dtac ตอบคำถามยอดฮิต TriNet อะไร เมื่อไหร่ อย่างไร ?
dtac ตอบคำถามยอดฮิต TriNet อะไร เมื่อไหร่ อย่างไร ?
เมื่อ เร็วๆ นี้ทาง dtac เพิ่งนัดพบบรรดาบล็อกเกอร์มาพูดคุยกับผู้บริหารว่าสถานการณ์ตอนนี้ว่าเป็น อย่างไร แน่นอนว่าประเด็นสำคัญคงหนีไม่พ้น dtac TriNet ที่เพิ่งทยอยปล่อยให้เริ่มใช้เมื่อปลายเดือนกรกฏาคม
ก่อนจะมาลงราย ละเอียดว่าในงานคุยอะไรกันบ้างก็มาพูดเกี่ยวกับโครงการข่าย dtac TriNet กันเสียก่อน แบบคร่าวๆ คือ dtac เลือกปรับใช้คลื่นความถี่ในมือทั้งสามย่าน โดยจะแบ่งหน้าที่ตามความเหมาะสม ใช้ 1800MHz กับโครงข่าย 2G และ 850MHz+2100MHz กับโครงข่าย 3G ด้วยวิธีนี้จะทำให้ dtac TriNet มีช่องสัญญาณของ 3G สูงสุดที่ประมาณ 25MHz (เป็น 850MHz อยู่ 10MHz และ 2100MHz อีก 15MHz) สามารถอ่านรายละเอียดเต็มๆ ได้จากข่าวเก่าครับ
นับ ตามระยะเวลาที่เปิดตัวโครงข่ายนั้น dtac เปิดมาพอๆ กับคู่แข่ง แต่พอถึงเวลาใช้จริงกลับมาเป็นที่หลังสุด เรื่องนี้ dtac ให้เหตุผลว่าปรับย้ายมาช้าเพราะต้องการให้เครือข่ายออกมามีคุณภาพ และต้องใช้เวลานานกับการปรับตัวระบบหลักให้สามารถทำงานร่วมกันทั้งสามย่าน ได้ดี ซึ่งในต่างประเทศเองก็ไม่ค่อยมีผู้ให้บริการแบบนี้มากนัก
เกริ่น มาพอสมควรก็มาเข้าประเด็นหลักคือสถานการณ์ของ dtac TriNet ตอนนี้มีความพร้อมแค่ไหน ยังมีปัญหาอะไรอีกบ้าง รวมถึงประเด็นยอดฮิตอย่าง "เมื่อไหร่จะได้ใช้" กันครับ
ลงทะเบียน dtac TriNet ไว้แล้ว เมื่อไหร่จะได้ใช้ ?
ย้อน ความไปตั้งแต่ช่วงเปิดโครงข่ายเมื่อเดือนเมษายน dtac แจ้งผู้ใช้ที่มีความต้องการใช้งานไปลงทะเบียนจองสิทธิ์กันล่วงหน้าก่อน แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังมีผู้ใช้หลายคนที่ลงทะเบียนไปเนิ่นๆ แต่ก็ยังไม่ได้รับแจ้งให้ใช้งาน dtac TriNet เสียที ตรงส่วนนี้ dtac ตอบคำถามว่ากระบวนการย้ายผู้ใช้ dtac เดิมไปยัง dtac TriNet นั้นเพิ่งเริ่มต้นเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมตามที่มีข่าวออกมา โดยมีโควต้าในการย้ายต่อวันอยู่ที่ 60,000 เลขหมาย และทำงานเฉพาะวันทำการเท่านั้น โดยการใช้งาน dtac TriNet ต้องย้ายผู้ใช้บริการภายในจาก dtac เดิมไปยัง dtac Network ซึ่งเป็นส่วนที่ถือใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2100MHz อยู่
กระบวนการย้าย เลขหมายของผู้ใช้ไปเข้าโครงข่าย dtac TriNet นั้นทาง dtac บอกว่าเรียงตามคิวที่ผู้ใช้ลงทะเบียนไว้นับเป็นตัวเลขผู้ใช้ dtac TriNet ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมจนถึงกลางเดือนสิงหาคมมีผู้ใช้อยู่ราว 400,000 เลขหมายแล้ว (คำนวณคร่าวๆ ณ วันที่เขียนควรจะมีราวๆ 800,000 เลขหมาย) ส่วนตัวเลขผู้แจ้งความประสงค์ย้ายมาใช้นั้นเกิน 4.5 ล้านเลขหมายไปเรียบร้อยแล้ว
ปัญหาของตอนนี้คือมีผู้ใช้บางรายลง ทะเบียนไว้แต่แรกๆ จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้ย้ายเสียที ตรงนี้ dtac แจ้งว่าอาจเกิดจากความผิดพลาดของระบบ เร็วๆ นี้จะมีการจัดทำหน้าเว็บสำหรับแจ้งรายละเอียดว่าผู้ใช้จะได้ย้ายประมาณช่วง สัปดาห์ไหนออกมา ตรงนี้คงต้องคอยแยปถามความคืบหน้ากันต่อไป
ลูกค้ากลุ่มพิเศษจะได้ใช้ dtac TriNet เมื่อไหร่ ?
ลูกค้า กลุ่มบริการพิเศษ หรือผู้ใช้โรมมิ่งต่างประเทศ (International Roaming) มัลติซิม แท็บเล็ต แอร์การ์ด และลูกค้าที่ชำระค่าบริการรายเดือนอัตโนมัติผ่านบัตรเครดิต จะเป็นกลุ่มที่ได้ใช้งาน dtac TriNet ช้ากว่าลูกค้าปกติเป็นวันที่ 8 สิงหาคม โดย dtac แจงเหตุผลที่ล่าช้าสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่มเอาไว้ดังนี้
ลูกค้า โรมมิ่งต่างประเทศ - ล่าช้าเพราะ dtac TriNet ถือเป็นเครือข่ายใหม่ทำให้ต้องทำสัญญากับบรรดาผู้ให้บริการต่างชาติใหม่หมด ซึ่งตรงนี้ก็เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลูกค้ากลุ่มที่ย้ายมา dtac TriNet จะสามารถโรมมิ่งกับเครือข่ายใน 155 ประเทศที่เคยใช้กับ dtac มาแล้วได้ทันที
ลูกค้ามัลติซิม แท็บเล็ต และแอร์การ์ด - ช้ากว่าเนื่องจากอุปกรณ์บ้างรุ่นไม่สามารถส่งข้อความไปแจ้งเตือนได้ (iPad และแอร์การ์ด) รวมถึงซิมใหม่สามารถส่งข้อมูลแบบ OTA สำหรับช่วยผู้ใช้ตั้งค่า APN ได้ในตัวด้วย ซึ่งตรงนี้อาจมีปัญหากับอุปกรณ์บางรุ่น
ลูกค้าตัดเงินอัตโนมัติผ่านบัตรเครดิต - เหตุผลคล้ายกับลูกค้าโรมมิ่งคือต้องทำสัญญากับทางธนาคารใหม่ น่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือนตุลาคม
สำหรับการย้ายลูกค้ากลุ่มบริการพิเศษดังกล่าว จะมีข้อความแจ้งเตือนลูกค้าไปก่อน และจะมีซิมใหม่ส่งไปให้ทางไปรษณีย์อีกที
ทำไมต้องโรมมิ่งสามเครือข่าย
ด้วย ความที่มาเป็นอันดับสุดท้ายในตลาด dtac จึงเป็นคำถามในใจหลายคนว่าทำไมถึงได้เลือกใช้การโรมมิ่งสามย่านความถี่ ไม่แบ่งชัดเจนเหมือน AIS ทาง dtac ให้คำตอบว่าการโรมมิ่งสามย่านความถี่ทำให้ได้ช่องสัญญาณ 3G มากที่สุด (25MHz) ครอบคลุมพื้นที่การใช้งานมากกว่าเพราะใช้ 850MHz กวาดพื้นที่ และ 2100MHz สำหรับจุดสัญญาณคับคั่ง ส่วนฝั่ง 2G ก็มีคลื่น 1800MHz ที่กว้างเป็นทะเลไว้คอยรองรับอยู่แล้ว (50MHz ที่เป็น 25MHz+25MHz)
สำหรับ การใช้งานในช่วงแรกที่ทั้งเสา 2100MHz (52005) ยังมีน้อย และช่องสัญญาณของ 850MHz ไม่มากพอรองรับผู้ใช้มากๆ ได้ การใช้งานในโหมดสแตนบาย เครือข่ายจะผลักให้ผู้ใช้ไปอยู่ในเครือข่าย 2G ก่อน เมื่อเครือข่ายเข้าที่แล้วจึงจะเปิดให้สแตนบายบนเครือข่าย 3G มากขึ้น
ข้อ ดีของการผลักผู้ใช้ไปเครือข่าย 2G ในตอนนี้คือลูกค้าจะใช้งานได้ลื่นไหลกว่าในบางการใช้งาน อย่างการโทรศัพท์ที่อาจจะสายหลุดเพราะย้ายเสาในเครือข่าย 3G บ่อยๆ และประหยัดแบตเตอรี่กว่า ส่วนข้อเสียคือความเร็วอินเทอร์เน็ต ความหน่วง (latency) และบางฟังก์ชันที่ต้องใช้งานบนเครือข่าย 3G อย่าง HD Voice เป็นต้น
โครงข่ายของ dtac มีความพร้อมในการรองรับลูกค้าแค่ไหน
ตอน นี้เสาให้บริการ 3G มีรวมกันราว 8,000 ต้นแล้ว โดยแบ่งเป็น 850MHz ประมาณ 5,200 ต้นที่กระจายไปทั่วประเทศ และเสา 2100MHz อีก 3,500 ต้นที่กระจายตามหัวเมือง น่าเสียดายที่ยังไม่มีระบบมาบอกว่าตอนนี้ 3G ของ dtac TriNet นั้นมีขอบเขตการใช้งานมากแค่ไหน
ทางฝั่งของ ISP ตอนนี้ dtac มีแบนด์วิดท์ออกต่างประเทศอยู่ 20Gbps และมีแผนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเร็วๆ นี้ก็เพิ่งเพิ่มระบบ CDN เข้ามาช่วยอีกทาง
ปิดท้ายกันที่ ผลงานของ dtac ในไตรมาสล่าสุด แม้มีเสียงบ่นจากผู้ใช้ให้เห็นเรื่อยๆ แต่สถานการณ์ก็ยังไปได้สวย ทั้งจำนวนผู้ใช้เพิ่ม รายได้ที่โตขึ้นจากปีก่อน และสัดส่วนในตลาดขยับไปอยู่ที่ 31.3% (อ่านเต็มๆ ได้จากผลประกอบการสามเครือข่าย)
สรุปสั้นๆ คือในอนาคต dtac จะมีเว็บไซต์สำหรับแจ้งรายละเอียดผู้ใช้ที่ต้องการย้ายไป dtac TriNet, สัญญาว่าจะเพิ่มเสาเครือข่าย 3G เพื่อให้สามารถสแตนบายบนเครือข่าย 3G ได้ ส่วนจะเรียกความเชื่อใจผู้บริโภคได้แค่ไหนคงต้องติดตามผลงานกันต่อไปครับ
ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
บทความโดย: Blltz