สุดตึงเครียด มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ตอบคำถาม สภาคองเกรส กรณี Cambridge Analytica

สุดตึงเครียด มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ตอบคำถาม สภาคองเกรส กรณี Cambridge Analytica

สุดตึงเครียด มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ตอบคำถาม สภาคองเกรส  กรณี Cambridge Analytica
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่ Cambridge Analytica บริษัทที่ช่วยทำแคมเปญหาเสียง ได้ถูกเปิดโปงในกรณีละเมิดการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ Facebook โดยที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการผลิตสื่อจูงใจผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง และกล่าวร้ายฝ่ายตรงข้ามด้วยโฆษณาชวนเชื่อ และอาจส่งผลต่อคะแนนการเลือกตั้งเมื่อปี 2016 ด้วย

นั้นทำให้ Facebook ถูกตั้งคำถามในด้านความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ โดยส่งผลถึงการปรับเปลี่ยนการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ของ Facebook ในเวลาต่อมา รวมถึงการระงับบัญชีหลายรายที่ละเมิดการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ด้วย

เผชิญหน้าสภาคองเกรส ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2018 ที่ผ่านมา มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Facebook วัย 33 ปี ได้ตอบคำถามต่อคณะกรรมาธิการสภาคองเกรสอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา 44 คน และตัวแทนจากคณะกรรมาธิการด้านพลังงานและการพาณิชย์ 55 คน

การซักถามดังกล่าวใช้เวลานานถึง 5 ชั่วโมง โดยมีประเด็นการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้กว่า 87 ล้านยูสเซอร์ รวมถึงกรณี Cambridge Analytica ที่ใช้แพลตฟอร์มนี้ในการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อและข้อมูลแบบผิดๆ และส่งผลให้ต่างประเทศ (เช่น รัสเซีย เป็นต้น) นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ได้

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้กล่าวแสดงความเสียใจและยอมรับต่อ “ความผิดพลาดครั้งใหญ่นี้” อย่างมั่นใจ โดยจะดำเนินการปรับปรุงเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก และเน้นย้ำว่า “ไม่ได้ขายข้อมูลผู้ใช้”

แต่เขาก็ยังไม่สามารถตอบคำถามในประเด็นสำคัญคัญอย่างความน่าไว้วางใจได้ชัดเจนนัก

ประเด็นสำคัญต่างๆ มีดังนี้

1. มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เปิดเผยว่า พนักงานจำนวนหนึ่งของ Facebook ได้ถูกสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบสวนของ โรเบิร์ท มูเอลเลอร์ อดีตผู้อำนวยการ FBI ซึ่งเป็นที่ปรึกษาพิเศษ คุมงานสืบสวนกรณีที่รัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2016 แต่ตัว มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เองไม่เคยถูกสัมภาษณ์

2. Facebook ได้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดคำสั่งคณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลาง (Federal Trade Commission: FTC) เมื่อปี 2011 ซึ่ง มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้ปฏิเสธ โดยคำสั่งดังกล่าวได้กำหนดว่า Facebook จะต้องป้องกันข้อมูลผู้ใช้อย่างไร และต้องได้รับความยินยอมก่อนที่จะถูกแชร์ ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในกรณี Cambridge Analytica นี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า Facebook ได้ล้มเหลวในการป้องกันข้อมูล

3. Facebook ได้พิจารณ์ให้มีตัวเลืิอกในการสมัครรับข้อมูลโฆษณา

4. มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ยอมรับว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้อ่านข้อกำหนดในการให้บริการของโซเชียลเน็ตเวิร์คก่อนที่จะลงทะเบียน

5. Facebook ไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นพิเศษในกรณ๊ที่ รัสเซีย หรือจีน เจาะข้อมูลและสร้างโปรไฟล์บนยูสเซอร์ ซึ่ีง มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้กล่าวว่า “Facebook กำลังสืบสวนกรณีของ Cambridge Analytica และใครบ้างที่เก็บรายละเอียดข้อมูลผู้ใช้”

6. สมาชิกวุฒิสภา เท็ด ครูซ ได้เน้นย้ำว่า Facebook เป็นตัวสร้างรูปแบบของอคติและการเซ็นเซอร์ทางการเมือง

7. มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ปฏิเสธที่จะเปิดเผยว่าพักโรงแรมไหน ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ดิก เดอร์บิน ได้กล่าวว่านี่เป็นประเด็นสำคัญ เรื่องของสิทธิและข้อจำกัดในความเป็นส่วนตัว และต้องการชี้ให้เห็นถึงการจัดการข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook

เผชิญหน้าสภาคองเกรส ครั้งที่ 2

ต่อมาในวันที่ 11 เมษายน 2018 ที่ผ่านมา มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เข้าตอบคำถามต่อสภาคองเกรสเป็นครั้งที่ 2 โดยมีประเด็นสำคัญต่อเนื่องจากครั้งที่ 1 ดังนี้

1. Facebook ตัดสินใจใช้รูปแบบของ GDPR (General Data Protection Regulation: ร่างกฎหมายให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2018) ในการป้องกันข้อมูลผู้ใช้ทั่วโลก

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กล่าวว่า GDPR มีหลายส่วนที่สำคัญ และจะนำมาใช้กับแพลตฟอร์ม โดยจะมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศ

3. โปรไฟล์ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ก็หลุดไปให้กับ Cambridge Analytica ด้วยเช่นกัน

4. Facebook ถูกบีบให้สร้างการป้องกันความเป็นส่วนตัวสำหรับผู้เยาว์ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี

5. สภาคองเกรสต้องการให้ Facebook ป้องกันการขายยาเสพติดออนไลน์ให้รัดกุมมากขึ้น

ทั้งนี้ ในการตอบคำถามวันที่ 2 นี้ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ยังคงขออภัยและแสดงความรับผิดชอบในข้อผิดพลาด และย้ำในเรื่องนโยบายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีอย่าง Cambridge Analytica ขึ้นอีก

อารมณ์ขันในบรรยากาศตึงเครียด

นอกเหนือจากบรรยากาศความตึงเครียดแล้ว การตอบคำถามในครั้งนี้ยังแฝงไว้ซึ่งอารมณ์ขันแปลกๆ เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น

สมาชิกวุฒิสภา บิล นีลสัน : “ผมติดต่อกับเพื่อนผมผ่าน Facebook และแสดงความสนใจว่าผมชอบช็อกโกแลต และทันใดนั้นเอง ผมก็ได้รับโฆษณาเกี่ยวกับช็อกโกแลต จะเป็นอย่างไรถ้าผมไม่อยากได้รับโฆษณาขายของเหล่านี้”

สมาชิกวุฒิสภา มาเรีย แคนท์เวล ได้กล่าวถึง “Stanford Analytica” ซึ่ง มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ก็ตอบว่าไม่รู้จัก แท้จริงคือการอ้างอิงถึง “Cambridge Analytica”

สมาชิกวุฒิสภา ออร์ริน แอทช์ : “คุณดำเนินรูปแบบธุรกิจอย่างไร ถ้าผู้ใช้ไม่ต้องการจ่ายค่าบริการให้คุณ”

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก : “ท่านสมาชิกวุฒิสภาครับ เรารันโฆษณาครับ”

สมาชิกวุฒิสภา ออร์ริน แอทช์ : “ผมเข้าใจล่ะ ยอดเยี่ยมมากเลย”

สมาชิกวุฒิสภา ธอม ทิลล์ส : “ผมมีเพื่อน 4,900 คน ใน Facebook ผมลบคนที่เกลียดผมออกไปเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับสมาชิกในครอบครัว และเพื่อนสนิทของผม ผมเป็นแฟนตัวยงของ Facebook”

สมาชิกวุฒิสภา บิลลี ลอง : “แล้ว Facemash ล่ะ ยังมีอยู่ไหม”

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก : “ไม่ครับ เคยมีหนังเกี่ยวกับมัน หรือเคยพูดถึงเกี่ยวกับมัน”

เป็นการอ้างอิงถึงภาพยนตร์ The Social Network เมื่อปี 2010 และ Facemash เป็นแอปที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก สร้างขึ้นเมื่อ 15 ปีก่อน

ข้อมูลอ้างอิง : uk.businessinsider , businessinsider , businessinsider , theverge และ thever

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook