[Startup] ตลาดสตาร์ทอัพไทย ใครบ้างโกอินเตอร์แล้ว

[Startup] ตลาดสตาร์ทอัพไทย ใครบ้างโกอินเตอร์แล้ว

[Startup] ตลาดสตาร์ทอัพไทย ใครบ้างโกอินเตอร์แล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกครั้งที่มีบริษัทซอฟต์แวร์ไทยไปลุยตลาดต่างประเทศได้ ผมจะแอบสะใจเล็กๆ ด้วยคามที่ทำข่าวธุรกิจซอฟต์แวร์ไทยมานาน และได้เห็นความพยายามที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของเราจะไปชิงตลาดต่างประเทศแต่ก็หงายเงิบกลับมาแทบจะทุกราย

ความที่ตลาดซอฟต์แวร์แบบเก่า ที่เรียกว่า ตลาดเอ็นเตอร์ไพร์ซ บีบบังคับให้การรุกตลาดต่างประเทศแต่ละครั้งจำเป็นต้องไปตั้งสำนักงานในแต่ละประเทศ ต้องไปเจรจาหาพาร์ตเนอร์ เจอปัญหาจุกจิกของแต่ละประเทศ ต้องให้ภาครัฐคอยช่วยเหลือมากมาย สุดท้ายเจ๊ง แอบหนีกลับมาเมืองไทยแบบเงียบๆ ทุกราย

แต่ในยุคสตาร์ทอัพ โครงสร้างธุรกิจมันเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง ทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เอื้อให้คิดเล็กที่เมืองไทย แต่ครองตลาดโลกได้ มีระบบคลาวด์ มีระบบโมบายแอพ รองรับมากมายก่ายกอง แถมยังมีทุนมากพอจาก VC หรือ เวนเจอร์แคป ในการทุ่มตลาด ไม่มีครั้งไหนที่ซอฟต์แวร์จากทุกมุมโลกจะสามารถออกไปตีตลาดโลกได้เท่ากับ ยุคสตาร์ทอัพเฟื่องฟู แบบครั้งนี้อีกแล้ว

ประเทศไทยนั้นมีท้งได้เปรียบและเสียเปรียบจากโครงสร้างนี้ แน่นอนในยุคซอฟต์แวร์เอ็นเตอร์ไพร์ซ เราเสียเปรียบอย่างหนัก เพราะซอฟต์แวร์จากยุโรปและอเมริกานั้นได้มาตั้งรกราก ฝังรากลึกโกยเงินก้อนใหญ่ออกจากประเทศไทยไปตลาดเวลา ขณะที่เราไม่มีเปรียบในเรื่องนี้เลย

พอมายุคสตาร์ทอัพเฟื่องฟู เราก็เจอ Crisis เรียกว่ามหาวิกฤตกันเลยทีเดียว ยกตัวอย่าง Agoda Crisis ที่ทำให้วงการท่องเที่ยว โดยเฉพาะโรงแรมของคนไทยต้องกลายเป็นทาสตลาดต่างประเทศ แม้จะมีความพยายามเท่าไรเราก็ยังโงหัวไม่ขึ้น

หรืออย่างที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และไม่รู้ตัวมากที่สุดก็คือ Facebook crisis นั่นเอง สตาร์ตอัพระดับยูนิคอร์นแบบเฟสบุ๊คส์นี่แหละครับที่ทำให้ธุรกิจสื่อในเมืองไทยล้มหายตายจากไปนับต่อนับ เพราะมาแย่งชิงเค๊กโฆษณาก้อนใหญ่หายไปจากตลาดทันที เล่นเอาธุรกิจสื่อบ้านเราตั้งตัวไม่ทันกันเลยทีเดียว

istock-680820598

คราวนี้มาดูในฝั่งสตาร์ทอัพระดับอาเซียนกันบ้าง Traveloga ไงครับ เห็นในโฆษณากันบ้างมั๊ย เป็นธุรกิจซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพจากอินโดนีเซีย ได้เงินทุนก้อนใหญ่จาก VC ทำให้มีแรงมาทุ่มตลาด ซื้อโฆษณามากมาย เพื่อฮุบตลาดในย่านนี้ให้ได้ เพราะการท่องเที่ยวโซนนี้นั้นมูลค่ามหาศาลมาก โดยเฉพาะตลาดเอาท์บาว

แล้วสตาร์ทอัพของไทยใช้โอกาสนี้รุกตลาดต่างประเทศมีหรือไม่ มีครับ เท่าที่นั่งดูเริ่มจาก Builk รายนี้ทำซอฟต์แวร์ให้ผู้รับเหมาได้ใช้ฟรีทั่วโลก ถือเป็นซอฟต์แวร์เกี่ยวกับธุรกิจก่อสร้างที่ดีสุดในระดับโลกในเวลานี้  หลังจากที่ได้ทุนก็ขยับขยายไปยังกลุ่มรับเหมาทั่วทั้งอาเซียน ได้ไปลองผิดลองถูกในตลาดอเมริกาใต้ ไปยุโรปตะวันออก และอื่นๆ อีกมากมาย ผมมีความเชื่อว่าสักวัน Builk จะครองตลาดรับเหมาก่อสร้างโลกแบบเงียบๆ โผล่มาอีกที Builk จะมีข้อมูลการก่อสร้างในระดับภูมิภาคต่างๆ มาให้เราได้เห็น ผมให้เวลา 10 ปี ภาระกิจครองโลกของ Builk จะประสบความสำเร็จ แม้จะดูนานไป แต่เชื่อว่า Builk ทำได้

รายที่สองคือ แสนรู้ หรือ Zanroo ผมเคยแอบเขียนเรื่องของแสนรู้ก่อนที่จะได้เงินทุนจากวีซี แต่ความที่ผมอยู่ในเหตุการณ์ ถือเป็นอินไซเดอร์ทำให้ผมไม่สามารถเปิดเผยชื่อของซอฟต์แวร์โซเชียลมอนิเตอริ่งรายนี้ได้

ก่อนที่แสนรู้จะได้เงินทุน ธุรกิจในประเทศของแสนรู้เติบโตและเบ่งบานเต็มที่อยู่แล้ว ลูกค้าระดับท็อปของเมืองไทย แสนรู้กวาดเรียบ และถือเป็นมือหนึ่งในซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ เท่านั้นยังไม่พอแสนรู้ยังไปทุบตลาดรอบบ้านใกล้เคียง ทำให้เบอร์หนึ่งในตลาดหลายประเทศต้องพังพาบปิดกิจการกันเลยทีเดียว

ด้วยความที่เป็นซอฟต์แวร์แนวใหม่ การจัดการไม่เยอะ และสามารถจัดการข้อจำกัดต่างๆ ได้ง่าย มันก็เลยเข้าทาง ยิ่งพอได้เงินจากวีซีก้อนโต ก็เหมือนเสือติดปีก เราจะได้เห็นแสนรู้กลายเป็น SaaS หรือ Software as a Service ผู้คนในโลกรายไหนอยากใช้ก็ง่ายเพียงคลิกดาวน์โหลด ไม่ต้องไปเร่ขายซอฟต์แวร์แบบเดิมๆ อีกต่อไป

รายต่อไปที่ผมเฝ้ามองก็คือ เคลมดิ ถือเป็น insure tech รายแรกและรายเดียวของไทยที่เป็นที่จับตามองในเวทีระดับโลกมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่เข้ามาในตลาดสตาร์ทอัพ

ด้วยแนวคิดจะเปลี่ยนแปลงระบบการเคลมประกันภัยรถยนต์ให้ทุกคนใช้โทรศัพท์มือถือ จบระบบประกันทุกสิ่งโดยไม่ต้องพึ่งพามือที่สาม หรือพวกคนเคลมประกันอีกต่อไป แนวคิดนี้ในเมืองไทยนี่สุดขั้วไปหน่อย เล่นเอาคุณแจ็ค เคลมดิ เจ้าของซอฟต์แวร์ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์มาหลายรอบ แต่ก็ถือว่าอยู่ในเส้นทาง

ขณะที่เคลมดิตบจูบกับธุรกิจประกันภัยรถยนต์ในเมืองไทยไปนั้น ก็ได้รับการติดต่อจากบริษัทประกันภัยทั่วโลก เพื่อขอเอาเคลมดิไปลองในประเทศของตน เนื่องจากระบบประกันภัยรถยนต์ที่ใช้ในประเทศต่างๆ มันไม่เหมือนกันซะทีเดียว แต่ก็มีความใกล้เคียงกัน ซึ่งสุดท้ายก็คือ ต้องให้ผู้ใช้จบทุกอย่างผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยตัวเองให้ได้ ขึ้นกับว่าจะใช้กลยุทธ์ไหน ซึ่งเคลมดิมีซอฟต์แวร์รองรับไว้อยู่แล้ว

ล่าสุดหลังจากลองผิดลองถูกมาสักพัก เคลมดิก็ได้จุดลงตัวที่ตลาดประกันภัยรถยนต์ที่สิงคโปร์ มูลค่าคลาดอาจไม่มาก แต่การที่ไป disrupt ตลาดประกันฯที่นั่นถือเป็นความสะใจ และสร้างความเชื่อมั่นว่า เคลมดิสามารถ disrupt ตลาดประกันภัยรถยนต์ได้อีกหลายประเทศทั่วโลกแน่นอน

เท่าที่ผมนั่งดู มอนิเตอร์ข้อมูลข่าวสารรอบตัว ก็กำลังมีสตาร์ทอัพไทยอีกหลายตัวที่กำลังโกอินเตอร์และมีแผนครองโลกอยู่ ผมก็ได้แต่นั่งเชียร์ และอยากให้รัฐบาลไทยเข้าไปสนับสนุน แต่เนื่องจากรายละเอียดของแต่ละตัวมันแตกต่างกัน การวางแผนสนับสนุนแบบกว้างๆ มันจะไม่ได้ประโยชน์อะไร และการสนับสนุนตามแบบแผนอย่าง การลดภาษี ก็ไม่ต้องมาพูดถึงกันนะครับ เดี๋ยวมีค้อนใส่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook