กสทช. ประกาศห้ามโดรนที่ไม่ได้ลงทะเบียนขึ้นบิน

กสทช. ประกาศห้ามโดรนที่ไม่ได้ลงทะเบียนขึ้นบิน

กสทช. ประกาศห้ามโดรนที่ไม่ได้ลงทะเบียนขึ้นบิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือป้องกันราชอาณาจักร จึงต้องกำหนดให้โดรนในไทยต้องขึ้นทะเบียนกับ “สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย” โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 ประกอบกับมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ประชุม กสทช. จึงมีคำสั่ง ดังนี้ (ขอสรุปเป็นภาษาทั่วไป)

 

  1. ห้ามโดรนขึ้นบินในประเทศไทย ยกเว้นโดรนนั้นมีการขึ้นทะเบียนแล้ว
  2. ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนมีดังนี้
    1. เอกสารและข้อมูลการลงทะเบียน- กรณีบุคคลซึ่งครอบครองการใช้งานให้แจ้ง ชื่อ-สกุลผู้ครอบครอง หมายเลขเครื่องหรือ Serial Number ยี่ห้อเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) และอื่นๆ ตามแบบฟอร์มของสำนักงาน กสทช. ภาพถ่ายของ Drone ที่ลงทะเบียน และบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้ครอบครอง- กรณีบุคคลซึ่งครอบครองเพื่อจำหน่าย (ร้านค้า)ให้แจ้งบัญชีแสดงรายการเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) ตามแบบฟอร์มของสำนักงาน กสทช. ภาพถ่ายของ Drone ที่ลงทะเบียน และบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้ครอบครอง
    2. สถานที่ลงทะเบียน ได้แก่ สำนักงาน กสทช. ถนนพหลโยธิน 8 (ซอยสายลม) พญาไท กรุงเทพฯ สำนักงาน กสทช. ภาค และสำนักงาน กสทช. เขต ทั่วประเทศ สถานีตำรวจทั่วประเทศ หรือที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
  3. ในการบังคับหรือปล่อยโดรน ให้ถือปฏิบัติตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) พ.ศ. 2558 ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง การบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) ระหว่างพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
  4. ให้ผู้ครอบครองโดรนดำเนินการขึ้นทะเบียนภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันนี้ (11 ต.ค. 2560)
  5. ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ที่มา: NBTC Official Site

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook