ความเชื่อผิดๆ จอ Gorilla Glass แล้วไม่จำเป็นต้องติดฟิล์ม

ความเชื่อผิดๆ จอ Gorilla Glass แล้วไม่จำเป็นต้องติดฟิล์ม

ความเชื่อผิดๆ จอ Gorilla Glass แล้วไม่จำเป็นต้องติดฟิล์ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความเชื่อผิดๆ ที่ใช้สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตจอ Gorilla Glass แล้วไม่จำเป็นต้องติดฟิล์ม

เชื่อได้เลยละครับว่าสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตสุดรักสุดหวงของเพื่อนๆ แต่ละคนก็ต่างมีราคาสูงๆทั้งนั้น ซึ่งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตราคาสูง(หรือไม่สูงหลายๆรุ่น) ก็มาพร้อมกระจกที่ครอบจอแสดงผลที่เค้าเคลมมาว่ากันรอยได้ และสุดทนทานอย่าง Gorilla Glass จึงทำให้หลายๆคนมั่นใจมากจนเลือกที่จะไม่ติดฟิลม์กันรอย

แต่ก็ต้องพบกับรอยขนแมวหรือรอยขีดข่วนที่เกิดขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัวซะอย่างงั้น แล้วรอยเหล่านั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไรบ้างละ? วันนี้ Notebookspec มีคำตอบครับ


Gorilla Glass แล้วไม่จำเป็นต้องติดฟิล์ม?

เพื่อนหลายๆท่านคงเคยผ่านตาหรือทดลองด้วยตัวเองกันมาบ้างแล้วว่า กระจกหน้าจอเป็น Gorilla Glass ที่ไม่ใส่ฟิลม์กันรอยเลย แล้วนำคัตเตอร์ หรือมีดสุดคมรวมไปถึงกุญแจรถต่างๆมาขูดขีดบนหน้าจอสมาร์ทโฟน Gorilla Glass ผลที่ออกมาคือเจ้าหน้าจอไม่เป็นอะไรเลย แต่สิ่งที่เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเคยเจอก็คือเมื่อเผลอทำสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตตกลงไปในกองดินกองทรายแล้วก็หยิบขึ้นมาปัดฝุ่นด้วยผ้าหรือชายเสื้อก็ตามแต่ ผลที่ออกมาคือหน้าจอรอยขนแมวเพี๊ยบ!!!

แล้วมันเพราะอะไรกันละถึงทำให้ Gorilla Glass ที่แข็งแกร่งดั่งชัชช่าเป็นรอยไปได้??? นั่นก็เพราะเจ้ากระจก Gorilla Glass นั้นมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ประมาณ 6.8 ตามสเกลของโมห์ ดังนั้นถ้ามีอะไรที่มีระดับความแข็งแกร่งมากกว่า 6.8 ขึ้นไปมาขูดขีดนั้นก็เกิดรอยได้นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นแร่ควอตซ์ , โทปาส , รันดัม หรือเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแร่ควอตซ์ ที่เป็นแร่ที่พบมากที่สุดในโลกเป็นอันดับที่สองรองจาก เฟลด์สปาร์ ที่มีความแข็งอยู่ในระดับ 7 ซึ่งแข็งกว่า Gorilla Glass ที่แน่นอนว่าเจ้าควอตซ์ก็พบได้ในฝุ่นละอองที่มีอยู่ในอากาศ และอยู่ในทรายทำให้หน้าจอ Gorilla Glass เป็นรอยได้นั่นเอง ละครับ

Gorilla Glass ตกแล้วจอแตก?

ส่วนในเรื่องของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ตกจากที่สูงหรือโดนของแข็งกระแทกแรงๆแล้วกระจกหน้าจอแตก หรือเป็นรอย นั้นก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะขนาดหน้าปัดนาฬิกาที่เป็น Sapphire สังเคราะห์ (ความแข็งอยู่ที่ ระดับ 9 ตามสเกลของโมห์) โดนกดหรือโดนกรีดก็ยังเป็นรอยได้ ส่วนเพชรตกยังแตกได้เช่นกัน ซึ่งอธิบายได้ดังนี้คือ Gorilla Glass กันรอยขีดข่วนได้ก็จริง แต่มันไม่ได้กันแรงกดกระแทก หรือให้เข้าใจง่ายๆคือ แข็งแต่ไม่เหนียว นั่นเอง

อย่างไรก็ดีตัวกระจก Gorilla Glass ทั้งเวอร์ชั่นที่ 1 , 2 หรือ 3 นั้นก็มีความแตกต่างกันอยู่พอสมควรทีเดียวละครับซึ่งแน่นอนว่า Gorilla Glass 3 ก็จะมีความแข็งแรงมากที่สุดในตระกูลกระจกชนิดนี้ ณ ในช่วงเวลาปัจจุบัน เรียกได้ว่าพัฒนาแตกต่างไปถึงระดับโมดลกุลเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ดีถึงแม้จะมีความแข็งแรงแค่ไหนก็ยังพอจะมีจุดอ่อนอยู่เช่นกันละครับ

filmfocus

ดังนั้นผู้เขียนขอแนะนำเลยครับถ้าเพื่อนๆใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่ใช้ Gorilla Glass หรือกระจกชนิดอื่นๆ ก็ควรที่จะติดฟิล์มกันรอยไว้ด้วยนะครับ เพราะเรื่องหน้าจอเป็นรอยนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะเมื่อเราเผลอครับผม ส่วนในเรื่องของรูปแบบฟิลม์กันรอยที่จะติดก็เลือกได้ตามลักษณะความชอบและความต้องการผู้ใช้ได้เลยนะครับไม่ว่าจะเป็น ฟิล์มใส ฟิล์มด้าน ฟิล์มกันกระแทก ฟิล์มกรองแสงสีผ้า ฟิล์มกันรอยนิ้วมือ หรือฟิล์มชนิดอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งอย่างไรก็ดีเลือกให้เหมาะสมกับตัวเองโดยที่ราคาไม่สูงเกินไปจะดีที่สุดนะครับผม สวัสดีครับ

ข้อมูลจาก : wikipedia , phonecruncher , Whatphone

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook