Google AI ตรวจจับเซลล์มะเร็งเต้านมระยะลุกลามได้ดีกว่านักพยาธิวิทยา ให้ความแม่นยำสูงถึง 99%
การแพทย์ก้าวหน้า! Google AI ตรวจจับเซลล์มะเร็งเต้านมระยะลุกลามได้ดีกว่านักพยาธิวิทยา ให้ความแม่นยำสูงถึง 99%
ทำ AI แข่งเกมโกะกับคนจริงๆ ก็ทำมาแล้ว คราวนี้ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอทีก็ได้โอกาสสร้าง AI เพื่อรักษาชีวิตมนุษย์กันบ้าง โดยล่าสุด Google เผยว่า AI อาจกลายเป็นสิ่งสำคัญในอนาคต ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจจับเซลล์มะเร็ง
โดยนักวิจัยของกูเกิลได้ออกแบบและพัฒนาระบบ Deep Learning ที่ตรวจจับเซลล์มะเร็งเต้านมระยะลุกลามในสไลด์ ได้แม่นยำกว่านักพยาธิวิทยาเสียอีก ซึ่งนักวิจัยได้พัฒนาอัลกอริทึมที่ชื่อว่า Lymph Node Assistant (LYNA) เพื่อจำแนกลักษณะของเนื้องอกจากสไลด์ตัวอย่างทั้งสองชุด จึงสามารถตรวจหาการแพร่กระจายของเนื้อร้ายได้หลายรูปแบบ นอกจากนี้ AI ยังแยกแยะสไลด์ที่มีเซลล์มะเร็งกับสไลด์ที่ไม่มีเซลล์มะเร็งได้แม่นยำถึง 99% (ในเงื่อนไขที่เหมาะสม) แม้ว่าจะเล็กมากจนนักพยาธิวิทยาอาจหาไม่เจอก็ตาม
อัลกอริทึม LYNA จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อทำหน้าที่เสมือนผู้ช่วย : นักพยาธิวิทยาได้วินิจฉัยแบบจำลอง พบว่า เทคโนโลยี Deep Learning ช่วยทำให้งานของพวกเขา (นักพยาธิวิทยา) ง่ายขึ้น ไม่เพียงแต่ลดอัตราการแพร่กระจายของเชื้อเท่านั้น แต่ยังลดระยะเวลาในการวินิจฉัยให้น้อยลงจาก 2 นาที เหลือแค่ 1 นาที อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังเป็นแค่งานวิจัย และยังไม่ได้นำมาใช้ร่วมกับการวินิจฉัยโรคจริงๆ ต้องรอดูกันต่อไปว่า หากนำมาใช้ในการรักษากับผู้ป่วยแล้ว จะมีสมาคมทางการแพทย์ที่ไหนรับรอง AI ตัวนี้บ้าง