และพานาโซนิค ประกาศเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีประเภทสื่อจานแสง หรือ ออพติคอล ดิสก์ ต่อจาก บลู-เรย์ รุ่นปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายให้แผ่นจานแสงสามารถจุข้อมูลดิจิตอลได้อย่างน้อย 300 กิกะไบต์ ต่อ 1 แผ่น ภายในปี 2558

แผ่นดิสก์


โซนี่และพานาโซนิค ระบุว่า การพัฒนาดังกล่าวเป็น ผลมาจากเทคโนโลยีด้านจอภาพที่กำลังเริ่มขยายตัวจากความละเอียด 1,920x1,080 พิกเซล หรือ 1080 พี (ในระบบ โปรเกรสซีฟ) ที่ในทางการตลาดใช้ชื่อว่า ฟูล ไฮ เดฟินิชั่น (ฟูล-เอชดี) ไปเป็น 3,840x2,160 พิกเซล หรือ 2160 พี ที่นิยมเรียกกันว่า ภาพ 4 เค ซึ่งหมายถึงความละเอียดพิกเซลเฉพาะแนวนอนเป็น 4,000 พิกเซล (ในที่นี้คือ 3,840 พิกเซล) ที่ในทางการตลาดจะใช้ชื่อว่า อัลตร้า ไฮ เดฟินิชั่น (ยูเอชดี) ทำให้ข้อมูลต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์ ที่จะให้ภาพความละเอียดระดับยูเอชดี มีขนาดมากกว่า 100 กิกะไบต์ขึ้นไป ซึ่งมากกว่าแผ่นบลู-เรย์มาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน ที่สามารถจุข้อมูลได้ 25 กิกะไบต์ ต่อ 1 เลเยอร์ ขณะที่บลู-เรย์ ดูอัล เลเยอร์ จุได้เพียง 50 กิกะไบต์เท่านั้น

กิซแม็กระบุว่า ปัจจุบันผู้บริโภคกำลังเริ่มหันไปให้ความนิยมกับการดาวน์โหลดข้อมูลดิจิตอลมากขึ้น และใช้สื่อจานแสงน้อยลง ทว่าสื่อจานแสงนั้นมีข้อดีกว่า ตรงที่การเก็บรักษาข้อมูลในระยะยาว รวมทั้งมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น น้ำ ฝุ่น และความชื้น มากกว่า ฮาร์ดดิสก์ และเอสเอสดี รวมทั้งให้ความสะดวกต่อการนำข้อมูลกลับมาใช้ในอนาคต

ขณะที่ระบบดิจิตอล-ดาวน์โหลด นั้นแม้มีข้อดีกว่าตรงที่ความสะดวกในการได้มา แต่มีข้อจำกัดที่ความเร็วของอินเตอร์เน็ต และการนำข้อมูลกลับมาใช้ในอนาคตไม่สะดวกเท่ากับสื่อจานแสง ที่นำมาใช้ได้ทันที ขณะที่ดิจิตอล-ดาวน์โหลด ต้องดาวน์โหลดข้อมูลมาใหม่ทั้งหมด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook