ชัชชาติฟีเวอร์! กว่าจะมาเป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี”

ชัชชาติฟีเวอร์! กว่าจะมาเป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี”

ชัชชาติฟีเวอร์! กว่าจะมาเป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชัชชาติฟีเวอร์! กว่าจะมาเป็น "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี"

เมื่อช่วงปลายปีที่แล้วได้เกิดกระแส “ภาพตัดต่อ” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” แพร่กระจายไปทั่วสังคมออนไลน์บ้านเรา  และดูเหมือนกระแส “ชัชชาติฟีเวอร์” จะยังไม่จบง่ายๆเพียงเท่านี้  เพราะล่าสุดก็มีคนเอาท่าน “ชัชชาติ” ไปทำเป็นเกมเสียด้วยซ้ำ  หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าทำไมท่านรัฐมนตรีถึงกลายเป็นกระแส viral ทางอินเตอร์เน็ทขึ้นมาได้  เรามาตามย้อนดูและวิเคราะห์ “ชัชชาติฟีเวอร์” ไปด้วยกันดีกว่าค่ะ

[หนึ่งในภาพตัดต่อของคุณชัชชาติที่ชาวเน็ทตัดต่อขึ้นมาและถูกส่งต่ออย่างกว้างขวางบนโลก social]

คำเตือน : บทความนี้มีจุดประสงค์เพียงแค่การแสดงมุมมองส่วนบุคคลเกี่ยวกับการนำ Social Network มาใช้ให้เกิดประโยชน์ของคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์  เท่านั้น 

ขอย้อนความกันก่อนสักเล็กน้อยเผื่อว่าในวินาทีนี้ใครยังไม่รู้จัก “ชัชชาติ สิทธิพันธ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่ถูกรับเชิญขึ้นมานั่งเก้าอี้ตำแหน่งรัฐมนตรี โดยที่แทบจะไม่มีพื้นฐานเล่นการเมืองมาก่อนเลย (อดีตเป็นผู้ช่วยอธิการบดีและอาจารย์ในจุฬาฯ)  ทำให้ในระยะแรกๆนั้นแทบจะไม่มีใครรู้จักนาย ชัชชาติ สิทธิพันธ์ เลย  …แล้วกระแสชัชชาติฟีเวอร์เริ่มขึ้นได้ยังไงกันนะ?

 

[คุณชัชชาติ ขณะทดลองนั่งรถเมล์]

จุดเริ่มต้นทั้งหมดทั้งมวลที่ทำให้ รมว. ชัชชาติเริ่มเป็นที่รู้จักก็เพราะคุณชัชชาติได้ลองขึ้นรถโดยสารต่างๆด้วยตัว เองเพื่อศึกษาปัญหาการคมนาคมของบ้านเรา  พอเริ่มมีคนจำได้ว่าเป็นคุณชัชชาติก็ได้มีนักข่าวและคนทั่วไปถ่ายรูปไว้และ นำไปเผยแพร่ขึ้นบนสื่อสิงพิมพ์และอินเตอร์เน็ท  ด้วยเวลาไม่นานชื่อของ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ก็เริ่มเป็นที่รู้จัก

 คาดว่าคุณชัชชาติคงเริ่มเล็งเห็นว่ากระแสตอบรับของตัวเองบนโลกอินเตอร์ เน็ทค่อนข้างดี  จึงไม่รอช้าที่จะตั้งแฟนเพจของตัวเองในนาม “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ขึ้น  ซึ่งภายในเวลาเพียง 7-8 เดือนหลังจากเปิดแฟนเพจขึ้นมาก็มีคนกด like แฟนเพจคุณชัชชาติกว่า 4 แสน 7 หมื่นคน

หากใครได้ตามแฟนเพจของคุณชัชชาติมาโดยตลอด  คงจะพบว่าคุณชัชชาติเป็นนักการเมืองที่ฉลาดในการนำ Social Network มาใช้สร้างแบรนด์ตัวเองไม่น้อย  ในขณะที่แฟนเพจของนักการเมืองบางคนอาจจะเต็มไปด้วยการโจมตีฝ่ายตรงกันข้าม  หรือ status กล่าวทักทายพูดคุยสารทุกข์สุขดิบทั่วไป  แฟนเพจของคุณชัชชาติกลับเน้นไปที่การบอกเล่าว่าท่านกำลังทำงานที่ไหน  ไปตรวจอะไร  ใช้การโพสท์รูปภาพประกอบไปด้วยทุกครั้งทำให้สามารถดึงดูดความสนใจผู้คนได้ดี กว่า status ที่มีแต่ตัวหนังสือ  มีการอัพเดทสม่ำเสมอเกือบทุกวัน  ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป

 

[คุณชัชชาติโพสท์รูปของตัวเองที่ถูกคนเอาไปตัดต่อลงแฟนเพจ เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย]

 

นอกเหนือจากกลยุทธ์ดังกล่าวในแฟนเพจของคุณชัชชาติ  มีอีกอย่างหนึ่งที่แฟนเพจคุณชัชชาตินั้นดูแตกต่างจากแฟนเพจทั่วๆไป  คือไม่ได้เน้นแค่เรื่องการทำงานในฐานะรัฐมนตรีอย่างเดียว  แต่ยังมีแง่มุมต่างๆที่คุณชัชชาติหยิบยกมาเล่าเกี่ยวกับสิ่งที่พบเจอในชีวิต ประจำวัน  บางครั้งก็มีการแทรกมุกตลกๆ เช่น  เอารูปตัวเองที่ถูกตัดต่อมาโพส  และภาษาที่ใช้ในการโพสท์ที่เหมือนกับการเล่าเรื่องให้ฟังด้วยตัวเองจริงๆ (ไม่เหมือนการจ้างแอดมินมาโพสท์ให้) นั้นก็ทำให้แฟนๆรู้สึกได้ถึงความ “ติดดินและเข้าถึงได้”

 ทั้งหลายทั้งมวลเหล่านี้ทำให้ชาวเน็ทจำนวนไม่น้อยชื่นชอบในตัวคุณชัช ชาติ  และเกิดแฟนเพจ “ชัชชาติ สิทธิพันธ์ Fanclub” หรือการนำรูปของคุณชัชชาติตอนเดินเท้าเปล่าใส่บาตรที่จ.สุรินทร์ไปตัดต่อล้อ เลียนมากมาย  จนลุกลามไปถึงการนำไปสร้างเป็นเกมพัซเซิลอย่าง “ชัชชาติครัช”

อาจมีบางคนมองว่าการนำภาพไปตัดต่อล้อเลียนเป็นเรื่องไม่สมควร  แต่ส่วนตัวสมิตมองว่าเป็นเรื่องขำๆสนุกๆมากกว่า  และมันเป็นสิ่งที่แสดงถึงกระแสความนิยมชมชอบในตัวคุณชัชชาติด้วย  จากคนที่ไม่เคยรู้จักรัฐมนตรีคนนี้มาก่อนก็ทำให้ได้รู้จักกันในคราวนี้  เพราะภาพตัดต่อมากมายที่ถูกส่งต่อกันไปบนโลกอินเตอร์เน็ท  ถือเป็นเรื่องที่ดีในแง่การตลาดมากกว่าจะเป็นความเสียหายเสียด้วยซ้ำ

หากมองว่า “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” เป็นเสมือนแบรนด์ๆหนึ่ง นี่นับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในการใช้แฟนเพจให้เกิดประโยชน์ในการสร้างแบ รนด์  แฟนเพจที่ดีไม่ใช่เพียงแค่เน้นการขายของ  แต่ควรจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับแฟนเพจในระยะยาว  และให้ความรู้สึกถึงตัวตนของแบรนด์นั้นๆ ทำให้เกิดความผูกพัน ไม่ใช่เป็นเพียงตัวหนังสือที่ใครก็ไม่รู้เป็นคนโพสท์ขึ้นมา

สนับสนุนเนื้อหา: Arip

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook