รู้จัก “Max-Mesh” อุปกรณ์สื่อสารจากอิสราเอล หนึ่งในผู้ช่วย “ทีมหมูป่า”

รู้จัก “Max-Mesh” อุปกรณ์สื่อสารจากอิสราเอล หนึ่งในผู้ช่วย “ทีมหมูป่า”

รู้จัก “Max-Mesh” อุปกรณ์สื่อสารจากอิสราเอล หนึ่งในผู้ช่วย “ทีมหมูป่า”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกจากจะเป็นที่จับตามองจากคนไทยทั่วประเทศแล้ว การเอาชีวิตรอดของเหล่านักฟุตบอลทีมหมูป่าอะคาเดมี ยังเป็นที่สนใจจากทั่วโลกด้วย เพราะนอกจากสื่อมวลชนต่างประเทศจะพากันมาทำข่าวแล้ว ยังมีเหล่าเจ้าหน้าที่กู้ภัยและนักดำน้ำจากประเทศต่างๆ ที่อาสามาช่วยเจ้าหน้าที่ไทยตามหาทั้ง 13 ชีวิต และหนึ่งในนั้นก็คือผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอิสราเอล ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีการสื่อสารชื่อว่า Max-Mesh

Doungchampa Spencer-Isenbergภาพใกล้ ๆ ของ Max-Mesh

Max-Mesh คือวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่สำหรับมืออาชีพ ที่มีลักษณะคล้ายกับวอล์กกี-ทอล์กกี แต่มีความซับซ้อนกว่าวิทยุรับส่งแบบพกพาทั่วไป เพราะเจ้าวิทยุเครื่องนี้ใช้ซอฟต์แวร์อัลกอริธึมสุดล้ำที่พัฒนาโดย Maxtech Networks บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารฉุกเฉินจากอิสราเอล และสามารถใช้เป็นทั้งวิทยุสื่อสารและเครื่องถ่ายทอดสัญญาณไปในเวลาเดียวกันได้ รวมทั้งให้การสื่อสารที่ปลอดภัย ทั้งในรูปแบบเสียงและวิดีโอ โดยไม่ต้องมีสัญญาณหรือโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพใดๆ พร้อมช่วงสัญญาณลึกอย่างน้อย 2 – 3 กิโลเมตร โดยปัจจุบันนี้ มันถูกใช้ในกิจกรรมเกี่ยวกับอวกาศและความมั่นคง ในประเทศต่างๆ เช่น อิสราเอล อิตาลี และอินเดีย

อูซี ฮานูนี ซีอีโอของ Maxtech ได้ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ NoCamels ว่า ทางบริษัทได้รับการติดต่อจากหน่วยซีลของไทย เพื่อขอซื้อ Max-Mesh สำหรับสื่อสารในพื้นที่ถ้ำหลวง โดยยินดีจะจ่ายเงินเท่าใดก็ได้ แต่ทางบริษัทได้จัดหาอุปกรณ์พร้อมส่งผู้เชี่ยวชาญไปสอนวิธีใช้งาน Max-Mesh โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และตั้งใจที่จะช่วยเหลือเด็กๆ เท่านั้น

“เมื่อเด็กๆ ตกอยู่ในภาวะเสี่ยง เราก็ไม่ลังเลที่จะเดินทางจากอิสราเอลไปช่วย มันเป็นธรรมชาติของเรา” ฮานูนีกล่าว

ยูวาล ซาลมานอฟ วิศวกรซอฟต์แวร์อาวุโสของ Maxtech เป็นผู้ที่อาสาบินมายังประเทศไทย เพื่อดูแลและสอนวิธีการใช้งานอุปกรณ์ โดยมีการติดต่อกับฮานูนีตลอด และเรียกได้ว่าทีมงานจากอิสราเอลเป็นทีมจากต่างประเทศทีมเดียวที่ให้ความช่วยเหลือเรื่องเทคโนโลยีการสื่อสารในการกู้ภัยครั้งนี้ ซึ่งฮานูนีกล่าวว่า เขารู้สึกดีใจมากที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยพบตัวทีมหมูป่าทั้ง 13 คน และรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นความสำเร็จในการผสมผสานเทคโนโลยีเข้ากับการช่วยชีวิตคน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook