สัมผัสแรกกับ DJI Mavic Air โดรนครบเครื่องที่ใช้ง่าย และ ถ่ายภาพสวย
หลังจากที่ DJI ได้เปิดตัว Mavic Air ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นโดรนที่หลายคนตั้งตารอคอยเพราะความสวย, ใช้งานง่าย, ฟังก์ชั่นเก๋ และถ่ายภาพดีอีกตางหาก ล่าสุดได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ซึ่ง Synnex เป็นตัวแทนจำหน่ายเช่นเคย ซึ่งทีม Sanook! Hitech ได้ไปลองภายในงานเปิดตัวสั้น ๆ และนำมาบอกเล่ากันกันเป็นน้ำจิ้มก่อนรีวิวจริงเร็วๆ นี้
แรกเห็น DJI Mavic Air
หลังจากที่เห็นในวินาทีแรก เข้าใจว่ารุ่นนี้เป็นร่างต่อจาก DJI Spark เพราะตัวเครื่องมีขนาดไม่เล็กและใหญ่ แต่เมื่อเทียบกับ Spark ใหญ่กว่านิดเดียว โดยสังเกตจากด้านบน จะมีช่องระบายอากาศ และปีกสามารถพับเก็บได้ทุกให้ตัวเครื่องดูน่าพกและใหญ่กว่ามือถือนิดหน่อย
แต่ที่เด่นคือเรื่องจัดเก็บอุปกรณ์ที่ชาร์จและความจำ อยู่ด้านหลังทำให้เสียบได้ง่ายมากขึ้น และตัวเครื่องถอดแบตเตอรี่ออกได้แบบง่ายดายแค่กดด้านข้างเครื่องเท่านั้น
ตัวเครื่องมีให้เลือก 3 สีคือ แดง, ขาว และ ดำ
คุณสมบัติเด่นที่พบระหว่างใช้งาน
DJI Mavic Air เป็นโดรนรุ่นแรกที่มีการพัฒนาความสามารถของการบินขั้นสูง แต่กลับใช้งานง่ายเพราะมีลูกเล่นทั้ง ระบบช่วยบิน FlightAutonomy 2.0 สามารถถอยและ และหลีกสิ่งกีดขวาง และเพิ่มความละเอียด ทำงานคู่กับ กล้อง 7 ตัวรอบทิศ และจับคนว่าอยู่ระแวกนั้นหรือไม่ พร้อมกับ APAS ระบบช่วยเหลือในการบินคำนวณความสูง ทำให้บินได้ง่ายผ่านการควบคุมด้วยรีโมท และ Application
นอกจากนี้ยังมี Gesture สั่งงานได้หลากหลายรูปแบบเช่น
- ใช้มือเดียวโบกเลี้ยวซ้ายขวาขึ้นลง เพื่อบังคับทิศทาง
- กางมือสุดแขน ผลักไปข้าง ๆ เพื่อให้โดรนห่างออก หรือ กางแขนสุดแล้วเอามือข้ามาชิด เพื่อให้โดรนมาใกล้
- ชู 2 นิ้วถ่ายภาพ
- ทำเป็นกรอบภาพ เพื่อถ่ายวิดีโอ
- ใช้มือเดียวลากลงจนขึ้นไฟแดง จะเป็นการ Landing (ทำตรงข้ามเป็นการ Take Off)
แถมตัวเครื่องรุ่นนี้แก้ปัญหาเรื่องของความจำไม่พอ ด้วยการใส่ความจำในตัวเครื่อง 8GB และสามารถเพิ่มได้ด้วย Micro SD แถมเปลี่ยนช่องชาร์จไฟแบบ USB-C ทำให้ถ่ายโอนข้อมูลได้เร็ว และชาร์จไฟเร็วได้อีกด้วย
และกล้องถ่ายภาพขนาด 12 ล้านพิกเซล ถ่ายภาพออกมาคมและดูดี นอกจากนี้ยังได้ในเรื่องของการถ่ายวิดีโอความละเอียด 4K แบบ 30FPS และรูปแบบการถ่ายภาพแบบ QuickCapture รวมไปถึงการถ่ายภาพแบบ Boomerang ได้เช่นกัน พร้อมกันสั่นแบบ 3 แกนระดับนิ่งมาก
สรุปหลังทดลอง DJI Mavic Air
เป็นอีกโดรนรุ่นหนึ่งที่ใช้งานและบินไม่คล่องตัว แถมมีลูกเล่นที่จะใช้รีโมท หรือใช้มือสั่งงานก็ทำได้ เริ่มเข้าใกล้ตัวคุณมากขึ้น และแบตเตอรี่อยู่ได้นานกว่ารุ่นเล็ก กับราคาที่แพงกว่ารุ่น Spark โดยขยับไปที่ 30,000 บาท และ 37,500 บาทสำหรับ Set Combo ก็ลองเลือกดูว่าแบบไหนคุ้มกว่าถ้าต้องการโดรนจริงๆ
แต่ภาพถ่ายนั้นจะดีจริงไหม ทีม Sanook! Hitech ขอแปะไว้ในตอนรีวิวแล้วเรามาดูกันอีกครั้งดีกว่าครับ
อัลบั้มภาพ 28 ภาพ