Facebook ปรับเงื่อนไข ไม่บังคับใช้ "ชื่อจริง" แต่ขอให้ใช้ "ชื่อเรียกในชีวิตจริง"
ข่าวใหญ่วันนี้คือ Facebook ปรับปรุงเอกสาร Community Standards หรือเงื่อนไขการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนบน Facebook โดยเนื้อหาส่วนใหญ่คงเดิม แต่ปรับวิธีการเขียนให้ชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น เพราะ Facebook จะใช้เอกสารนี้เป็นบรรทัดฐานสำหรับคนที่ทำผิดกฎการใช้งาน
เอกสารฉบับใหม่มีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขอเริ่มจากประเด็นที่คนไทยได้รับผลกระทบกันเยอะคือเรื่อง "ชื่อจริง" ก่อนครับ
เงื่อนไขเรื่องการตั้งชื่อบัญชี Profile ของ Facebook อยู่ในหมวด Using Your Authentic Identity โดยมีข้อความเต็มๆ ดังนี้
Using Your Authentic Identity: How Facebook's real name requirement creates a safer environment.
People connect on Facebook using their authentic identities. When people stand behind their opinions and actions with their authentic name and reputation, our community is more accountable. If we discover that you have multiple personal profiles, we may ask you to close the additional profiles. We also remove any profiles that impersonate other people.
If you want to create a presence on Facebook for your pet, organization, favorite movie, games character, or another purpose, please create a Page instead of a Facebook Profile. Pages can help you conduct business, reach out to fans, or promote a cause you care about.
ประเด็นสำคัญแยกเป็น
- ใช้ "ชื่อที่ใช้งานจริงๆ" (authentic name) เพื่อให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น (accountable)
- ถ้า Facebook พบว่ามีบัญชีส่วนตัวมากกว่าหนึ่งบัญชี จะขอให้ปิดจนเหลือบัญชีเดียว
- จะปิดบัญชีที่ปลอมเป็นบุคคลอื่น (impersonate)
- ถ้าอยากสร้างตัวตนของสัตว์เลี้ยงหรือตัวละครที่ชอบ ขอให้ทำเพจแทนการสร้างโพรไฟล์
ประเด็นเรื่อง "ชื่อ" นั้นตัวแทนของ Facebook อธิบายกับ Re/code ว่า authentic name คือชื่อที่เราใช้งานจริงๆ เป็นที่รู้จักกันทั่วไป แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อตามกฎหมายหรือเอกสารทางการ โดย Facebook บอกว่าต้องการให้ใช้ชื่อที่ใช้ในชีวิตจริง ไม่ใช่ชื่อตามเอกสาร
"We want people communicating using the name they actually use in real life"
ไม่รู้ว่าการปรับข้อความใน Community Standards ครั้งนี้จะมีผลให้ Facebook หยุดแบนหรือแจ้งเตือนคนที่ไม่ใช้ชื่อจริงหรือไม่นะครับ
ที่มา - Re/code, The Verge
ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
บทความโดย: mk