ไทยติดอันดับใช้ "สมาร์ทโฟน-แท็บเลต"สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไทยติดอันดับใช้ "สมาร์ทโฟน-แท็บเลต"สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไทยติดอันดับใช้ "สมาร์ทโฟน-แท็บเลต"สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไทยติดอันดับใช้ "สมาร์ทโฟน-แท็บเลต"สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานข่าจากผลการวิเคราะห์ล่าสุดของ Ericsson ConsumerLab พบว่า การเข้าถึงสมาร์ทโฟนในประเทศไทยของผู้บริโภคในเมืองมีอัตราเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จาก 17 เปอร์เซ็นต์ในปี 2012 เป็น 36 เปอร์เซ็นต์ในปี 2013 ขณะที่การเข้าถึงแท็บเล็ตของผู้บริโภคในเมืองเพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าจาก 2 เปอร์เซ็นต์ในปี 2012 เป็น 7 เปอร์เซ็นต์ในปี 2013

ส่วนการใช้งานแอปพลิเคชั่นเพิ่มขึ้นจาก 40 เปอร์เซ็นต์ในปี 2012 เป็น 57 เปอร์เซ็นต์ในปี 2013 ทำให้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศในลำดับที่ 23 จากทั้งหมด 43 ประเทศที่มีการใช้งานแอปพลิเคชั่น

ท่ามกลางกลุ่มคนที่มีการใช้งานสมาร์ทโฟนจะพบว่ามีอัตราการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของการเข้าถึงอินเทอร์เนต โซเชียลเน็ตเวิร์ค การแชตออนไลน์ และการใช้วีดีโอสตรีมมิ่ง

โดยนายอัฟรีซาล อับดุล ราฮิม หัวหน้าวิจัย Ericsson Consumer Lab เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียเนีย เปิดเผยว่าหากมองดูที่การใช้งานสมาร์ทโฟน สามารถพูดได้ว่าคนไทยมีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการใช้ดาต้าเซอร์วิสที่หลากหลาย โดย

ใช้สมาร์ทโฟนเพื่อใช้แอปพลิเคชั่น เพื่อการรับส่งแชตออนไลน์ ดูวิดีโอคลิป ติดต่อกับเพื่อนในโซเชียลเน็ตเวิร์ค

ทั้งนี้ 3 เหตุผลที่จะทำให้คนไทยมีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นเพื่อความต้องการที่อยากมีแอปพลิเคชั่นที่น่าสนใจต่าง ๆ จากใน App Store, การติดต่อกับผู้คนได้ง่ายขึ้น รวมทั้งความต้องการในการลองสิ่งใหม่ๆ

สำหรับปีที่ผ่านมา อัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนของกลุ่มคนที่มีสมาร์ทโฟนของคนเมืองโตขึ้นมากกว่าเป็น 2 เท่าจากในปี 2012 ไปสู่ 2013 ซึ่งเป็นอัตราที่โตขึ้นมาสูงที่สุดจากทุกๆ ประเทศที่มีการสำรวจ

นายอัฟรีซาลเสริมว่า "ความต้องการการเข้าถึงอินเทอร์เนตได้ในทุกที่ ทุกเวลา และการติดตาม ข้อมูลอัพเดทใหม่ๆ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการซื้อสมาร์ทโฟน ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้เกิดการซื้อแท็บเลต คือการเล่นอินเทอร์เนต การเล่นเกมส์ และ ความบันเทิง"

สำหรับการเข้าถึงแท็บเล็ตมีอัตราการเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า จากในปี 2012 จนมาถึง 2013 จากการศึกษาในเรื่องนี้ทำให้พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเพิ่มในด้านการใช้งานแท็บเล็ตสูงที่สุดในภูมิภาคนี้อีกด้วย

ด้านนายบัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า ข้อมูลการเข้าถึงสมาร์ทโฟนในประเทศไทยในรายงานฉบับนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับเดือนมิถุนายนที่อธิบายลักษณะการใช้งานบนเครือข่ายมือถือทั่วโลกอีกด้วย

อ้างอิงจากข้อมูลที่ทำการเก็บรวบรวมจากโครงข่ายที่ได้ดำเนินการจัดการต่าง ๆ ทั่วโลก ณ ตอนนี้คาดการณ์ได้ว่า จำนวนผู้จดทะเบียนใช้งานสมาร์ทโฟน จะเพิ่มสูงขึ้น 4.5 พันล้านคน ในปี 2018 โดยเมื่อปลายปี 2012 อีริคสันประมาณการณ์ไว้ว่า ผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งหมดอยู่ที่ 1.2 พันล้านคน โดย กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของโทรศัพท์มือถือซึ่งขายในไตรมาส 1 ในปี 2013 เป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เปรียบเทียบกับอัตราที่ผ่านมาคือโทรศัพท์สมาร์ทโฟนราว 40 เปอร์เซ็นต์ที่เคยขายมาตลอดทั้งปีในปี 2012

แสดงให้เห็นถึงอัตราการซื้อสมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

อัตราการเติบโตในด้านของความสนใจในแอปพลิเคชั่น โซเชียลมีเดีย วีดีโอ และแชตออนไลน์ก็สอดคล้องกับในรายงาน Ericsson Mobility Report เช่นกัน ซึ่งพบว่า Data Traffic ในโทรศัพท์มือถือเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2 เท่าจากเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยในป๊ 2018 คาดการณ์ว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของ Data Traffic ในโทรศัพท์มือถือ จะเป็นในรูปแบบวีดีโอด้วย

สำหรับ Data Traffic ในโครงข่ายโทรศัพท์มือถือยังคงมีอัตราเติบโตที่สูงขึ้นอย่างมาก เป็นผลมาจากการใช้ Smart Device และ

แอปพลิเคชั่นที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน และแน่นอนว่าสิ่งนี้จะเป็นผลกระทบต่อผู้ให้บริการเครือข่ายและ Regulators ต่าง ๆ ทั่วโลกที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมของเครือข่ายและจัดสรรปริมาณคลื่นความถี่อย่างเหมาะสมด้วย

ตามรายงาน Mobility Report ในปี 2018 ผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีความคาดหวังว่าจะใช้ดาต้าบนโทรศัพท์ต่อเดือนมากขึ้นเป็น 4 เท่า เมื่อเทียบกับปัจจุบัน หรือเปรียบเทียบคือการใช้โดยเฉลี่ยประมาณ 2 GB ต่อคน และคาดว่าผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือจะเพิ่มความต้องการในด้านของการใช้ดาต้า ซึ่งเป็นข้อมูลที่ชัดเจนเหมือนกับที่เคยรวบรวมเอาไว้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook