เปิดมุมมองคนรุ่นใหม่ จูนจูน และ แพรวา ในวันที่โซเชียล มีเดียมีบทบาทกับครอบครัวมากขึ้น

เปิดมุมมองคนรุ่นใหม่ จูนจูน และ แพรวา ในวันที่โซเชียล มีเดียมีบทบาทกับครอบครัวมากขึ้น

เปิดมุมมองคนรุ่นใหม่ จูนจูน และ แพรวา ในวันที่โซเชียล มีเดียมีบทบาทกับครอบครัวมากขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ก่อนหน้านี้หลายคนคงเคยเห็นวิดีโอ Family Reconnect จาก AIS สานรัก กันมาบ้าง เพราะเป็นวิดีโอที่เป็นกระแสและมีการแชร์ต่อเป็นจำนวนมากในโลกโซเชียล

     เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา AIS สานรัก ได้ต่อยอดความสำเร็จของวิดีโอให้กลายมาเป็นกิจกรรมเวิร์คช็อปในชื่อเดียวกันว่า “Family Reconnect”

     เวิร์คช็อปครั้งนี้เป็นการเปิดให้หลายครอบครัวได้ทดลองทำข้อสอบ Social Media Test ของจริงแบบเดียวกับในวิดีโอ รวมทั้งจัดกิจกรรมถ่ายรูปครอบครัว โดยมีไฮไลท์สำคัญของงาน คือ การพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาเกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียในครอบครัว และร่วมหาวิธีสร้างความเข้าใจเพื่อลดช่องว่างให้ใกล้ขึ้น

โดยในงานครั้งนี้ AIS สานรัก ได้เชิญครอบครัวคนรุ่นใหม่อย่างครอบครัวฉัตรชัยพลรัตน์ (แพรวา และคุณพ่อคุณแม่) ครอบครัว พูนพิริยะ (จูนจูน และคุณพ่อ) มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับครอบครัวที่เข้าร่วมเวิร์คช็อปครั้งนี้อีกด้วย


ช่วงการพูดคุยมีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะเรื่องเด็ดๆ ของสองสาว แพรวาและจูนจูน เมื่อพ่อแม่เริ่มหันมาใช้โซเชียลมีเดีย ทั้งสองคนจะเจอปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีปรับตัวอย่างไร คนรุ่นใหม่ที่พ่อแม่เริ่มหันมาใช้โซเชียลมีเดีย บอกเลยว่าห้ามพลาด!

“สวัสดีวันจันทร์ในมุมมองที่แตกต่าง”

     ปัญหาสุดคลาสสิคที่ลูกๆ เกือบทุกคนต้องเคยเจอเมื่อพ่อแม่เริ่มหันมาใช้งานโซเชียลมีเดีย คงหนีไม่พ้นการที่พ่อแม่ส่งรูปสวัสดีมาให้ทุกวัน!

     “วันนี้ก็มีค่ะ เมื่อเช้าเพิ่งส่งสวัสดีวันอาทิตย์มาแต่เช้าเลย” แพรวาพูดพร้อมหัวเราะเมื่อถูกถามว่า เคยได้รับรูปสวัสดีวันจันทร์จากคุณพ่อคุณแม่บ้างไหม แพรวาเล่าต่อว่า ในช่วงแรกๆ รู้สึกว่าการส่งรูปสวัสดีในทุกเช้าของคุณแม่เป็นปัญหาที่รู้สึกไม่โอเค เพราะต้องตื่นด้วยเสียงเตือน LINE จากคุณแม่ทุกเช้า

     แต่เมื่อลองมาคิดดูดีๆ ก็รู้สึกว่าจริงๆ แล้วการที่คุณแม่ส่งมาในตอนเช้าก็เพราะว่าตัวแพรวาเองอยู่ไกลกับพ่อแม่ เขาอาจจะแค่อยากรู้ว่าลูกตื่นหรือยัง สบายดีไหม แพรวาจึงเลือกปรับที่ตัวเองโดย การปิดเสียงเตือนก่อนนอน ตื่นมาถ้าเห็นสิ่งที่คุณแม่ส่งมาก็จะรีบตอบกลับ ให้คุณแม่รู้ว่าตื่นแล้ว คุณแม่จะได้สบายใจ หลังๆ ก็เริ่มรู้สึกว่าการส่งรูปสวัสดีของคุณแม่ก็เป็นอะไรที่น่ารักดีเหมือนกัน

     จูนจูนช่วยเสริมว่า คุณแม่จูนจูนก็มีส่งมาให้บ้างในช่วงแรก แต่พอเริ่มรู้ว่าลูกๆ ไม่ค่อยสนใจรูปสวัสดีวันต่างๆ แต่จะมาตอบเวลาคุณแม่ส่งข่าวหรือส่งสิ่งที่ลูกๆ สนใจ มากกว่า คุณแม่ก็เลยเก็บรูปสวัสดีไปส่งให้ในกลุ่มเพื่อนๆ แทน ส่วนในกลุ่มครอบครัว คุณแม่ก็จะส่งเรื่องที่ทุกๆ คนสนใจเหมือนกันมาให้แทน ก็ทำให้ได้คุยกันมากขึ้น


     สำหรับลูกๆ ที่กำลังเบื่อการส่งรูปสวัสดีทุกๆ วันของพ่อแม่ เราอยากให้ลองมองอีกมุมและนำวิธีการปรับตัวของแพรวามาปรับใช้ดู หรือคุณพ่อคุณแม่ที่ชอบส่งรูปสวัสดีให้ลูกๆ ลองเปลี่ยนเป็นส่งเรื่องที่ลูกๆ ชอบแบบคุณแม่จูนจูนดูบ้าง เราเชื่อว่าการใช้โซเชียลมีเดียในครอบครัวน่าจะมีความสุขมากขึ้น

“รู้เขารู้เรา โพสต์ร้อยครั้งชนะใจร้อยครั้ง”

 

     พ่อแม่ชอบแท็กทุกอย่างให้ลูก ทั้งๆ ที่ลูกไม่ได้อยากให้แท็กเป็นอีกหนึ่งปัญหาปวดใจที่ลูกๆ มักพบเจอ แพรวาและจูนจูนเองก็เคยเจอปัญหานี้เหมือนกัน

     “มีอยู่ช่วงหนึ่งคุณแม่แท็กแพรวามาทุกรูป ทุกที่ที่ไป จนเพื่อนโทรมาถามว่ากลับบ้านเหรอ เพราะเห็นคุณแม่แท็กรูปร้านอาหารที่ขอนแก่น” เข้าใจว่าคุณแม่อยากให้เรารู้ว่าคุณแม่ทำอะไรอยู่ ไปกินอาหารที่ไหน แต่ก็ไม่ต้องแท็กทุกอย่างแบบนี้ก็ได้ เลยบอกคุณแม่ว่าไปกินอะไร ไปเที่ยวไหนส่งมาให้ดูทาง LINE ก็ได้ หลังๆ ก็เลยมีการแท็กหาเราน้อยลง

     จูนจูนช่วยเสริมประเด็นการแท็กรูปว่า “พ่อแม่ทุกคนมองว่าลูกของเราน่ารักตลอดเวลา เวลาไปงานอะไร เขาก็จะถ่ายรูปเรา ไม่ได้ให้เราดู เขารู้สึกว่าเราน่ารัก เขาก็โพสต์เลย” วิธีการปรับตัวของจูนจูนคือ บอกคุณพ่อว่ารูปแบบไหนไม่อยากให้ลง หรือถ้าจะลงก็ขอดูก่อน คุณพ่อก็เข้าใจ

     จากตัวอย่างของจูนจูนและเพรวาจะเห็นว่าทุกๆ คนสามารถนำไปปรับใช้กับตัวเองได้ ในฝั่งลูกๆ เอง ถ้ารู้สึกว่ารูปแบบไหนหรือการแท็กอะไรที่ไม่ชอบมา ขอเพียงบอกพ่อแม่ตรงๆ พ่อแม่ก็พร้อมจะปรับเปลี่ยนวิธีการโพสต์ให้

     พ่อแม่เองก็ควรจะเรียนรู้กับลูกๆ ว่าเรื่องอะไรที่ลูกชอบ รูปแบบไหนที่ลูกอยากให้ลง เรียกง่ายๆ ว่าเรียนรู้กันและกัน รู้เขารู้เรา โพสต์ร้อยครั้งชนะใจร้อยครั้ง ไม่มีการปล่อยเบลออ่านแล้วไม่ตอบแท็กแล้วไม่ไลก์กันอีกแน่นอน!

“เอาที่สบายใจ”

 

     เอาที่สบายใจ เป็นศัพท์วัยรุ่นที่เอาไว้ใช้ประชดกันเวลาเบื่อที่จะพูดกับเพื่อน แต่สำหรับจูนจูนและแพรวา “เอาที่สบายใจ” ไม่ใช่คำที่เอาไว้ประชดใคร แต่เป็นวิธีคิดที่นำมาปรับใช้กับการใช้โซเชียลมีเดียในครอบครัว

     ในการใช้โซเชียลมีเดียในครอบครัวของสองสาวแพรวาและจูนจูนมีจุดหนึ่งที่คล้ายกันคือ ไม่มองทุกเรื่องที่พ่อแม่ทำว่าเป็นปัญหา หลายครั้งที่พ่อแม่ส่งต่อเรื่องราวที่แพรวาไม่สนใจ แพรวาจะใช้วิธี “อ่านแล้วส่งสติ๊กเกอร์ให้” เพื่อให้รู้ว่าลูกเห็นแล้วพ่อแม่จะได้สบายใจ ส่วนอันไหนที่พ่อแม่ส่งมาแล้วบอกว่าอยากให้อ่าน หรือแนะนำว่าดี แพรวาจะรอให้มีเวลาจริงๆ แล้วไปกลับอ่านเพื่อมาคุยกับพ่อแม่

     เล่าถึงตรงนี้คุณแม่แพรวาเล่าเสริมว่า “เคยมีการส่งวันผิดในกรุ๊ปเพื่อนๆ คือเราหลงวัน ลูกๆ จะบอกว่าไม่เป็นไรนะแม่ เอาที่แม่สบายใจ ตามสบาย แม่คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีนะคะ รู้สึกได้ใกล้ชิดกัน รักกันดี เราจะมีสาย Support คือลูกชายคนเล็ก ทุกสิ่งอย่างที่คุณแม่ส่ง เขาตอบทุกอย่างเลย มีลูก 3 คน คนโตไม่ใช่สายนี้ ไม่เคยตอบอะไรเลย แพรวามีบ้างนิดหน่อย เลยทำให้รู้สึกว่ามี LINE มี Facebook ก็ดีค่ะ”

 

     อีกเรื่องที่ลูกๆ มักคิดว่าเป็นปัญหาน่าเบื่อ คือการที่พ่อแม่ชอบส่งข่าวปลอมมาให้ ซึ่งเรื่องนี้จูนจูนได้แชร์วิธีปรับตัวไว้อย่างน่ารักทีเดียว

     “จูนเป็นคนอ่านหมดเลยนะคะ ข่าวที่พ่อแม่ส่งให้แล้วจูนก็จะค้นพบว่าบางข่าวเป็นข่าวปลอม เพราะเป็นคนทำงานด้านนี้ประมาณหนึ่ง เขียนคอนเทนต์เกี่ยวกับโซเชียลมีเดียอยู่แล้ว ล่าสุดคุณแม่จะอินเรื่องน้ำมันมะพร้าว บางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อถือ แต่ในความรู้สึกจูน จูนว่ามันคือความสบายใจของเขา เราไม่อยากไปขัดเขา บางทีเราก็จะ อ๋อ โอเค ถ้าความเชื่อเขาไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรง เราก็จะตามนั้น ให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจ”

     เรียกว่าเป็นวิธีคิดที่ลูกหลายๆ คนสามารถนำไปปรับใช้กับตัวเองได้ไม่ยาก สุดท้ายใจความสำคัญของการพูดคุยทั้งหมดก็คือ การเปิดใจพูดคุยกัน และทำความเข้าใจซึ่งกันและกันให้มากนั่นเอง



[Advertorial]

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook