มองย้อนสิ่งที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียในไทยปี 2558

มองย้อนสิ่งที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียในไทยปี 2558

มองย้อนสิ่งที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียในไทยปี 2558
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

       กำลังจะผ่านพ้นปี 2558 แล้ว เพื่อเป็นการส่งท้ายปี เลยขอมองย้อนกลับไปดูว่าในปีนี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในโลกของโซเชียลมีเดียใน ประเทศไทยจากมุมมองของผมเอง

แกนหลักเหลือเพียง 3 Facebook YouTube และ Instagram

       มองกลับไปสมัยก่อนหลายๆ แบรนด์อยากจะได้ทุกช่องทางสำหรับการสื่อสารให้กับคนที่ต้องการจะติดต่อ แต่พอมาปีนี้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนว่า คนกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่ที่ ถามว่า Twitter หายไปไหน ก็ยังคงอยู่ แต่บทบาทในแง่ของการนำเสนอแบรนด์น้อยลงไปมากเมื่อเทียบกันกับ 3 ช่องทางที่บอกไป

ข้อมูล Insight ถูกนำมาคิดพิจารณามากขึ้น

       จากเดิมที่เราเห็นแบรนด์พยายามกวาดคนให้มาเป็นของเขาให้ได้มากที่สุด โดยไม่สนใจว่าคนกลุ่มนั้นจะเป็นใคร ในปีนี้เราเห็นว่าแบรนด์เริ่มเลือกมากขึ้น จำนวน like อาจไม่ใช่เป้าหมาย (แต่บางแบรนด์ก็ยังมั่นใจว่า like เยอะยิ่งเท่) แต่การสื่อสารกับกลุ่มที่เป็นเป้าหมายจริงๆ เป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการหว่านไปทั่ว ซึ่งการที่จะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายให้โดนใจนั้นก็ต้องอาศัยการดูข้อมูล เชิงลึกและมีการวิเคราะห์มากขึ้นก่อนที่จะออกมาเป็นสารให้สื่อไปยังช่องทาง ที่เหมาะสมกับที่ตัวเองมีอยู่

ฝากร้านสู่การเริ่มต้นของ Social Commerce

       “ฝากร้าน” คำนี้เซเลปคงคุ้นชินกับการฝากร้านไม่ว่าจะอยู่บนช่องทางไหนก็สามารถฝากได้ ซึ่งเราเห็นบน Instagram เสียเป็นส่วนมาก แต่พอในปีที่ผ่านมา เราเห็นการทำการขายของที่ไม่ใช่แค่การแปะของแล้วคุยเพื่อ cf สินค้า แต่มีบริการที่เข้ามามีส่วนช่วยในการปิดการขายได้เร็วขึ้น ไม่อยากให้คน drop-off ออกจากหน้า Facebook หรือช่องทางโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้าน, payment ที่ฝังอยู่บนหน้าโซเชียลเลย สิ่งนี้เริ่มมีขี้นมาแล้วในปีนี้ และปีหน้าเชื่อว่าจะเห็นชัดเจนมากกว่าเดิมและมีคนใช้บริการด้านนี้มากกว่า เดิมด้วยเช่นกัน

แต่ฝากร้านก็ยังคงอยู่เช่นเดิมต่อไป…

Real-Time ที่ไม่สุ่มสี่สุ่มห้า และต้องเร็วกว่าเดิม

       ปีก่อนกระแสการสร้าง Real-Time คือกระแสที่คนอยากจะทำอยากจะมีเป็นของตัวเองมาก ปีนี้เท่าที่สังเกตุก็ยังคงมี แต่ปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัด และก็ด้วยปริมาณที่น้อยลงกลับมองเห็นคุณภาพในการนำเสนอที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม นั่นคือกว่าจะออกมาได้ย่อมมีการคิดแล้วคิดอีก เพื่อไม่ให้ Content ออกไปไม่มีคุณภาพ

Advertisement

       คนที่ทำในนามแบรนด์มีน้อยลง แต่เพจที่เป็นเพื่อความบันเทิงกลับทำเรื่องนี้ได้ดีและต่อเนื่อง ด้วยความที่ไม่ต้องรักษาแบรนด์ แต่ตัวเองก็สามารถแปลงร่างให้กลายเป็นแบรนด์ เป็น Content Creator ได้ง่าย ปีนี้มีผู้เล่นหน้าใหม่เยอะขึ้นกว่าเดิมที่ลงมาแย่งตลาด เพราะความต้องการก็มีเยอะขึ้นมาก

       นอกจากนี้ก็เริ่มมีบริการในเชิงที่เป็นมากกว่า Real-Time โผล่ขึ้นมาให้ใช้มากขึ้น สิ่งที่บอกก็คือ In The Moment สิ่งที่ต้องการเดี๋ยวนั้น เช่น Facebook เองมีบริการ Facebook Mentions ถ่ายทอดสดให้กับเหล่าเซเลปได้ใช้ และกำลังจะเปิดให้คนทั่วไปได้ใช้งานในเร็ววันนี้ สิ่งเหล่านี้น่าสนใจว่า คนเริ่มไม่อยากจะได้แบบ Real-Time แต่อยากรู้ไปพร้อมๆ กันกับเราด้วย

Video

       ปีก่อนหน้า การนำเสนอข้อมูลแบบ Infographic ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ในปีนี้ Infographic มีปริมาณที่ลดลงไปเล็กน้อย โดยสิ่งที่เข้ามาแทนที่ก็คงหนีไม่พ้นวิดีโอ

       ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ว่าปีนี้จะเป็นปีแห่งการสร้างเนื้อหาแบบวิดีโอ เพราะทุกคนอยากมีเนื้อหาของตัวเองในรูปแบบนี้ จริงๆ แล้วความต้องการนี้มีมานานแล้ว แต่ด้วยงบประมาณและ mindset ในเวลานั้นยังไม่ให้ความสำคัญกับด้านนี้ พอมาปีนี้ ปีที่ถูกกระตุ้นด้วย Facebook ที่หันมาสู้กับ YouTube เรื่องวิดีโออย่างเต็มตัวด้วยการเพิ่มความสำคัญ จุดนี้คือจุดสำคัญที่ทำให้คนตื่นตัวอย่างรุนแรงในการทำวิดีโอเพื่อมานำเสนอ เพราะเมื่อทำขึ้นมาและอยู่กับช่องทางของ Facebook ก็ทำให้คนเห็นมากกว่าเดิม

       ความยาววิดีโอที่นำเสนอ ถ้าไม่สั้นแบบ 15 วิ ก็ยาวเลย ซึ่งก็ต้องมองย้อนกลับไปตั้งแต่ Content ว่ามีอะไรให้เล่า แล้วเล่าไปในทิศทางไหนให้คนติดตาม เพราะการจะรั้งคนให้อยู่กับวิดีโอของเราอยู่ที่ Content ของเราด้วย

       ปีหน้าหากตามที่เข้าใจ มันก็ยังเป็นช่วงรอยต่อของสิ่งที่เกิดขึ้นในปีนี้ ด้วยการที่อะไรหลายๆ อย่างปูทางให้เกิดขึ้นแบบแรงๆ ในปีหน้า เราจะเห็นการเข้าถึงกลุ่มคนที่ชัดเจนขึ้น การนำเสนอที่จะมีความตื่นเต้นมากขึ้น ผ่านช่องทางหลักที่คนอยู่เพื่อให้เกิดการ Share ได้ง่ายที่มีตัวเลือกอยู่ไม่กี่ที่ และก็ต้องกันเงินเรื่องโฆษณาเอาไว้ด้วย เพราะโฆษณาคือสิ่งที่จำเป็นในการดำรงอยู่บนโลกโซเชียล

แล้วมารอดูปี 2559 ว่าจะมีอะไรน่าตื่นเต้นในด้านโซเชียลกันครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้