พาสัมผัสเทคโนโลยี 5G จาก Ericesson มาเหนือเพื่อชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น
วันนี้ทีมงาน Sanook! Hitech ได้รับเชิญจากอิริคสัน ผู้ผลิตระบบเครือข่ายการสื่อวารมากว่า 141 ปี และประกอบกับปีนี้ครบรอบ 111 ปีในประเทศไทย สิ่งที่อิริคสันนำมาจัดแสดงในวันนี้คือ เทคโนโลยี 5G ที่คาดว่าจะได้ใช้ในอนาคตอันใกล้นี้
สำหรับเทคโนโลยี 5G ที่ Ericesson นำมาแสดงให้เห็นนั้นมีลักษณะที่ขนาดเล็กลงกว่าระบบเครือข่ายแบบเดิม ๆ ที่เคยเห็นมา และเน้นไปที่การใช้ความเร็วอินเทอร์เน็ตที่สูงระดับ 6 Gbps เลยทีเดียว และยังมีข้อดีคือ ลดอาการกระตุกและค้างระหว่างโหลดข้อมูล รวมถึงใช้งานได้หลากหลายคนและมีการติดตั้งได้ทั้งใช้อยู่กับที่หรือ ใช้งานในด้านเคลื่อนที่ก็ได้
ผลดีขนาดนี้ทำให้นอกจากใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้แล้วยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ประเภท Internet Of Thing ได้หลากหลายที่นำมาจัดแสดงด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
- 4K Streaming เปิดแล้วราบรื่นได้ และสามารถใช้งาน CEO conference ทำได้รวดเร็งและไร้อาการกระตุกได้
- ระบบวางแผยการเดินทางด้วยการบอกตำแหน่งรถประจำทาง
- ระบบ Smart Parking จะระบุว่าที่จอดรถที่ไหนว่างและเราเข้าไปจอด โดยเราสามารถสั่งจองที่จอดได้ แต่สัญญาณจะถูกลดทอนตามความลึก แต่ NB IOT จะกระจายได้ลึกกว่า แถมมีสิทธิ์ใช้ในประเทศไทยในอนาคต
- ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติของรถบรรทุก Scaniaที่ต้องใช้ระบบ 5G ที่แม่นยำ ประโยชน์ที่ได้คือ ประหยัดน้ำมัน และจัดการมลพิษได้ดี เพราะต่อเป็นขบวน ลดแรงเสียดทาน สามารถ หลีกเวลาเร่งด่วน วิ่งเวลากลางคืน ทำให้การขนส่งไปเรื่อย ๆ ได้ เน้นความปลอดภัยบนถนนและ ลดอุบัติเหตุบนถนน
- ออฟฟิศ อัจฉริยะที่สามารถบอดข้อมูลการใช้ห้องประชุมหรือพริ้นเตอร์ รวมถึงระบุช่วงเวลาใช้งานต่าง ๆ ได้เป็นต้น
แม้ว่าทุกสิ่งที่พูดมานั้นอาจจะดูไกลตัวไปแต่ก็อำนวยความสะดวกได้ไม่มากก็น้อย และนอกจากนี้ในงานยังมีการกล่าวเรื่อง Thailand 4.0 โดยคุณ ฐากร ตันฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ซึ่งมาพูดให้เห็นภาพของเมืองไทยกับสังคม ดิจิตอลให้เห็นภาพมากขึ้น
โดย กสทช จะพยายามให้คนไทยสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้ได้ครบทุกคนในประเทศภายในปี 2561 และนอกจากนี้ยังมีการจัดประมูล คลื่นความถี่มากมายไม่ว่าจะเป็นคลื่น 2600MHz, คลื่นความถี่ 700MHz และ คลื่นความถี่ 1800MHz ที่เป็นระบบสัมประทานเดิมเมื่อรวมกับคลื่นความถี่ปัจจุบัน 420MHz จะทำให้ในปี 2563 จะมีการใช้งานคลื่นความถี่ 800MHz ซึ่งสูงกว่าข้อกำหนดของ ITU เล็กน้อย
ดังนั้นเมื่อคลื่นมีเยอะขึ้นการกระจายความเจริญผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง นั้นจะเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะหลายภาคส่วนจะต้องปรับตัวให้ทันไม่ว่าเป็น ด้านธนาคาร, ด้านการค้า, ด้านการศึกษา, การแพทย์ และรวมไปถึงการท่องเที่ยว ซึ่งจะเห็นได้จากเวลา 3 ปีนับจากนี้ไป
ซึ่งอาจจะเกิดธุรกิจที่เน้นทำให้ท้องถิ่นผ่านการทำ Startup และทำให้คนลดการทำงานในเมืองลดลง กระจายไปสูงชนบทมากขึ้นนั่นเอง
และนอกจากนี้ กสทช กับ กระทรวง เศรษฐกิจ ดิจิตอล ได้มองเห็นถึง 3 P ที่จะทำให้เกิดการปรับตัวที่รวดเร็วได้แก่
- People คนจะต้องเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีและปรับตัวอยู่ร่วมกันให้ได้,
- Platform การเข้าใจในการทำงานบนระบบออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือร้านค้าออนไลน์
- Product การปรับตัวเรื่องการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ออนไลน์
เรียกได้ว่าให้ภาครัฐมาส่งเสริมอย่างเดียวอาจจะยังไม่พอ คนไทยก็อาจจะต้องเรียนรู้แล้วปรับตัวในการที่จะอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีไปได้ถึงจะดีที่สุด