วิธีการตรวจสอบ เรื่องจริงหรือหลอกบน Social Network ก่อนเชื่อหรือแชร์
วิธีการตรวจสอบ เรื่องจริงหรือหลอกบน Social Network ก่อนเชื่อหรือแชร์
สนับสนุนเนื้อหา: www.it24hrs.com
ในยุคนี้การมี Social Network ทำให้การรับรู้ข่าวสารและส่งต่อข่าวรวดเร็วอย่างมาก แต่ความรวดเร็วนี้ อาจทำให้มีข้อมูลหรือข่าวมากมายที่ถูกส่งต่อเพียงแค่กดแชร์โดยไม่ได้รับการ ตรวจสอบ หลายคนเมื่อได้รับข่าว รูปภาพหรือข้อมูลเรื่องใดๆมา ก็เชื่อและกดแชร์ในทันที โดยไม่ได้ตรวจสอบก่อนว่าข่าวดังกล่าวนั้นจริงหรือไม่
ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คุณกำลังกลายเป็นผู้ร่วมเผยแพร่ข่าวลวงโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นก่อนจะเชื่อข่าวๆต่างๆที่ได้รับ ลองมาดูวิธีเบื้องต้น ในการตรวจสอบทั้งรูปภาพและข้อความที่ได้รับมาทาง Social network ว่ามีน้ำหนักพอจะเชื่อถือได้หรือไม่ ก่อนที่จะเชื่อและแชร์ส่งต่อไปการ ตรวจสอบนั้นไม่ยากเลย เพียงแค่เราใช้เข้าไปใช้บริการของ Search Engine อย่าง Google เพื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา โดยสามารถตรวจสอบได้ทั้งรูปภาพ และข้อควาทที่ได้รับ
วิธีการตรวจสอบรูปภาพ
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ images.google.com
2. คลิกที่สัญลักษณ์รูปกล้อง
3. เลือกวาง URl ของรูปภาพหรืออัพโหลดรูปภาพที่ต้องการตรวจสอบ
4. จากนี้ก็จะปรากฏเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีก็ข้อมูลจากเว็บต่างๆให้ตรวจสอบได้ว่า รูปภาพนี้มีที่มาอย่างไร มาจากเว็บไหน ที่สำคัญคือช่วงเวลาใด มีการนำมาเล่าใหม่และตัดต่อใดๆหรือไม่
วิธีการตรวจสอบข้อความที่ได้รับมา
1. เข้าเว็บ www.google.com
2. นำ Keyword ของข้อความที่ได้รับหรือทั้งประโยคของข้อความที่ได้รับมาค้นหา
3. ก็จะปรากฏเว็บไซต์เกี่ยวกับข้อความนั้นๆให้เลือกอ่าน ซึ่งสามารถตรวจสอบที่มาหรือแหล่งอ้างอิงต่อไป และหากข้อมูลดังกล่าวมาจากเว็บไซต์หรือแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ ก็พอจะสามารถเชื่อได้ว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริง
นี่เป็นเพียงแค่วิธีการตรวจสอบข่าวต่างๆเบื้องต้นเท่านั้น ที่สำคัญคือการใช้วิจารณญาณของคุณในการรับข่าวสาร อย่าเพิ่งเชื่อข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือในทันที เพราะนั้นอาจเป็นข่าวลวง ต้องตรวจสอบก่อนจะเชื่อเสมอ