Facebook live และ YouTube คือจุดจบการถ่ายทอดสดทีวีและงานบรรณาธิการข่าว
บทความโดย มารพิณ
Facebook live และ YouTube คือจุดจบการถ่ายทอดสดทีวีและงานบรรณาธิการข่าว สื่อทีวีเคยคิดว่าตัวเองปลอดภัยมากที่สุดในยุคของการเปลี่ยนแปลงสื่อ เคยมองว่าสิ่งพิมพ์จะล่มสลายไปก่อน ซึ่งด้านหนึ่งก็จริงด้านหนึ่งก็ไม่ใช่
ที่มา: newsroom.fb.com
แต่มาวันนี้ youtube ถ่ายทอดสดได้แล้ว facebook ถ่ายทอดสดได้แล้ว. การถ่ายทอดสดเป็นเรื่องธรรมดา อุปกรณ์ใช้ basic แค่ สมาร์ทโฟนที่ถืออยู่ในมือ ไม่ใช่กล้อง tv professional ราคาเป็นล้าน อีกต่อไป ทุกคน ไม่ใช่แค่เป็นสื่อแต่เป็นทีวี ไปด้วย การถ่ายทอดสดไม่ใช่เรื่องใหญ่ไม่ต้องขอบคุณการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือการโทรศัพท์ เวลาถ่ายทอด แบบที่เราเคยได้ยินตามทีวีสมัยก่อน
แต่นี่เป็นแค่จุดเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น
คำถามก็คือ.....ถ้าทุกคนถ่ายทอดสดได้ตามอำเภอใจ เร็วกว่าและต่อไป การผูกขาด คอนเทนท์ที่มีเฉพาะช่วงเวลานี้ หรือช่องนั้น ต่อไปจะมีความหมายอะไร
ตัวอย่างในงานแถลงข่าวดารา ที่ผมเคยไปทำข่าวมา ทุกงานจะมีช่องทีวี มาถ่าย วีดีโอ มีนักข่าว สิ่งพิมพ์มาเก็บเรื่องถ่ายภาพ มีติ่งดารา มาตามให้กำลังใจแล้วถ่ายภาพดารา เก็บไว้ชื่นชมตอนนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป ทีวียังถ่ายภาพเอาไปออกอากาศ แต่สิ่งพิมพ์หลายเจ้าก็ถ่ายคลิปด้วย. เว็บพอร์ทัลกับเว็บบันเทิงหลายเจ้าก็มาเก็บคลิป. Blogger ก็ถ่ายคลิปไปลงยูทูป ติ่งดารา และแฟนคลับก็ถ่ายทั้งรูปทั้งคลิป
ในยุคที่มีทั้ง youtube และ facebook live ทีวีที่เคยผูกขาด content ด้วยอุปกรณ์ราคาแพงและช่องทางการแพร่ภาพ กำลังเจอจุดเปลี่ยนที่ชี้ชะตา ถึงขั้นเป็นตาย
ตอนนี้งานใหญ่อย่างล่าสุด น้องเมย์รัชนก ผู้ชนะเกมแบดมินตันซูเปอร์ซีรีส์ 3 รายการ สอนภายใน 3 อาทิตย์ กลับมาเมืองไทยก็มี หลายค่ายถ่ายทอดสดผ่าน facebook live และมีถ่ายคลิปเอาไปลงยูทูปอีกนับไม่ถ้วน
ต่อไปทุกคน ไม่ว่าจะเป็น blogger เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ หรือแม้แต่เป็นติ่งแฟนคลับดารา ก็สามารถชูมือถือในมือแล้วถ่ายทอดสด ได้ในมุมมองที่ตัวเองอยากนำเสนอ
อนาคตแบบนี้จะเกิดอะไรขึ้น. สังคมการสื่อสารมาถึงจุดที่ไม่มีวันหวนกลับคืนไปอีกแล้วในเมื่อผูกขาดการนำเสนอ content ไม่ได้แม้กระทั่ง content สด ที่การถ่ายทอดสดคืนเป็นฟังก์ชันที่สุดยอดที่สุดของโทรทัศน์
ในสถานการณ์แบบนี้ มูลค่าของช่องสถานีทุกสิ่งทุกอย่างที่สั่งสมมายาวนานกำลังล่มสลายไปในชั่วข้ามคืน แต่ที่ซ่อนลึกแหลมแหลมคมก่วานั้นก็คือบทบาทของวิชาชีพในสื่อสารมวลชนที่กำลังจะเปลี่ยนโฉมใหม่
อาชีพแรกคือนักข่าว หรือโปรดิวเซอร์ข่าวภาคสนามไม่มีเวลามาสรุปข่าว ไม่ต้องเขียนข่าว โดยไม่ต้องเลือกประเด็นอีกต่อไปแล้วเพราะว่าทุกอย่างถ่ายทอดการแถลงข่าวสด จากสนามจริง. สถานที่จริง
วิชาชีพที่สองคือตากล้อง หรือช่างภาพเดิมมีหน้าที่เก็บภาพ ตีความความหมายของภาพสรุปภาพที่ดีที่สุด สื่อเรื่องราวที่ดีที่สุดเข้าใจเหตุการณ์มากที่สุด ตรงนี้ยังสับสนอยู่ผมไม่แน่ใจว่า ทำอะไรจะไปทางไหน แต่ตอนนี้จากกล้องหลายคน ใช้กล้อง DSLR ถ่าย ภาพวีดีโอมากกว่าภาพนิ่งไปแล้ว
อาชีพบรรณาธิการเดิมมีหน้าที่ตามสรุปประเด็นสร้างประเด็น เปลี่ยนประเด็นก่อนที่จะนำเสนอสู่สาธารณชน. ในสถานการณ์แบบนี้ภาพการถ่ายทอดสดถูกยิงออกมาสู่ สาธารณชน โดยที่ไม่มีการตัดต่อ กลั่นกรองเลือกสรรสรุปประเด็นหรือปรับประเด็นอะไรทั้งสิ้น
คำถาม ก็คือว่า บอกอข่าวยุคหน้าจะมีหน้าที่อะไร, บรรณาธิการจะมีบทบาทอะไร, สื่อมวลชนจะมีบทบาทอะไร
ช่องทีวีที่เคยยิ่งใหญ่กำลังจะหมดความหมาย ทุกคนสามารถเลือกมุมมองจากช่องที่ตัวเองต้องการได้ ถ้ามุมนี้ไม่ดีก็ไปดูจากช่องอื่น ที่ออนไลน์ โดยไม่จำเป็นต้องเป็น tv เสมอไปพอเสร็จจากงานแต่ละงานทุกวันนี้ ก็จะมีคลิปที่เกี่ยวข้องอัพโหลดขึ้นไปมากมาย ทั้งใน social media และ youtube ให้แง่มุมต่างๆมากมาย แล้วแต่ใครสนใจอยากจะดู
ผมเองก็มีประสบการณ์ทั้งสื่อหลักและสื่อนอกกระแส หลังจากที่มาเป็น วีดีโอ blogger มี channel ฟิลไทยใน youtube ที่ YouTube.com/Feelthai ทำคลิป ในแบบที่ทีวีหลักไม่ทำ channel ไม่ใหญ่นัก มีผู้ติดตามประมาณ 30000 กว่าราย ก็ได้เรียนรู้อะไรบางอย่างที่น่าสนใจ ก็คือคนที่ตามดู เขาสนใจในเรื่องที่เขาอยากดู หลายคนเล่าให้ฟังว่าเขาไม่ดูทีวีหลักอีกแล้ว
ต่อไปใครๆ ก็ ดูการแถลงข่าวงานใหญ่ได้โดยที่ไม่มีข้อจำกัดและสรุปเรื่องราวได้เองโดยไม่ต้องพึ่งบอกอหรือบรรณาธิการที่ไหน
ผมทำได้ คุณก็ทำได้ เราก็ทำได้ ต่อไป อบจ สามารถถ่ายทอดงานประเพณี ของจังหวัดได้โดยไม่ต้องรอ สื่อ หรือไปลุ้นสื่อทีวี ว่า บอกอข่าวภาคค่ำจะตัดต่องานประเพณียิ่งใหญ่ประจำปีของเขาเหลือในข่าวภาคค่ำ กี่สิบวินาที หรือไม่ได้ออกสื่อเลย
ทุกตำบลสามารถถ่ายทอดสดงานวัดตัวเอง โรงเรียนถ่ายทอดสดกิจกรรม อำนาจของการถ่ายทอดสด หลุดมือไปจาก สื่อโทรทัศน์แล้ว เมื่อสาธารณะชนเข้าถึงเหตุการณ์ และงานแถลงข่าว ได้โดยตรงทันทีในแบบ real time เขาจะต้องการ บรรณาธิการไปทำอะไร เขาจะเอาทีวีไปทำอะไร
เขาจะรอให้ บรรณาธิการสรุปข่าวให้ฟังหรือเลือกข่าวให้ฟัง ในตอนเช้า หรือตอนเย็น หรือ ในเมื่อเขาสามารถสรุปและเลือกเองได้ในแบบ real time ในทันที ในปัจจุบันนั้น ในเวลานั้น ในโมเมนต์นั้นในสถานการณ์นั้น ในช่วงเวลานั้นที่เขาเลือก
ในสถานการณ์ที่ทุกคน พร้อมจะถ่ายทอดสดได้ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่คุณภาพ หรือ เรื่องอะไรที่ควรหรือไม่ควรถ่ายทอดสด แทบเป็น การถ่ายทอดสดตามอำเภอใจ ทุกคนอยากถ่ายทอดในเรื่องที่เขาอยากจะถ่ายทอด เขาไม่แคร์หรอกว่า สื่อยุคเก่าจะคิดอย่างไร. มีคุณภาพหรือไม่มีคุณภาพ มีสาระหรือไม่มีสาระเพราะคำว่าสาระหรือ content ที่ดี เป็นเรื่องของจุดยืนและการตีความ
ฟันธงเลยว่า สื่อทีวีได้เสียฟังก์ชันการถ่ายทอดสดไปแล้ว อย่างไม่มีวันหวนคืน ผลจะกระทบต่อไป ในวงกว้างและต่อเนื่อง แบบชนิดที่ต้องจับตากันไม่กระพริบ แต่ผมฟันธงได้เลยว่าอาชีพบรรณาธิการข่าว จะต้องเปลี่ยนไป ่จะเปลี่ยนไปทางไหนนั้น คงต้องรอดู
และต้องรอดูว่าทีวี ที่เป็นกระแสหลักในปัจจุบัน จะปิดฉากลงยังไง บางช่องจะแปลงร่าง และกลายพันธุ์สำเร็จปรับตัวอยู่ได้ในยุคดิจิตอล แล้วจะมีอีกหลายช่อง ที่คงต้องปิดฉากลง
คอนเทนท์วิดีโอ ไม่ได้เป็นของทีวีอีกต่อไปแล้ว ! จบข่าว
บทความโดย มารพิณ
เรื่องนี้ที่บล็อก http://feelthai.blogspot.com/…/facebook-live-youtubecom.html