5 เหตุการณ์ใหญ่ไอที ปี 2016 ของไทย ที่โดนกันไปเต็มๆ

5 เหตุการณ์ใหญ่ไอที ปี 2016 ของไทย ที่โดนกันไปเต็มๆ

5 เหตุการณ์ใหญ่ไอที ปี 2016 ของไทย ที่โดนกันไปเต็มๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงขึ้นปีใหม่อย่างนี้ อยากหวนรำลึกช่วงเวลาของปี 2016 ที่ผ่านมาว่าเหตุการณ์ที่ทำให้วงการไอทีของเราเปลี่ยนแปลง เป็นเหตุการณ์ใหญ่ที่หลายคนอาคาดไม่ถึง เป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบวันนี้และส่งผลต่อไปในระยะยาว แน่นอนเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นทางจากนอกประเทศและในประเทศของเราเอง ไปลุยกันเลยรออะไร อ้อ ทุกเหตุการณ์ไม่เรียงลำดับความสำคัญ เพราะมันสำคัญหมด

1. Note7 ระเบิด ตลาดมือถือไทยเปลี่ยนโฉม เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วโลก นั่นคือการที่ซัมซุงได้ออกมือถือที่ใช้ปากการุ่นใหม่ที่มียอดจองถล่มทลาย ถือเป็นเรือธงของค่าย ปรากฎว่าหลังจากที่ค่ายมือถือปล่อยของออกมาในโซนแรก ข่าวการระเบิดของเครื่องมีออกมาไม่เว้นแต่ละวัน จนซัมซุงต้องเรียกมือถือกลับขาดทุนย่อยยับกันเลยทีเดียว บ้านเรา Note7 ยังไม่ทันขายแต่ส่งผลระยะยาวต่อตลาดมือถือไทยอย่างที่หลายคนอาจไม่คาดคิด

gettyimages-585268462 

ก่อนหน้านั้นซัมซุงในประเทศไทย และหลายที่ทั่วโลก การทำตลาดเริ่มอยู่ยากไม่เหมือนช่วงหลายปีก่อนที่ซัมซุงทุ่มตลาดและได้ครองส่วนแบ่งอันดับหนึ่งบนโลกสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ ตอนนั้นส่วนใหญ่ก็คิดว่าใครจะมาโค่นซัมซุงออกจากเบอร์หนึ่ง ไม่มีวี่แววจริงๆ แม้มือถือจีนจะเข้ามาแต่ก็ไม่ระคายเคือง แต่ดูเหมือนตลาดมือถือเป็นเหมือนกันทั่วโลกในกลุ่มแอนดรอยด์ นั่นคือความจงรักภักดีต่อแบรนด์นั่นแทบจะไม่มี ลูกค้ากลุ่มนี้พร้อมจะสวิทช์ไปแบรนด์อื่นทันทีที่สเป็กและดีไซน์เหมาะกับความต้องการและเงินในกระเป๋าของตัวเอง

ดังนั้นในช่วงต้นปีนี้เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของซัมซุงอย่างมาก เพราะเรือธงของตัวเองยอดขายไม่ได้เปรี้ยงปร้างเหมือนเคย คู่แข่งออกเรือธงมากระหน่ำ และเครื่องเรือธงนี่แหละที่ทำกำไร ดังนั้นเมื่อถูกตีตลาด ยอดกำไรก็ส่งผลต่อเม็ดเงินการทำตลาดของซัมซุงอย่างชัดเจน พอซัมซุงจะออก Note7 ในไทย คู่ค้าตั้งแต่ดิสทิบิวเตอร์ ยันตู้ขายปลีกมือถือ ต่างยิ้มแฉ่งรอรับทรัพย์ก้อนใหญ่กัน ที่ไหนได้ของไม่ได้ขายยังต้องมาเสียเวลาคืนเงินจองให้กับลูกค้า ทำให้เสียกระบวนกันไปทั้งหมด

นั่นยังไม่เท่าไหร่ แต่การไม่ได้ขาย Note7 ยังทำให้มือถือจากค่ายจีนผงาดในตลาดบนของเมืองไทย และครองตลาดใหญ่จนยากที่ซัมซุงจะโค่นลงได้ในช่วงเวลาอันสั้น เมื่อของขายดีดิสทิบิวเตอร์ที่ถูกหวยก็กลับมาได้อีกครั้ง และเริ่มปูฐานอย่างหนักหน่วง จนล่าสุดมือถือจีนครองตลาดไทยแทนมือถือจากเกาหลีซะแล้ว การจะกลับมายิ่งใหญ่ของซัมซุงในไทยอาจต้องใช้เวลาและทรัพยากรที่หลายคนคาดไม่ถึงกันเลยทีเดียว เพราะเหตุการณ์ Note7 ระเบิดนี่แหละกระทบกันยาวไป

2. แจ็ค หม่า ยึดตลาดอีคอมเมิร์ชไทย ในรอบปีที่ผ่านมานอกจากมือถือจีนแล้ว ก็มีแจ็ค หม่า นี่แหละที่เข้ามายึดครองพื้นที่สื่อในไทยอย่างมาก และไม่เพียงหน้าตา คำกล่าวของแจ็ค หม่า ที่เกลื่อนโลกโซเชียลของเราอย่างมีนัยยะสำคัญ การเข้ามาทำธุรกิจดิจิตอลในไทยอย่างต่อเนื่องทุกทิศทุกทาง กำลังจะทำให้พวกเราคนไทยเข้าสู่อาณาจักรของเขาอย่างดิ้นไม่หลุด

gettyimages-585562758

แจ็ค หม่า ทำอะไรในรอบปีบ้าง ที่สำคัญก็คือความพยายามยึดตลาดอีคอมเมิร์ชของไทยอย่างเต็มรูปแบบ อย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน หลายคนอาจไม่รู้ว่าแม้ว่าอีคอมเมิร์ชไทยนั้นเติบโตอย่างมาก มียักษ์ต่างประเทศทุ่มเงินเพื่อขอซื้อเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชดังๆ ในบ้านเราแบบหัวกระไดไม่แห้ง แต่ที่ต้องยอมรับความจริงคือ แม้จะเติบโตแต่กำไรที่ได้อาจยังอยู่ในขั้นที่ไม่น่าพอใจ

ขณะเดียวกันแจ็ค หม่า สามารถพาอาลีบาบา เว็บอีคอมเมิร์ชของตัวเองเข้าสู่ตลาดหุ้นระดับโลก และมีเม็ดเงินมหาศาลที่จะลงทุนต่อเนื่อง เข้าสู่เกมการเงินเต็มรูปแบบที่พร้อมจะเอาเงินมาขยายฐานธุรกิจของตัวเอง และเป้าหมายของเขาก็คือ ยึดตลาดอีคอมเมิร์ชเอเชีย บ้านเกิดของเขานั่นเอง

แจ็ค หม่า เริ่มเข้าธุรกิจอีคอมเมิร์ชไทยผ่านทางซีพี ซึ่งมีความแนบแน่นกับรัฐบาลจีนอยู่แล้ว ด้วยการเข้ามาถือหุ้นบางส่วนของแอ็คเซ้นส์ ที่เป็นหน่วยงานอีคอมเมิร์ชของซีพีก่อน แน่นอน we love shopping ไม่ได้อยู่เฉพาะในไทย เว็บนี้กำลังรุกตลาดในภูมิภาคอาเซียนอยู่ด้วย ได้หุ้นแอคเซ้นส์ก็เหมือนได้ตลาดอาเซียนไปในตัว

เท่านั้นยังไม่พอ แอ็คเซ้นส์มีทรูมันนี่ เปย๋เม้นท์เกตเวย์ที่กำลังเริ่มก่อร่างสร้างตัว แจ็ค หม่า มี alipay ที่คนจีนกว่าครึ่งนิยมใช้ ทรูมันนี้จะเติบโตยังไงก็ช่าง แต่ฝันของแจ็ค หม่า คือ อาลิเปย์ต้องครองเอเชีย ดังนั้นการใช้ซีพีเป็นฐานให้ลงอาลิเปย์ทั่วประเทศไทยเพื่อรองรับการท่องเที่ยว รองรับคนจีนที่มาซื้อของในเมืองไทยจึงกลายเป็นข้ออ้าง เราจะเห็นในปี 2017 ที่ร้านค้าทั่วประเทศจะมีคนไปลงระบบอาลิเปย์ให้แบบไม่คิดมูลค่ากันเลยทีเดียว นั่นหมายถึงคนจีนไม่ต้องเอาเงินออกนอกประเทศ อาลิเปย์จะกลายเป็นแหล่งเงินดิจิตอลที่ทรงอิทธิพล และร้านค้าทั่วเอเชียต้องหง๋อในที่สุด

นี่ยังไม่รวมการซื้อ Lazada เว็บอีคอมเมิร์ชชื่อดัง ถือว่าเรื่องนี้จิ๊บจ๊อย เรื่องที่น่ากลัวกว่าก็คือการที่รัฐบาลไทยไปเซ็นสัญญาความร่วมมือกับอาลิบาบาในการทำอีคอมเมิร์ชร่วมกันนี่สิ แน่นอนประโยชน์คือเราสามารถนำสินค้าไปลงสู่ตลาดจีนได้ง่าย เพราะอาลีบาบาครองตลาดที่จีนเรียบร้อยแล้ว การเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ชของจีนก็มีหนทางนี้หนทางเดียว แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปก็คือ ทั้งตัวเลข และแนวทางการสั่งสินค้าต่างๆ จะเข้าทางอาลีบาบาที่เป็นตัวกำหนด ตอนนี้ความน่ากลัวยังไม่เกิด ช่วงฮันนีมูนมันยังหอมหวานอยู่ แต่เมื่อใดที่แจ็ค หม่า ครองตลาดอีคอมเมิร์ชไทยแบบเบ็ดเสร็จ เหมือนกับที่ครองตลาดทีจีนได้ อีคอมเมิร์ชไทยก็เตรียมตัวตาย และเมื่อนั้นสินค้าไทยทั้งหมดจะอยู่ในกำมือจีนอย่าง แจ็ค หม่า

3. Single Gateway เรียกแขก แม้ตอนนี้กระแสคือพ.ร.บ.คอมพ์ตัวใหม่ แต่ single gateway ยังเป็นข้ออ้างถล่มเว็บ แฮคข้อมูลหน่วยงานรัฐกันอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ ปรากฎการณ์ single gateway แม้จะเกิดจากการที่เอกสารบางส่วนหลุดเข้ามาในโลกโซเชียล แม้จะได้รับการปฏิเสธจากรัฐบาลว่าไม่มีแนวคิดและแผนงานที่จะทำ แต่สิ่งทีมันเกิดขึ้นก็คือ มันได้รวบรวมมือดีในด้านไอทีของไทยและในภูมิภาคเอเชียมารวมตัวกันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

istock_46076674_medium

การรวมตัวกันครั้งนี้มีข้อเรียกร้อง มีเป้าหมาย และกิจกรรมที่ต้องดำเนินการชัดเจน พวกนี้คิดว่าตัวเองไม่ผิด รัฐไทยกำลังทำในสิ่งที่ไม่ควรทำดังนั้นต้องดำเนินการสั่งสอน และทำให้โลกรู้ว่าการกระทำของรัฐไทยที่ต้องควบคุมโลกอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง และบอกให้โลกรู้ว่าระบบของไทยมันมีช่องโหว่อีกมาก การเอาข้อมูลต่างๆ ไปเก็บไว้เองมันอันตราย

ในแง่กฎหมายคงต้องปล่อยให้รัฐไทยดำเนินการกันไป แต่ปรากฎการณ์ที่ส่งผลแล้วก็คือ กลุ่มมือแฮคพวกนี้ได้ถูกสถาปนา ได้มีภารกิจติดตัวกันไปแล้ว และเมื่อถลำลึกก็จะไม่รามือง่ายๆ และจะกลายเป็นไม้เบื่อไม้เบากับรัฐบาลไทยไปโดยตลอด เราได้สร้างโลกด้านมืดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว

4. Pokemon ตบหน้าสังคมไทย เกมที่ดังที่สุดของโลกในรอบปีที่ผ่านมาก็ต้องยกให้ Pokemon นี่แหละ แม้ในช่วงหลังกระแสมันอาจลดลงไปเยอะแต่คนไทยจำนวนมากก็แอบเล่นอยู่ คนไทยก็เหมือนคนทั่วโลกที่เห่อเกมนี้ ก็มันเป็นสิ่งใหม่จริงๆ สิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยมีสองด้าน ด้านหนึ่งคือด้านบวก โดยมองว่านี่คือโอกาส เป็นการสร้างธุรกิจ หรือแนวการตลาดแนวใหม่ ต้องรีบกระโดดเข้าไปร่วม อีกด้านหนึ่งมองในแง่ลบ ยังมองว่าสังคมติดเกมมันไม่ดี มันนำไปสู่เรื่องราวในด้านต่ำ เช่น ถูกล่อลวง เกิดอุบัติเหตุ ฯลฯ

istock_67897661_small

จริงๆ ก็คือ ภูมิคุ้มกันกระแสแบบนี้ของไทยนั้นอ่อนแอมาก เราพร้อมจะไหลไปตามกระแสโดยไม่รู้อันไหนถูกอันไหนผิด เราไม่มีบัฟเฟอร์หรือกันชนทางวัฒนธรรมที่ดีพอที่จะคัดกรองสิ่งที่เหมาะสมกับสังคม เรารับมันมาตรงๆ ประเภทต้องเจ็บตัวก่อนถึงจะรู้ ในปีใหม่นี้จะมีเกมดังๆ ออกมาให้เล่นฟรี และเสียเงินในกระเป๋าคนไทยอีกมาก แต่เราก็ยังไม่พร้อมกับกระแสเหล่านี้ซะที เมื่ออ่อนแอก็ต้องแพ้พ่ายไปตามธรรมดา

5. ยุคหอมหวนของ Start-Up จริงๆ ไม่อยากขึ้นหัวแบบนี้จริงๆ เพราะความจริงมันไม่ได้หอมหวนเช่นนั้น แต่เผอิญปีที่ผ่านมากระแสสตาร์ทอัพไทยมาแรง เพราะมันเพิ่งเริ่มก่อตัว อย่างไรก็ตามมาถึงวันนี้คำว่าสตาร์ทอัพนี่ยังมีคนถามอยู่ว่ามันคืออะไร ยังมีคนเอามันไปผสมกับ SMEs อยู่ก็เยอะ และแม้คนจะรู้จักมันแต่ก็ไม่เชื่อว่าสตาร์ทอัพจะเวิร์ค

istock_51812176_medium

สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือ สตาร์ทอัพเกิดยากและตายง่ายครับ เกิด 10 รอดหนึ่งก็ถือว่าเก่งแล้ว แต่สิ่งที่เกิดเป็นปรากฎการณ์ในรอบปีที่่ผ่านมาคือ แต่ก่อนเรามีแต่บริษัทสตาร์ทอัพ แต่ในไทยจะไม่มีนักลงทุน ทั้งเดี่ยว หมู่ กองทุน และอื่นๆ จะขอเงินกันทีต้องไปเดินสายหาเอาจากต่างประเทศ รวมถึงโครงสร้างที่เอื้อต่อสตาร์ทอัพในเมืองไทยมันแทบไม่มีเลย อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผมบอกไม่มีปีนี้มันมากันเกือบครบ

ไล่ไปตั้งแต่ VC ทั้งแบบส่วนตัว สถาบันการเงินตั้งกองทุน บริษัทต่างๆ ที่อยากลงทุนก็ตั้งกับเขาแบบเป็นล่ำเป็นสัน รัฐบาลตั้งแผนและนโยบายสนับสนุนเต็มตัว แม้กฎหมายหลายตัวยังไม่เอื้อ บ้านเรามีเอเย่นต์วีซีและสตาร์ทอัพ ทำหน้าที่กรอง เพื่อลดความเสี่ยงของทั้งสองฝ่าย

จริงๆ ทุกประเทศอยากให้มีสตาร์ทอัพประสบความสำเร็จในประเทศของตัวเอง แต่บอกเลยความจริงมันไม่ง่ายครับ ปีหน้าเราจะเห็นสตาร์ทอัพเกิดและตายอย่างปัจจุบันทันด่วนกันอีกเป็นร้อยราย มันเป็นธรรมชาติหาใช่ฟองสบู่หรือเป็นยุคทองของมันแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook