“Cloud Service” คลังข้อมูลนิรภัยในยุคดิจิตอล

“Cloud Service” คลังข้อมูลนิรภัยในยุคดิจิตอล

“Cloud Service” คลังข้อมูลนิรภัยในยุคดิจิตอล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

      ในยุคที่อินเทอร์เน็ตกลายเป็นช่องทางสำคัญในการสื่อสารและเป็นแพลตฟอร์มที่ทุกองค์กรต่างเลือกใช้ในการดำเนินธุรกิจทั้งออนไลน์และออฟไลน์ที่เพิ่มความได้เปรียบด้านความรวดเร็ว สะดวกและเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย และเมื่อมีการใช้ข้อมูลจำนวนมาก ความต้องการ "ที่เก็บ" ข้อมูลก็มากขึ้นเช่นกัน "คลังเก็บข้อมูลนิรภัย" สำหรับเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นที่ต้องการของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

      ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดการนำเอาเทคโนโลยี Cloud Service ที่ทำหน้าที่เสมือน "ที่เก็บข้อมูลนิรภัย" เข้ามาให้บริการแก่ผู้ใช้งานมากขึ้น เช่นในเมืองไทย ก็มีบริการที่เรียกว่า ibizCloud ของบริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมชั้นนำของเมืองไทย เป็นต้น

      ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น Cloud Service คือ ก้อนเมฆที่เราเป็นเจ้าของ สามารถนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆไปเก็บไว้บนก้อนเมฆของเรา นั่นคือเราสามารถบริการจัดเก็บและบริหารข้อมูลด้วยเทคโนโลยี Cloud Computing ซึ่งเป็นเสมือน หมู่เมฆแห่งคลังข้อมูลนั่นเอง บริการนี้มีจุดเด่น 5 ประการหลัก คือ

      1. ความสะดวกสบาย เจ้าก้อนเมฆนี้ จะเป็นเสมือนคลังข้อมูลนิรภัย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ พร้อมใช้งานในทุกโอกาส เพราะผู้ใช้งานไม่ต้องพก external hard disk ยูเอสบี แฟลชไดรฟ์ ให้หนักกระเป๋าอีกต่อไป เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่ต้องการความคล่องตัวหรือผู้ที่ต้องเดินทางบ่อยๆ เนื่องจากจะเก็บหรือนำข้อมูลมาใช้งานเมื่อไหร่ก็ได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆให้ยุ่งยาก

      2. รวดเร็ว ใช้งานง่าย สำหรับการจัดเก็บไฟล์ไว้กับเจ้าก้อนเมฆแห่งข้อมูลนี้ เราสามารถจัดการไฟล์ต่างๆได้แบบเดียวกับไฟล์ในคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานนำไฟล์ต่างๆที่ฝากไว้ไปใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องดาวน์โหลดเพียงแค่มีพาสเวิร์ด ซึ่งดีกว่าการฝากไฟล์แบบเดิม ที่ฝากได้เฉพาะไฟล์ที่พร้อมใช้งาน และหากต้องการนำไปใช้ ก็จะต้องดาวน์โหลดก่อน ทำให้เสียเวลาหรือพลาดโอกาสสำคัญทางธุรกิจได้

      3. เข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา นอกจากคุณไม่ต้องเสียเวลากับการดาวน์โหลดแล้ว คุณยังสามารถนำข้อมูลที่ฝากไว้มาใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศ เพียงแค่อยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต การทำงานของคุณก็จะง่ายขึ้น แถมยังใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ทุกระบบและทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือแม้คุณจะนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์บริการฟรีในโรงแรมระหว่างวันหยุดสุดสัปดาห์ก็ตาม

      4. วางใจได้ ในทุกสถานการณ์วิกฤต หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน จนทำให้ คุณไม่สามารถเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศได้ เช่น เหตุไฟไหม้ น้ำท่วม ไฟดับ หรือแม้แต่เกิดการจลาจล ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใด คุณก็สามารถดึงข้อมูลที่ฝากไว้กับ Cloud Service มาใช้ได้ทันทีเพียงเชื่อมต่ออุปกรณ์ด้วยสัญญาณอินเทอร์เน็ตหรือถ้ายิ่งเป็นบริการ ibizCloud จากบริษัทซิมโฟนี่ฯ ที่จับมือกับพาร์ทเนอร์มืออาชีพอย่าง ฮัทชิสัน โกลบอลฯ บริษัทด้านการสื่อสารระดับโลก มาร่วมกันจัดเก็บข้อมูลสำคัญของคุณ ยิ่งช่วยให้คุณวางใจในบริการนี้ได้อย่างมาก เพราะนอกจากจะมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลและพร้อมให้คำแนะนำ 24 ชั่วโมงแล้ว ยังมีศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายสำรอง DROC (Disaster Recovery Operation Center) ที่คอยสำรองข้อมูลปริมาณมหาศาลของผู้ใช้งานในกรณีที่เกิดภัยพิบัติร้ายแรงที่ไม่คาดคิดให้คุณอีกด้วย

      5. ลดต้นทุน ลดเรื่องบริหารจัดการ ระบบของ Cloud Service ใช้ต้นทุนในการดูแลไม่มากนัก เพราะภาระค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์จะอยู่กับผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้จัดการระบบทั้งหมดให้ ผู้ใช้งานจึงสามารถลดความยุ่งยากด้านการวางระบบเซิร์ฟเวอร์ ไม่ต้องซื้อลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ หรือ อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านไอทีไปได้ไม่น้อย นอกจากองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่แล้ว Cloud Service ยังเหมาะกับผู้ที่เริ่มลงทุนทำธุรกิจส่วนตัว ร้านค้าออนไลน์ หรือกลุ่มนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น ด้วยเช่นกัน เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนของการเก็บข้อมูลไปได้มาก

      แต่การใช้บริการ Cloud Service ก็มีข้อที่ควรรู้สักนิดก่อนที่จะตัดสินเลือกใช้งาน เช่น ผู้สนใจควรศึกษารายละเอียดวิธีการใช้งาน แพ็คเกจ รวมถึงความน่าเชื่อถือของให้ผู้บริการให้ดีเสียก่อน เพราะถ้าหากมีการหยุดหรือยกเลิกบริการกลางคัน ย่อมส่งผลกระทบต่อข้อมูลของคุณแน่นอน

อีกข้อที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ ข้อมูลที่คุณฝากไว้ ไม่ควรเป็นข้อมูลส่วนตัว หรือเป็นความลับมากๆ เพราะหากมีผู้นำพาสเวิร์ดของคุณ ไม่ว่าจะได้มาโดยวิธีใด ก็จะสามารถเข้าไปล้วงข้อมูลสำคัญของคุณก็เป็นได้ ที่สำคัญคือ ควรเปลี่ยนพาสเวิร์ดเรื่อยๆ และเก็บไว้เป็นอย่างดี จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลรั่วให้ปวดหัวทีหลัง เทคโนโลยีนับเป็นสิ่งที่น่าใช้และควรศึกษา ดังนั้นเพียงทำความเข้าใจในเครื่องมือที่มีอยู่เหล่านี้ให้ถี่ถ้วน เราก็จะใช้มันสร้างสรรค์ประโยชน์มากมาย ทั้งในวันนี้และในอนาคต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook