5 แนวโน้มอาชีพนิวมีเดีย ที่เด็กสื่อสาร+ไอทีต้องรู้

5 แนวโน้มอาชีพนิวมีเดีย ที่เด็กสื่อสาร+ไอทีต้องรู้

5 แนวโน้มอาชีพนิวมีเดีย ที่เด็กสื่อสาร+ไอทีต้องรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การง่อนแง่นของวงการสื่อบ้านเรา ตั้งแต่การดิ้นรนของเครือผู้จัดการ ความขัดแย้งในเครือเนชั่น การลดเงินของเครือมติชน การปิดตัวของหนังสือพิมพ์บ้านเมือง และนิตยสารอื่นๆ อีกหลายเล่ม รวมถึงผลพวงจากทีวีดิจิทัลที่ทำให้เจ้าพ่อเจ้าแม่สื่อ ต้องโดดไปหลบเลียแผล หรือยอมเฉือนเนื้อเพื่ออยู่รอดอย่างอมรินทร์ ยังมันยังไม่จบแค่นี้

ธุรกิจสื่อหลักดูเหมือนจะตกต่ำลงทุกวัน ขณะเดียวกันสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่พุ่งปรี๊ดในช่วงแรกก็ได้คู่แข่งรายใหม่ (ก็พวกที่ลาจากสื่อเก่านั่นแหละ) เติมเข้ามาในตลาดจนเกือบจะเต็ม ตอนนี้คงไม่อู้ฟู่ไปกว่าเดิมแน่นอน แล้วอย่างนี้ธุรกิจสื่อจะเป็นอย่างไรหละ

ยังไงอาชีพสื่อและการตลาดก็ยังเป็นอาชีพยอดฮิตของเด็กไทย อัตราการเรียนและการจบถือว่ามากโข เรียกว่าโอกาสที่จะได้ทำงานตามที่เรียนมาจริงยังยาก เพราะตอนนี้สื่อกระแสหลักมีแต่ลดไม่มีรับเพิ่ม สื่ออินเทอร์เน็ตก็ต้องการมืออาชีพที่เจ๋งและต้องบวกโชคเข้าไปด้วย

จากการคร่ำหวอดทั้งในสื่อกระแสหลัก สื่ออินเทอร์เน็ต และใกล้ชิดผู้คิดค้นนวัตกรรมในเมืองไทยมาอย่างยาวนาน ผมขอฟันธง 5 เรื่องในวงการสื่อดังต่อไปนี้

1. ตลาดสื่อขององค์กรจะเติบโต ฟังดูแล้วอาจจะงง คำอธิบายคือ เมื่อก่อนสื่อจะทำหน้าที่ตัวแทนพูดคุยกับผู้บริโภคแทนองค์กรเจ้าของสินค้าและบริการ แต่พอเกิดสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีแฟลตฟอร์มให้ใช้ฟรี และที่สำคัญแพลตฟอร์มเหล่านั้นทำให้องค์กรต่างๆ เข้าถึงและสื่อสารโดยตรงได้ง่ายและมีประสิทธิภาพอย่างมาก นั่นหมายถึง องค์กรก็เป็นสื่อมวลชนเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาใครอีกต่อไป

ดังนั้นงบประมาณค่าประชาสัมพันธ์หรือโฆษณาที่จะผ่านสื่อเดิมก็สมควรลดลงไป และหันมาทำสื่อของตัวเองมากขึ้น ทีนี้แหละปัญหาใหญ่ เพราะองค์กรพวกนี้ไม่ได้ถูกฝึกให้มาทำสื่อเป็นอาชีพ เรียกง่ายๆ ว่า มีปากกา มีกระดาษแล้ว จะเขียนยังไงดี นี่จึงเป็นตลาดใหม่ เป็นตลาดที่คนสื่อสารมวลชนทั้งจบไปแล้วและยังไม่จบควรจะเหลียวมามอง ผมไม่อาจขยายความมากไปกว่านี้ เชื่อว่าใครมีหัวธุรกิจแค่ชี้ช่องก็มองเห็นโพรงกันแล้ว

2. นวัตกรรมใหม่ทางด้านสื่อสารจะยังไม่หยุดยั้ง เมื่อหลายปีก่อนการอบรมเกี่ยวกับเขียนยังไงให้ขายของได้ในเว็บอีคอมเมิร์ชยอดฮิตนี่เข้ามาเรียกเงินจากบรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่กันเพียบ พอมีเฟสบุ๊คส์ อินสตราแกรม ฯลฯ โผล่เข้ามาก็มีทริปเทคนิคการสื่อสารเข้ามาให้เราได้ปวดหัวกันอีก บอกได้เลยว่าแม้ในช่วงปีที่ผ่านมาตัวดังๆ ที่สร้างผลกระทบจะเริ่มนิ่ง ไม่มีแพลตฟอร์มใหม่มาท้าทายตำแหน่ง แต่นวัตกรรมใหม่ๆ กำลังเข้ามาอีก แม้กระทั่งแชมป์เก่าก็เปลี่ยนตัวเองไปอย่างมาก

เท่าที่ผมติดตามดูเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Chat Bot และตัวอื่นๆ กำลังแปลงกายลงมาให้เราได้ใช้งานกันในปี 2017 อีกหลายตัว เชื่อว่าจะสร้างความปวดหัวให้กับสถาบันการศึกษาที่สอนทางด้านสื่อสารมวลชนอีกอักโขเลยทีเดียว สิ่งที่ผมบอกได้ตรงนี้ก็คือ อย่ายึดติดกับของเดิมที่คุ้นเคยเป็นอันขาด

3. ปีแห่งการใช้ Social Monitoring กำลังมา ขณะนี้ในไทยมีคนทำซอฟต์แวร์ทางด้านนี้อยู่สองราย รายหนึ่งเป็น Start Up ที่สามารถ exit หรือขายกิจการของตัวเองไปได้แล้ว ซึ่งหมายความว่ามันทั้งทำเงินและถูกมองว่าเป็นอนาคตใหม่ที่สดใส องค์กรในไทยและทั่วโลกจะใช้ Tool หรือเครื่องมือประเภทนี้มาตรวจจับการกล่าวถึงเรื่องราวขององค์กรตัวเองบนโลกออนไลน์มากขึ้น

ดังนั้น อย่าคิดว่าการโพสอะไรเล่นๆ บนโลกออนไลน์จะไม่มีใครรู้ใครเห็น ขณะเดียวกันเมื่อเรารู้ว่าจะมีคนรู้คนเห็นสิ่งที่เราเขียนแน่ๆ จะแปรผันมันอย่างไรให้เป็นช่องทางทำมาหากินของตัวเอง อันนี้ต้องตัวใครตัวมัน แต่เชื่อว่าถ้าคิดดีๆ และรีบทำ คุณจะได้ทั้งเงินและกล่องแน่นอน

อ้อลืมไป ปีหน้าคุณจะได้เห็น tool ประเภท social monitoring ประเภทนี้ออกมาสู่ตลาดแข่งขันกันมากขึ้น ความเก่งของมันจะมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันมันยังเป็นแค่ tool ที่เชื่อว่าองค์กรทั้งหลายยังทำได้แค่ตรวจสอบ แต่การวางแผนงานรองรับกระแสแต่ละด้านยังคงไม่เวิร์คเท่าไหร่

4. อาชีพใหม่ทางด้านการสื่อสารจะมีความต้องการสูงขึ้น เมื่อหลายปีก่อนเรามี animator เรามีสุดยอด Computer Graphic และอื่นๆ พอมาปีนี้เรามี นักอินโฟกราฟิก เรามี You-tube Creator  เรามี DJ digital radio และอาชีพที่เกิดจากสื่อใหม่จำนวนมาก อาชีพพวกนี้กำลังฟักตัว และเป็นอาชีพที่บางอย่างปรับเปลี่ยนจากโลกเก่ามาสู่โลกใหม่ บางอาชีพก็เป็นเรื่องใหม่ที่เราไม่เคยนึกถึงมาก่อน

ดังนั้นอย่าคิดพึ่งพาสถาบันการศึกษาให้ผลิตคนได้ตรงตามความต้องการของตลาด เพราะไม่มีทางทันแน่ แต่คุณควรจับ skill หรือความเชี่ยวชาญหลายๆ ด้านมารวมกัน และคิดค้นมันใหม่เพื่อใส่เข้าไปในช่องทางที่โลกดิจิตอลเปิดอยู่

อาชีพใหม่ทางด้านสื่อสารมวลชนที่อยากให้จับตา ก็อย่าง digital PR, Breaking Reporter, Professional Blogger และอีกหลายตัว ผมขอไม่อธิบายในที่นี้เพราะแต่ละตัวสามารถตีความได้หลากหลาย แล้วแต่มุมมองการสร้างอาชีพของแต่ละคน

5. Shot Film Creator ตลาดต้องการสูงมาก ปีสองปีนี้บอกเลยว่าแม้ตลาดหนังไทยจะดูวายลงเล็กน้อย ทีวีดิจิทัลที่ดูจะไม่รอดกัน หรือบอกได้ว่าตลาดสำหรับสายภาพเคลื่อนไหวที่เป็นกระแสหลักนั้นดูเหนื่อยเหลือเกิน แต่กระแสอินดี้นั้นไม่ตกเอาซะเลย แถมพุ่งปรี๊ดอย่างไม่น่าเชื่อ

หากไปนับการแข่งขันประกวดหนังสั้นในเมืองไทยตอนนี้เรียกได้เลยว่า บรรดาเด็กๆ ถูกแย่งตัวส่งเข้าประกวดกันเลยทีเดียว ธรรมชาติของหนังสั้นคือ ใช้กล้องอะไรถ่ายก็ได้ โทรศัพท์มือถือยังถ่ายได้เลย ถ่ายแล้วจะตัดต่อด้วยอะไรก็ได้ ไม่ต้องใช้สตูดิโอใหญ่โตแสนแพง ตัดต่อแล้วจะส่ง render ที่ไหนก็ได้ เดี๋ยวนี้มีให้บริการเต็มไปหมด ไม่ต้องอดนอนสามวันสามคืนเหมือนที่ผ่านมา ที่สำคัญการผลิตมันต้นทุนต่ำ ผลงานออกมาพอยอมรับได้ ทำให้มีตลาดต้องการโดยเฉพาะพวกองค์กรต่างๆ

หลักการคือ ต้องจบในตัวเองให้ได้ ต้นทุนต้องไม่สูง และงานออกมาเป็นศิลปะ ไม่เชิงออกเป็นการค้าจ๋าๆ คนทำต้องเก่งทั้งเรื่องคิดเรื่องเขียน ต้องรู้จักเทคโนโลยีใหม่มาใช้งานผมตบจบด้วยงานประกวดหนังสั้นล่าสุดของกระทรวงใหม่อย่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ก็แล้วกัน เขารับสมัครประกวดหนังสั้น รายละเอียดที่เฟสบุ๊คส์ ONDE Film Youth Camp งานนี้เงินรางวัลหลักแสน พร้อมพาไปดูงานที่ญี่ปุ่น อยากเป็น Shot Film Creator มือเซียนงานนี้ห้ามพลาด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook