'สมาร์ทโฟน' เป็นเทคโนโลยีที่สร้างความใกล้ชิดให้กับผู้คน หรือทำลายตัวตนของมนุษย์จนหมดสิ้น?

'สมาร์ทโฟน' เป็นเทคโนโลยีที่สร้างความใกล้ชิดให้กับผู้คน หรือทำลายตัวตนของมนุษย์จนหมดสิ้น?

'สมาร์ทโฟน' เป็นเทคโนโลยีที่สร้างความใกล้ชิดให้กับผู้คน หรือทำลายตัวตนของมนุษย์จนหมดสิ้น?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นับตั้งแต่การเข้ามาของนวัตกรรมที่เปลี่ยนโลกให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัวอย่าง "สมาร์ทโฟน" ก็ทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์ทั่วโลกเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลมหาศาลอย่างอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา, สามารถเชื่อมต่อกับผู้คนทั่วโลกได้เพียงปลายนิ้วด้วยโซเชียลมีเดีย รวมไปถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สมาร์ทโฟนสามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

แต่ใครเล่าจะล่วงรู้ว่านวัตกรรมแห่งความทันสมัย และไฮเทคนี้จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนบางกลุ่มในด้านลบ และอาจทำให้เขาเหล่านั้นมีความคิดที่จะจบชีวิตตัวเองเพิ่มมากขึ้นด้วย

1


Jean M. Twenge คอลัมน์นิสต์สาวรายหนึ่งแห่งนิตยสาร The Atlantic ได้เขียนบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในยุคนี้ว่า ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ยุคของสมาร์ทโฟนเป็นต้นมา วัยรุ่นหลายๆ คนทั่วโลกต่างทนทุกข์ทรมานกับการเป็นโรคซึมเศร้า และมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้ง โดย Twenge ตั้งกลุ่มตัวอย่างว่า วัยรุ่นที่เกิดในช่วงปี ค.ศ. 1995 - 2012 จะอยู่ในกรุ๊ป iGen (เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาเอง) ซึ่งผู้คนที่เกิดในช่วงนี้จะเป็นรุ่นที่เติบโตมากับเทคโนโลยีในยุคที่พัฒนาแล้ว และมีชีวิตกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ซึ่งคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนยุค Millennials โดยมีตัวแปรสำคัญมาจากการใช้งานสมาร์ทโฟน

Twenge ตั้งข้อสังเกตว่าปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งจากการที่คนในยุค iGen เป็นโรคซึมเศร้า และรู้สึกไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตนอกโลกออนไลน์ก็คือ พวกเขาเหล่านั้นเชื่อมต่อกับเพื่อนๆ และคนรู้จักผ่านทางโซเชียลมีเดีย และคอยติดตามอัปเดตเรื่องราวต่างๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดียด้วยเช่นกัน ซึ่งการใช้งานสมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นจากนาทีเป็นชั่วโมง จากชั่วโมงเป็นหลายชั่วโมง หรือมีแม้กระทั่งผู้ที่ใช้งานสมาร์ทโฟนตลอดทั้งวัน ก็ทำให้เขาเหล่านั้นรู้สึกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านทางโลกออนไลน์มีค่ามากกว่าการคุยกันในชีวิตจริง และเริ่มห่างเหินจากตัวตนในโลกแห่งความจริงมากขึ้น แต่กลับสร้างตัวตนของตัวเองให้ดูมีความสำคัญ (ทั้งในสายตาตัวเอง และสายตาผู้อื่น) พร้อมทั้งอัปเดตเรื่องราวต่างๆ บนโลกออนไลน์แทน
 

2


เด็กหญิงอายุ 13 ปี รายหนึ่ง ชื่อว่า Athena (นามสมมติ) ได้พูดคุยกับ Twenge ว่า ตัวเธอเองมีสมาร์ทโฟนไว้ในครอบครองตั้งแต่อายุ 11 ปี และเป็นเด็กคนหนึ่งที่ค่อนข้างติดสมาร์ทโฟนมากพอสมควร ซึ่งเธอเล่าให้ฟังว่า เธอเคยเห็นเพื่อนๆ ของเธอเดินเที่ยวเล่นอยู่กับครอบครัว แต่เพื่อนๆ เหล่านั้นไม่คุยกับพ่อแม่ของตัวเองเอาแต่จ้องหน้าจอสมาร์ทโฟนตลอดเวลา หากมีบทสนทนาเกิดขึ้นก็จะเป็นการถามคำตอบคำเท่านั้น ซึ่งตัว Athena เองก็เป็นแบบเดียวกัน เธอบอกว่าในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน เธอใช้เวลาคุยกับเพื่อนตลอดทั้งช่วงปิดเทอมแต่เป็นการคุยผ่านแชท หรือ Snapchat เกือบทั้งหมด และใช้ชีวิตอยู่บนเตียงนอนเพียงอย่างเดียว ซึ่งมันก็เป็นเรื่องตลกร้ายสำหรับคนในยุคนี้เช่นกันที่เราพูดคุยกับคนอื่นผ่านการแชท หรือ texting กันเกือบทั้งวัน แต่กลับพบว่าเราไม่อยากคุยกับคนอื่นแบบตัวเป็นๆ
 

3

นอกจากนี้ ในบทความดังกล่าวยังมีการยกตัวอย่างสถิติที่น่าสนใจมาเพิ่มเติมด้วย โดยเนื้อหาระบุว่าในกลุ่มตัวอย่างเด็กเกรด 8 (เทียบเท่าม.2) ที่ใช้งานสมาร์ทโฟน และโซเชียลมีเดียมากกว่า 10 ชม./สัปดาห์ มีความเสี่ยงที่จะเกิดความรู้สึกไม่มีความสุขมากกว่าคนที่ใช้งานน้อยกว่าถึง 56 เท่า ขณะที่คนที่ใช้งานประมาณ 6-9 ชม./สัปดาห์ มีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ใช้น้อยกว่าประมาณ 47% แต่ในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เวลาประมาณเดียวกันทำกิจกรรมกับเพื่อน หรืออยู่กับเพื่อนแทนสมาร์ทโฟน ความเสี่ยงที่จะไม่มีความสุขกลับลดลงมากถึง 20% ซึ่งสถิตินี้ยังไม่รวมถึงการกลั่นแกล้งกันทางอินเทอร์เน็ต หรือ Cyber Bullying ที่นับเป็นประเด็นสำคัญที่เด็กๆ และวัยรุ่นหลายๆ คนกำลังประสบพบเจอในทั่วทุกมุมโลก โดยบางคนอาจอดทน และผ่านพ้นมันไปได้ แต่สำหรับบางคนเรื่องดังกล่าวอาจมีความร้ายแรง และส่งผลให้ต้องจบชีวิตตนเองจากปัญหาก็มีเช่นเดียวกัน
 

4

เรื่องราวของผู้คนใน "สังคมก้มหน้า" ยังคงมีให้พบเห็นทั่วไป เช่น คู่รักบางคู่ที่กำลังนั่งรอดินเนอร์ก็กลับหยิบมือถือขึ้นมาอัปเดตข่าวสารต่างๆ นานา แต่ไม่มีใครคุยกัน หรือพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยการเอาสมาร์ทโฟนให้ลูกเล่น จนทำให้เด็กกลายเป็นคนก้าวร้าวเมื่อไม่ได้เล่นเกมบนสมาร์ทโฟนก็มี

ซึ่งก็น่าแปลกใจว่า ทำไมเทคโนโลยีที่ทำให้คนได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น กลับเป็นสิ่งที่ทำให้คนเหินห่างกันได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งตัวผู้เขียนเองก็อยากแนะนำว่า จริงอยู่ที่บางครั้งโลกอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้เราได้สัมผัสกับโลกกว้างอย่างไร้ขอบเขต แต่เราลืมไปหรือไม่ว่า เราอาศัยอยู่ในโลกที่มีอากาศหายใจ มีพื้นดินให้ยืน และมีสิ่งอื่นๆ ให้สัมผัสมากมาย เราไม่สามารถอิ่มท้องได้ด้วยการเลื่อนฟีด Facebook และเราไม่สามารถเบิร์นแคลลอรี่ได้ด้วยการดูคลิปออกกำลังกายบนยูทูป ดังนั้น จงหันมาใส่ใจตัวเอง และคนรอบข้างให้มากขึ้น ดีกว่าจ้องโลกสี่เหลี่ยมเล็กๆ นั้นนานๆ นะครับ สำหรับใครที่อยากอ่านบทความฉบับเต็มก็สามารถติดตามได้ที่ลิงก์ด้านล่างครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook