"ดร.นที" สวนกลับ "ผมไม่ให้ค่า ไม่ให้ความสำคัญกับ AIC"

"ดร.นที" สวนกลับ "ผมไม่ให้ค่า ไม่ให้ความสำคัญกับ AIC"

"ดร.นที" สวนกลับ "ผมไม่ให้ค่า ไม่ให้ความสำคัญกับ AIC"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (30 มิ.ย.60) พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รับผิดชอบในการจัดระเบียบการให้บริการกระจายเสียงหรือบริการโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายอื่นที่ไม่ใช่โครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Over The Top) กล่าวถึงกรณีที่ Asia Internet Coalition (AIC) ออกแถลงการณ์ค้านคำสั่ง กสทช. ในการจัดระเบียบของกทช.เรื่อง OTT ว่า กสทช.จะไม่ให้ค่ากับ AIC ซึ่งเป็นเหมือนล็อบบี้ยีสต์ ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนและใช้รูปแบบนี้กับทุกประเทศ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และสิงคโปร์

“ผมไม่ให้ค่า ไม่ให้ความสำคัญกับ AIC เพราะเป็นล็อบบี้ยีสต์ ซึ่งในองค์กรนี้มีไลน์เป็นของเอเชียบริษัทเดียว ที่เหลือเป็นบริษัทของอเมริกา” พันเอก ดร.นที กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์

พันเอก ดร.นที กล่าวต่อว่า เรื่องกฎกติกาต่างๆ ของ OTT ถ้ากูเกิล และเฟซบุ๊ก จะมาถามผม หรือมาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง OTT ผมอยากให้มาพบเองในฐานะบริษัทของกูเกิล และเฟซบุ๊ก อย่าใช้วิธีการล็อบบี้ยีสต์ เพราะเราคือองค์กรกำกับดูแล และผมยินดีต้อนรับเสมอ

นอกจากนี้ พันเอก ดร.นที กล่าวว่า ขณะนี้กำลังให้เจ้าหน้าที่ของ กสทช. แปลความเห็นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไอซีทีของสิงคโปร์ที่เป็นความเห็นกรณี AIC เข้าไปจุ้นจ้านกับการกำกับดูแลขององค์กรภายในประเทศ เมื่อแปลเสร็จแล้วจะส่งผ่านแอพพลิเคชั่น ของกสทช. Line Ofificial Account (@NBTC) ให้ประชาชนได้อ่าน

พันเอก ดร.นที ย้ำว่า เรื่องการกำกับดูแล OTT เป็นเรื่องที่มีผู้เสียประโยชน์จึงออกมาโวยวาย ถ้าไม่เสียประโยชน์คงไม่ออกมาโวยวาย

 

สำหรับ AIC เป็นองค์กรความร่วมมือ ที่มีสมาชิกคือ Facebook, Google, LinkedIn, Apple, Twitter รวมถึง Yahoo, LINE และ Rakuten ส่วนแถลงการณ์ของ AIC มีใจความว่า การจัดระเบียบ OTT ของ กสทช. เป็นเรื่องที่ทำให้ประเทศไทยกำลังหันหลังให้กับนวัตกรรม เนื่องจากข้อบังคับเกี่ยวกับการให้บริการ OTT ของกสทช. และกฎระเบียบที่เสนอไม่ได้อาจจำกัดความสามารถในการเติบโตของผู้ประกอบการธุรกิจ แลเป็นกฎระเบียบนี้ที่อาจทำให้คนไทยและองค์กรต่างๆ จำนวนหลายล้านคนไม่ได้ใช้แพลตฟอร์มระดับโลกที่เปิดกว้างเพื่อสร้างธุรกิจออนไลน์

ทั้งนี้ การประชุมร่วมระหว่าง กสทช. กับสมาคมมีเดียเอเจนซีและธุรกิจสื่อดิจิทัลแห่งประเทศไทย สมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทย สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ช่องทีวีดิจิทัล และผู้เกี่ยวข้องกับการโฆษณาบนบริการโครงข่ายในบริการกระจายเสียงหรือบริการโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายอื่นที่ไม่ใช่โครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ Over The Top (OTT) เพื่อรับทราบแนวทางการโฆษณาบนโครงข่าย OTT  เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.60 ได้ข้อสรุป คือ กสทช.กำหนดให้ระงับโฆษณาทุกประเภท บนโครงข่ายหรือแพลตฟอร์ม ที่ไม่แจ้งเข้าสู่ระบบ OTT ภายในวันที่ 22 ก.ค.60 ล่าสุดเหลือ เฟซบุ๊ก กูเกิ้ล และเน็ตฟลิกซ์ ที่ยังไม่เข้าพบ กสทช. เพื่อแจ้งเข้าสู่ระบบ OTT

ส่วนมาตรการในการดำเนินการหาก ยังไม่มาพบเพื่อแจ้งเข้าสู่ระบบ OTT คือ แจ้งเตือนผู้ให้บริการแจ้งเข้าสู่ระบบ หากไม่ให้ความร่วมมือ จะแจ้งไปยังหน่วยงานต้นสังกัด  เช่น ถ้าเป็นบริษัทมหาชนแจ้งไปที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากยังดำเนินการไม่ได้ จะถือเป็นการประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับวันละไม่เกิน 5 หมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook