"บุพเพสันนิวาส" ตัวอย่างคลาสสิคของวงการทีวีดิจิทัลไทย

"บุพเพสันนิวาส" ตัวอย่างคลาสสิคของวงการทีวีดิจิทัลไทย

"บุพเพสันนิวาส" ตัวอย่างคลาสสิคของวงการทีวีดิจิทัลไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทีวีดิจิทัล มาถึงทางตันแล้วหรือไม่ มันจะมีทางรอดให้กับทุกรายหรือไม่ หรือว่าทางรอดนั้นมีให้เฉพาะรายใหญ่ รายเล็กตายสนิท ต้องมีแพลตฟอร์มของตัวเองไหม มาๆๆๆ ดูตัวอย่างที่ถือว่าเป็น classic case กันเลย

ปฏิเสธไม่ได้ว่า แม่นางการะเกด จากละครเรื่องบุพเพสันนิวาส จากช่อง 3 ได้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ในวงการทีวีดิจิทัล เฉกเช่นเดียวกับตอนที่เกิดกระแส The Mask Singer ซีซั่น 1 ของเวิร์คพอยท์ ถามว่า Content แบบนี้คาดกันก่อนหรือไม่ว่าจะ “ปัง” ตอบเลยไม่มีใครคิดและเตรียมการ แต่เมื่อมันฮิตแล้ว การที่ทีวีดิจิทัลจะตักตวงจากมันควรทำอย่างไร?

img_2295_1522295319

สร้างแพลตฟอร์มคู่ขนานช่องทีวี

เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว ทุกรายดูเหมือนไม่ต่างกัน มีเฟซบุ๊กแฟนเพจ มีเฟซบุ๊กไลฟ์ มียูทูปแชแนล มีแอพพลิเคชั่นเป็นของตัวเอง ที่ทำเพราะมันต้องมี จำเป็นต้องมี หรือทำแล้วเวิร์คสุดๆ

หลักการมีอยู่ง่ายๆ คือ ช่องทีวีดิจิทัลมองว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นตัวเสริม หรือมองว่าดิจิทัลนี่แหละจะเป็นตัวสร้างรายได้แหล่งใหม่ของธุรกิจทีวี ถ้าคิดอย่างแรกธุรกิจหลักยังอยู่ที่ทีวี ทำอะไรก็คิดถึงแหล่งรายได้จากทีวีก่อน แพลตฟอร์มต่างๆ เป็นแค่เครื่องมือทางการตลาดเท่านั้น ความคิดที่จะแตะต้องรายได้หลักถือเป็นข้อห้ามอย่างยิ่งยวด แต่ถ้าคิดอย่างหลังต้องมุ่งหวังที่จะสร้างรายได้จากอินเทอร์เน็ตทีวี โดยมีทีวีเดิมเป็นเครื่องมือการตลาด การสร้างรายได้จากอินเทอร์เน็ตต้องแยกออกมาชัดเจน และต้องทำให้รายได้มันแซงรายได้จากทีวีให้ได้ แค่คิดต่างก็จะเห็นแนวทางของแต่ละช่องทีวีแล้ว

เคสบุพเพสันนิวาสนั้น ส่งแรงกระเพื่อมไปยังแอพ Mello อย่างมาก ยอดดาวน์โหลดกระฉูด ถือเป็นการตั้งต้นที่ดี คราวนี้ก็ต้องอยู่ที่ว่า Mello จะอยู่ยั้งยืนยง จะเป็นที่พึ่งพาทางด้านรายได้หรือไม่ ที่สำคัญเป็นที่พึ่งให้กับคนดูได้หรือไม่ต่างหาก

ดังนั้น การรอดหรือไม่รอด ก็ต้องดูทัศนคติของผู้บริหารช่องทีวีดิจิทัลเป็นอันดับหนึ่ง

เรตติ้งแค่กระแส เดี๋ยวก็มาเดี๋ยวก็ไป

หลังจากละครบุพเพสันนิวาส ค่อยๆ ไต่เรตติ้งขึ้นมา คนทำทีวีดิจิทัลอาจจะชื่นใจ โฆษณาลงตรึมขายกันไม่หวาดไม่ไหว นี่มันวิธีคิดแบบเก่าชัดๆ พึงพอใจแค่มีเรตติ้งดี แต่ถ้าผู้บริหารช่องคิดเช่นนั้นก็ผิดมหันต์แล้ว

การวัดเรตติ้งในยุคดิจิทัลนั้นมันไม่สิ้นสุดที่กล่อง แน่นอนกระแส Digital Content จากการเป็นสื่อของคนใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกมันได้ปั่นเรตติ้งที่แท้จริงให้พุ่งไปกว่าเดิมเป็นร้อยเป็นพันเท่า ไม่ว่าการดูจากไลฟ์สด การดูจากละครย้อนหลัง การโพสต์ลงในไอจี เฟซบุ๊ก ฯลฯ ล้วนแต่เป็นการเพิ่มตัวคูณทุกช่องทางให้กับรายการ

แต่การมานั่งนับกระแส วัดเรตติ้งเพิ่มเช่นนี้ มันไม่ได้ช่วยให้เงินในกระเป๋าของช่องเพิ่มแต่อย่างใด โฆษณาที่ลงในแพลตฟอร์มดิจิทัลหลักเต็มเวลาก็แค่ 40-50 ล้าน ต่อละครหนึ่งเรื่อง มันก็ช่างจิ๊บจ๊อยซะเหลือเกิน การปั่นเรตติ้งเป็นเงินทวีคูณมันเป็นเรื่องของการคิดจากการทำอินเทอร์เน็ตทีวี หาใช่ทีวีดิจิทัลที่มีอยู่ไม่

ดังนั้น การคาดคะเนเรตติ้งล่วงหน้า ช่องไม่มีทางรู้หรอก แต่ต้องคิดใหม่ว่า ถ้ามีคอนเทนต์ในทีวีที่ปังขึ้นมา อินเทอร์เน็ตทีวีจะหยิบฉวยมาทำเงินได้อย่างไร จะใช้ทรัพยากรที่ไหนอย่างไรมาสร้างรายได้ต่อเนื่อง การที่มานั่งชื่นชมเรตติ้งจนละครจบไปแล้วไม่ได้ทำอะไรต่อนั่นคือหายนะ (การเพิ่มตอน มองแค่ทีวีก็ดูจะสั้นไปนะ)

ลองผิดลองถูก แบบคิดการใหญ่

เมื่อละครบุพเพสันนิวาสดังขึ้นมา หากคุณเป็นผู้บริหารจะทำอย่างไรต่อ ประสบการณ์จากเวิร์คพอยท์ตอนทำ The Mask Singer คือ ในแพลตฟอร์มดิจิทัลจะทำรายการครอบหัวครอบท้าย รวมถึงสร้างคอนเทนต์ใหม่ที่ไม่เหมือนรายการในทีวี โฆษณาก็ไม่เหมือนกัน และทำคู่ขนานไปกับรายการทีวีที่โด่งดังของตัวเอง

การลองผิดลองถูกเช่นนี้จะกลายเป็นทางเลือกใหม่ให้กับคนดู อย่าลืมว่าแนวโน้มคนจะดูทีวีนั้นลดน้อยลง คนจะดูจากอินเทอร์เน็ตมากขึ้น และถ้ารายการไหนดังคนยิ่งอยากดูแบบไม่จำกัด และอินเทอร์เน็ตทีวีนี่แหละที่สนับสนุนความอยากของคนรุ่นใหม่ได้

บ้านเรายังไม่มีใครเคยลองทำ รายการเฉพาะสำหรับละครเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และไม่ใช่ละครทุกเรื่องจะสามารถทำได้ แต่ถ้ามันทำได้ทำไมจะไม่ทำ ในเมื่อมันพร้อมทุกอย่างซะขนาดนั้น

ที่เรายังเห็นนักวิเคราะห์เกมฟุตบอลในรายการถ่ายทอดสดได้ นับประสาอะไรเราจะทำกับรายการละครไม่ได้ การที่ช่องสามไม่ทำปล่อยให้เกิดการสร้างเนื้อหาโดยคนอื่น ในแง่มุมต่างๆ นี่เรียกว่าเป็นการเสียโอกาส และทำให้การชิงสร้างคอนเทนต์ทั้งแง่บวกและลบ กลายเป็นยุทธศาสตร์การตั้งรับไป ในเชิงพีอาร์ถือว่าสุ่มเสี่ยงอย่างมาก

ดังนั้น ผู้บริหารอย่ามัวแต่ไปแก้เกมเรื่องหุ้นของบริษัท แต่ต้องกล้าลองผิดลองถูก คิดใหม่และคิดใหญ่ สร้างปรากฏการณ์กันไปเลย ไม่อย่างนั้นพอกระแสตก ก็กลับไปต่อแถวช่องหลากสีเหมือนเดิม

สุดท้าย ละครปังเมื่อเรื่องมันจบกระแสก็คงจบตาม สต็อกที่มีอยู่เป็นปีตามระบบช่อง ก็ไม่สามารถรับกระแสที่มีอยู่ได้ ไม่ว่าช่องไหนถ้าคิดทำแค่เนื้อหาในทีวีดีก็พอ ได้เรตติ้งได้เงินโฆษณาเต็มเม็ดเต็มหน่วยกับเนื้อหาดีๆ เสร็จแล้วก็ปล่อยให้มันมาแล้วก็ไป ความฝันที่จะก้าวข้าม การมัดใจกลุ่มคนรุ่นใหม่ การสร้างรายได้ใหม่ๆ การใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดศักยภาพ มันก็ไม่เกิด เสียดายละครดีอย่างบุพเพสันนิวาสจัง

บุพเพสันนิวาส ย้อนหลัง และ เรื่องย่อ ละครช่อง 3

เปิดประวัติ "ท้าวทองกีบม้า" ราชินีขนมไทยใน "บุพเพสันนิวาส" จากสูงสุดสู่จุดต่ำสุดในชีวิต

เรื่องควรรู้ของ "พระเจ้าเสือ" กับบทบาทในสมัยอยุธยา

เล่าประวัติศาสตร์ "พระเพทราชา" ต้นกำเนิดพระราชวงศ์บ้านพลูหลวง

ค้นข้อมูล "เจ้าพระยาวิชเยนทร์" บุคคลในประวัติศาสตร์ที่น่าค้นหา

10 คำศัพท์ บุพเพสันนิวาส ที่ออเจ้าทั้งหลายควรรู้

 

อัลบั้มภาพ 33 ภาพ

อัลบั้มภาพ 33 ภาพ ของ "บุพเพสันนิวาส" ตัวอย่างคลาสสิคของวงการทีวีดิจิทัลไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook