ภารกิจสำรวจโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะหลังภัยนิวเคลียร์ของหุ่น ปลาแสงอาทิตย์น้อย

ภารกิจสำรวจโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะหลังภัยนิวเคลียร์ของหุ่น ปลาแสงอาทิตย์น้อย

ภารกิจสำรวจโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะหลังภัยนิวเคลียร์ของหุ่น ปลาแสงอาทิตย์น้อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เหตุการณ์ภัยพิบัตินิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิชิหลักเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นซึนามิซัดถล่มเมื่อปี 2011 ถือเป็นภัยพิบัตินิวเคลียร์ครั้งใหญ่ของโลกเทียบเท่ากับกรณีภัยพิบัติโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิวเมื่อปี 1986 เลยนะครับ ซึ่งจนถึงปัจจุบันเขตโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะก็ยังมีอันตรายจากรังสีในระดับที่สูงมาก ระดับที่หุ่นยนต์สำรวจยังเสียหายจากรังสีที่สูงระดับนี้

จากปัญหาเรื้อรังของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะที่ต้องหาวิธีจัดการกับกัมตภาพรังสีให้เร็วที่สุด แต่ยังขาดข้อมูลและโครงสร้างที่ชัดเจนในปัจจุบันของโรงไฟฟ้าหลังจากเกิดปัญหา โดยเฉพาะในส่วน primary containment vessel (PCV) หรือถังเก็บหลักที่เสียหาย International Research Institute for Nuclear Decommissioning (IRID) จึงร่วมกับ Toshiba พัฒนาหุ่นยนต์ตัวเล็กชื่อว่า little sunfish หรือปลาแสงอาทิตย์น้อย เพื่อสำรวจโรงไฟฟ้าส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำลึกกว่า 6 เมตร

ก่อนหน้านี้มีการส่งหุ่นยนต์สำรวจรูปร่างเหมือนแมงป่องเข้าไปในโรงไฟฟ้าที่ 2 แต่หุ่นยนต์ก็เสียหายจนต้องทิ้งไว้ในซากโรงไฟฟ้า และหุ่นยนต์รูปงูก็ส่งเข้าไปเพื่อสำรวจก็ต้องถอยกลับมาหลังจากทำงานไปได้ 2 ชั่วโมง เมื่อกล้องทุกตัวเสียหายจากรังสี

 Little Sunfish มีขนาดแค่ 13 ซ.ม.และหนัก 2 ก.ก. เพื่อให้มันสามารถว่ายน้ำผ่านซากปรักหักพังของโรงไฟฟ้าและมุดเข้าไปใน PCV ของโรงไฟฟ้าที่ 3 ได้ โดยตัวมันประกอบด้วยกล้อง 2 ตัว ไฟฉาย และเครื่องตรวจวัดปริมาณรังสี โดยมันทำงานผ่านรีโมทควบคุมผ่านสายเคเบิล ซึ่ง Little Sunfish ออกแบบให้ทนปริมาณรังสีได้สูงสุดถึง 200 Sievert (Sv) ซึ่งระดับรังสีแค่ 1 Sv ก็ทำให้เนื้อเหยื่อในรังสีมนุษย์เสียหายได้แล้ว

หุ่น Little Sunfish เตรียมส่งเข้าสำรวจภายในโรงไฟฟ้าฟุกิชิมะในกรกฎาคมนี้ ก็หวังว่าการทำงานของมันจะประสบความสำเร็จ ไม่สิ้นชีพภายในซากโรงไฟฟ้าเหมือนหุ่นอื่นๆ และถ้าหากทุกอย่างไม่ผิดแผนมากนัก ทางการญี่ปุ่นจะเริ่มต้นกระบวนการทำความสะอาดโรงไฟฟ้าภายในปี 2021

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook