มาฟังความเห็นเรื่อง กสทช จะกำกับดูแล OTT จากรายการ คุยไม่ได้ศัพท์ และ KNN

มาฟังความเห็นเรื่อง กสทช จะกำกับดูแล OTT จากรายการ คุยไม่ได้ศัพท์ และ KNN

มาฟังความเห็นเรื่อง กสทช จะกำกับดูแล OTT จากรายการ คุยไม่ได้ศัพท์ และ KNN
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่เป็นประเด็นดราม่าใน 2 ข่าวก่อนหน้านี้ กสทช. ลั่น Facebook, YouTube เข้าข่าย OTT เถื่อน วอนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์งดอุดหนุน ดร.นที โต้ Facebook, Google ใช้ AIC ล็อบบี้ยิสต์ หากมาคุยด้วยตัวเองยังยินดีต้อนรับ

ทางเว็บแบไต๋จึงอยากนำความเห็นจากบุคคลที่ผลิตรายการบนอินเทอร์เน็ตมาให้ฟังกันบ้าง ว่ามีความเห็นอะไรกันบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ (ขอย้ำว่าเป็นความเห็นของผู้ดำเนินรายการเท่านั้น ทางเว็บแบไต๋ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด แค่นำมาเผยแพร่เท่านั้น)

 “รายการคุยไม่ได้ศัพท์” โดย “GUIaxy Podcast” ตอนที่ 31 (ทางเว็บแบไต๋สรุปสั้นๆ เท่านั้น ควรฟังรายการเต็มๆ ด้วยนะครับ)

 ทางรายการนี้ผู้ดำเนินรายการได้ให้ความเห็นว่า

“เป็นเพราะว่าเกิดจากความบูมของ OTT ที่มีผู้ผลิตรายการบางช่อง บางรายการที่ทำดิจิตอลทีวีอยู่แล้ว นำรายการมาลงบนสื่อ OTT อย่าง Facebook, YouTube, LINE TV, AIS Play จนทำให้พฤติกรรมคนดูเปลี่ยน มาดูรายการแบบเดียวกับในดิจิตอลทีวีบนช่องทางพวกนี้ ทำให้หลายๆ ช่องเสียเปรียบ เนื่องจากประมูลช่องมาด้วยเงินมหาศาล ส่วนทาง กสทช. ก็เสียผลประโยชน์ตรงนี้เช่นกันเนื่องจากไม่สามารถทำให้ดิจิตอลทีวีโตตามเป้าได้

และเห็นว่าควรมีการให้ความเท่าเทียมในการประกอบการด้านโทรทัศน์เพื่อควบคุมเนื้อหาคอนเทนท์ที่รุนแรง จีงเข้ามาจัดระเบียบ แต่ที่แท้จริงแล้วอาจเป็นเพราะอยากจะเข้ามาเก็บภาษีมากกว่าแล้วเอาการจัดระเบียบมาอ้าง แต่จริงๆ แล้ว ผู้ผลิตรายการหรือ Content รายใหญ่ หรือบริษัทเอเจนซี ก็เสียภาษีอย่างถูกต้องอยู่แล้ว และเห็นว่าถ้าดูแลเรื่องภาษีอาจจะเกินหน้าที่ของ กสทช.”

แต่ผู้ดำเนินรายการก็เสนอแนวทางที่น่าจะดีกว่าที่ กสทช. ทำอยู่ แนะนำให้ไปฟังในรายการเต็มๆ ครับ

“สรุปการเสวนา OTT ง่ายๆใน 1 คลิป (โลก Internet จะถูกควบคุมจริงๆหรอ)” โดยช่อง “KNN” ทาง YouTube (ทางเว็บแบไต๋สรุปสั้นๆ เท่านั้น ควรดูรายการเต็มๆ ด้วยนะครับ)

และเมื่อเดือนพฤษภาคม ทาง กสทช. มีการเชิญ YouTuber และแอดมินเพจ Facebook ดังๆ ที่มียอดติดตามเยอะๆ มาเข้าร่วมประชุมแนวทางการกำกับดูแล OTT หนึ่งในนั้นคือช่อง KNN

“KNN ได้กล่าวว่ามาตรการคือ “ต้องการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันให้กับทีวีและผู้ประกอบการ” โดยต้องการให้รับเรื่อง ปลดคอนเทนท์ที่ผิดกฎหมายได้ง่ายขึ้น ไม่ได้ต้องการควบคุมอิสระภาพในการผลิตคอนเทนท์ ส่วนในเรื่องการลงทะเบียนจะเป็นการบังคับ”

และในคลิปนี้ยังอธิบายถึงข้อดีของการมีการกำกับดูแล ไปดูคลิปเต็มๆ ได้ครับ แต่ว่าคลิปนี้ “เผยแพร่เมื่อ 6 มิ.ย. 2017″ ซึ่งมาก่อนข่าวล่าสุดที่จะเล่นงานบริษัทที่ลงโฆษณาบน Facebook, YouTube หากทั้ง 2 แพลตฟอร์มนี้ไม่มาลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ OTT ภายใน 22 กรกฎาคม 2560

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook