มหกรรม "แอนตี้ ไอดอล" "ไลค์" & "แชร์" ในโลกออนไลน์

มหกรรม "แอนตี้ ไอดอล" "ไลค์" & "แชร์" ในโลกออนไลน์

มหกรรม "แอนตี้ ไอดอล" "ไลค์" & "แชร์" ในโลกออนไลน์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มหกรรม "แอนตี้ ไอดอล" "ไลค์" & "แชร์" ในโลกออนไลน์

อบกด "ไลค์" ใช่กด "แชร์" วิธีการแสดงความรู้สึกและบอกต่อเรื่องราวต่างๆ แบบง่ายๆ แค่ปลายนิ้วคลิก

แต่เมื่อคลิกเล็กๆ กับความเห็นน้อยๆ ของคนหลายคนมารวมกัน บ่อยครั้งก็สามารถสร้างกระแสสังคม นำไปสู่การ "จ้องจับผิด" เช่น การตั้งเพจทั้งหลายแหล่

ทั้งเพจ "แอนตี้ กระแต กระต่าย อาร์สยาม" ที่มียอดกดไลค์มากกว่า 158,000 ไลค์ หรือเพจ "Anti-ใบเตย-อาร์สยาม" ที่มีคนถูกใจมากกว่า 36,358 หรือเพจ "มั่นใจคนไทยเกิน 1 ล้านคนเกลียดเจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ์" ที่ถูกตั้งขึ้นทันทีที่มีข่าวประกาศแต่งงานสายฟ้าแลบ จนเกิดเพจลูกยิบย่อยอีกหลายเพจตามมา


กระทั่งนักแสดงยอดนิยม เจมส์ จิรายุ ก็ถูกตั้งเพจแอนตี้จนกลายเป็นสงครามระหว่างแฟนคลับที่ตั้งกลุ่มแอนตี้กลุ่มแอนตี้เจมส์อีกที ในที่สุดเพจดังกล่าวก็ถูกปิดตัวลง หรือศิลปินเกาหลีที่มีคนคลั่งไคล้มากๆ ก็มีกลุ่มแอนตี้ประจำอยู่แทบทุกกลุ่ม นอกจากนี้ บรรดาคนดังหลายคนไม่ว่าจะเป็นลีน่า จังจรรจา, ชมพู อารยา หรือแม้แต่นักการเมือง ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลก็ถูกนำมาตั้งเป็นเพจแอนตี้ด้วยเช่นกัน

รวมถึง "เน็ตไอดอล" บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้เป็นดารา แต่มีหน้าตาดี มีความน่ารัก มีเอกลักษณ์พิเศษโดนใจ ผู้คนบนโลกอินเตอร์เน็ต จนมีคนติดตามเป็นแฟนคลับจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพียงเด็กนักเรียน นักศึกษาเท่านั้น ก็ถูกนำมาตั้งเพจแอนตี้มากมาย อาทิ เพจ "คนเกลียด สุนันทา เดวา (แอนตี้ สุนันทา)" เพจ "Anti Kranklao" "เพจแอนตี้มุก"


แต่ที่ดังเป็นพลุแตกต้องยกให้เพจ "Anti เอื้อย Pornsawan Phusua" โดยเฉพาะกรณี "บ้านเบี้ยว" ที่เกิดเป็นปรากฏการณ์ปักหมุด ขึ้นเป็นข้อความที่มีคนกดไลน์กดแชร์เป็นจำนวนมหาศาลในชั่วข้ามคืน ไม่นานเรื่องก็ร้อนถึงผู้ปกครองของเอื้อย ที่ทนไม่ได้ต้องวิ่งโร่เข้าแจ้งความ พร้อมเผยว่า ลูกสาวรู้สึกอายมากที่มีคนมาด่าจนไม่อยากไปโรงเรียน จากนั้นไม่นานก็เกิดวลีเด็ดตามมาทันทีในทำนองแซวว่า "เอื้อยร้องไห้ทำไม"

นานาเพจแอนตี้ที่เกิดขึ้นมีที่มา กลุ่มแอนตี้ต่างๆ ได้ให้ข้อสรุปที่คล้ายคลึงกันต่อสาเหตุการตั้งเพจไว้หลายข้อว่า

1."ที่ทนไม่ไหวเพราะเธอทำ" มีคนไลค์คนติดตามมาก แต่ความประพฤติเธอไม่เหมาะสมกับคำว่าเน็ตไอดอล บางคนเป็นเด็กแต่แต่งหน้าจัด นุ่งสั้น โชว์นั่นโชว์นี่ ทำกิริยาอาการไม่เหมาะสม รวมถึงการพูดจาและแสดงมารยาทต่างๆ ที่ไม่เหมาะควร เพราะเน็ตไอดอลต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม

2."สวยด้วยแอพ (พลิเคชั่น)" แต่งรูปต่างจากตัวจริงอย่างเห็นได้ชัด แต่ไม่สนใจเลยว่าสิ่งที่โอบรอบตัวเธอจะบิดเบี้ยวแค่ไหน

3."การเป็นคนสวย คนเก่ง ไม่สำคัญเท่าคนดี" ใช้เรื่องฉาว ข่าวคาวสร้างกระแส

4."ดังแล้วหยิ่ง สิ่งที่เห็นคือภาพลวงตา" ตัวจริงนิสัยไม่ดี หรือดังแล้วนิสัยเปลี่ยน

5."เพราะการแสดงความเห็นไม่ใช่เรื่องผิด" ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย ทุกคนมีสิทธิคิดเห็นแตกต่าง หากเลือกที่จะเป็นคนของประชาชน หรือเรียกกระแสให้ตัวเอง ควรปฏิบัติตัวให้ดี และไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น


เสียงยืนยันอย่างมั่นใจในการตั้งเพจแอนตี้ของแอดมิน ที่จะเดินหน้าหาแนวร่วมสนับสนุนการต่อต้าน ดารา ไอดอลที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อไป

แต่การตั้งเพจใดๆ ออกมาก็ควรมีขอบเขตและข้อจำกัด

ดร.ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า การตั้งเพจแอนตี้หรือเพจในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ถึงกระนั้นการวิพากษ์วิจารณ์แสดงความเห็นทุกอย่างล้วนมีข้อจำกัดและต้องมีวิจารณญาณ ควรเป็นไปด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ และเป็นการเสนอข้อมูลความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ มิใช่ทำลาย


และว่า กระบวนการในการสร้างกลุ่มถ้ามีเหตุผลว่าบุคคลหรือกลุ่มคนมีแนวทางหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จึงจำเป็นต้องวิพากษ์วิจารณ์หรือตั้งกลุ่มแอนตี้เพื่อให้เขาปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น เป็นเรื่องที่สามารถยอมรับได้ แต่ถ้าเป็นการมุ่งโจมตีในลักษณะโกรธเกลียด ไม่ชอบเป็นการส่วนตัวแบบไม่มีเหตุมีผล ถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม คนที่ทำเพจตรงนี้จะต้องพิจารณาด้วย

ดร.ฉลองรัฐยังให้คำแนะนำว่า การสื่อสารด้วยอินเตอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างและเปิดโอกาสให้คน ทุกกลุ่มในสังคมมีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นหรือทำกิจกรรมต่างๆรวมถึงการ รวมกลุ่มแอนตี้การที่เราเอาตัวเองเข้ามาอยู่ในสังคมออนไลน์ ในที่สาธารณะ ต้องยอมรับผลกระทบที่จะตามมาทั้งด้านบวกและด้านลบ คือถ้าทำสิ่งที่ดีที่สังคมยอมรับก็จะกลายเป็นคนดัง แต่ถ้าทำในสิ่งที่สังคมส่วนใหญ่มองว่าไม่เหมาะสมก็จะกลายเป็นช่องทางโจมตี เช่นเดียวกับคนที่นำรูปภาพตัวเองลงพื้นที่ส่วนตัวในเฟซบุ๊กแต่เป็นพื้น สาธารณะที่สาธารณชนเข้ามาชมได้ ต้องตระหนักว่าจะมีทั้งคนชื่นชมและคนที่ไม่ชื่นชม

ทิ้งท้ายว่า อนาคตเรื่องของการเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ในอินเตอร์เน็ตจะมีปัญหามากโดยเฉพาะในเยาวชน ที่มีวิจารณญาณในการทำน้อย ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา

เมื่อการ "กดไลค์ กดแชร์" ถูกใช้เป็นเครื่องมือ งานนี้มีสิทธิผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว เป็นคำยืนยันจาก พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.)

และว่า การกดไลค์เป็นการสนับสนุนข้อมูล บางครั้งก็เป็นข้อมูลที่ผิดและทำให้เกิดความเสียหาย ถ้ากดไลค์มากๆ จะเป็นการทำให้ข้อมูลนั้นมีความน่าเชื่อถือขึ้น ดังนั้นก่อนจะกดไลค์ควรจะใช้วิจารณญาณว่าสิ่งที่อ่านถูกต้องแค่ไหน มิเช่นนั้นจะเป็นการสนับสนุนผู้กระทำความผิด และอาจจะรับโทษ 2 ใน 3, หรือ 1 ใน 3 ตามกฎหมายกำหนดหากมีการฟ้องร้องดำเนินคดี แต่การกดแชร์ การพิมพ์ข้อความเพิ่มเติมจะมีความชัดเจนกว่าการไลค์ จะมีโทษทางกฎหมายมากกว่าด้วย

สำหรับผู้จะพิมพ์ข้อความอะไรก็ตามลงบน โลกออนไลน์ตั้งใจอ่านข้อความต่อไปนี้ให้ดีพล.ต.ต.พิสิษฐ์กล่าวเตือนว่าการ วิพากษ์วิจารณ์ใดก็ตามที่ทำให้เกิดความเสียหายในลักษณะการหมิ่นประมาท โดยเฉพาะการนำเรื่องไม่จริงมาใส่ความทำให้เสียหาย มีความผิดทางกฎหมายอาญาสามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้ หากพิสูจน์แล้วว่ามีความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนกรณีการตั้งเพจจะต้องดูที่วัตถุประสงค์ ว่าตั้งเพื่ออะไร มีเจตนาอย่างไร จะต้องมีการสอบอย่างละเอียด

"ปัจจุบันมีการฟ้องร้องดำเนินคดีเกี่ยว กับการหมิ่นประมาทในโลกออนไลน์เยอะมากและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต เพราะเป็นช่องทางที่แสดงความเห็นหรือทำผิดง่ายที่ไหนก็ได้ สามารถอำพรางตัวได้ หากมีการฟ้องร้องตามหลักการสามารถตามได้ แต่ความสลับซับซ้อนยากง่ายแล้วแต่กรณี" พล.ต.ต.พิสิษฐ์ทิ้งท้าย

บทบาทในโซเชียลมีเดียมีผลกระทบมากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะทำอะไรต้องคิดให้ดีเพราะ "การโพสต์ การไลค์" ไม่อยู่ในกรอบพื้นที่ส่วนตัวอีกต่อไป

ทุกภาพทุกข้อความที่นำไปลงในสื่อสาธารณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินสตาแกรม ทวิตเตอร์ หรือเฟซบุ๊ก ทุกสื่อที่ใครก็สามารถดูได้ ควรจะดูเรื่องความเหมาะสมก่อน อย่างภาพทุกภาพที่เผยแพร่ออกไปก็แสดงถึงความเป็นตัวเราที่อยากจะให้คนอื่นมองเราแบบไหน ถ้าลงรูปแรงหรือวางตัวไม่ดี เขาจะมองเราเป็นแบบนั้น อีกทั้งคนที่เข้ามาดูรูปเราไม่ได้มีแค่วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ แต่ยังมีเด็กที่อาจจะนำไปปฏิบัติตามได้

"เรื่องเพจแอนตี้ ส่วนตัวมองว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งความจริงแล้วคนเราไม่มีใครทำถูกหมด ไม่มีใครที่มีคนชอบทั้งหมด ต้องมีกลุ่มหนึ่งที่อาจจะไม่ชอบ ไม่ถูกใจ การที่เขาตั้งเพจหากมีจุดประสงค์เพื่อต้องการสื่อให้คนคนนั้นปรับตัวให้ดีขึ้น เป็นเรื่องที่ดี เหมือนเป็นการช่วยเตือนสติ เราที่ควรจะรับฟังบ้าง"


ที่มา นสพ.มติชน

โดย อรพรรณ จันทรวงศ์ไพศาล

ขอบคุณที่มาเพิ่มเติมของภาพประกอบ: เพจ แอนตี้

อัลบั้มภาพ 60 ภาพ

อัลบั้มภาพ 60 ภาพ ของ มหกรรม "แอนตี้ ไอดอล" "ไลค์" & "แชร์" ในโลกออนไลน์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook