แนะนำ App (ฟรี) เช็กค่าฝุ่นละอองที่มากกว่า PM 2.5 ทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

แนะนำ App (ฟรี) เช็กค่าฝุ่นละอองที่มากกว่า PM 2.5 ทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

แนะนำ App (ฟรี) เช็กค่าฝุ่นละอองที่มากกว่า PM 2.5 ทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดูเหมือนตอนนี้ปัญหาหมอกควันปกคลุมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล จนเกินค่าฝุ่น PM 2.5 ยังนับเป็นเรื่องวิกฤตต่อเนื่อง เชื่อว่าหลายคนอาจมองเป็นปัญหาไกลตัวมาก แต่วันนี้หากคุณเป็นคนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะสัมผัสได้ว่าช่วง 1 อาทิตย์ที่ผ่านมาค่าฝุ่นละอองในอาหาศสามารถสัมผัสได้ด้วยตาอย่างชัดเจน

>> หมอกควันปกคลุมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ค่าฝุ่น PM 2.5 วิกฤตต่อเนื่อง

วันนี้ทางทีมงาน Sanook! Hitech มีแอปพลิเคชั่นฟรีที่สามารถนี้วัดค่าฝุ่นละอองในอาหาศมาแนะนำกัน สำหรับแอปพลิเคชั่นดังกล่าวมีชื่อว่า AirVisual ซึ่งมีเราโหลดได้ทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ครับ

iTunes - Apple

Google Play

1547435454219

สำหรับการใช้งานก็ทำได้ไม่ยาก มีให้เลือกเล่นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

  • เริ่มด้วยการดาวน์โหลด AirVisual
  • ทำตามขั้นตอนที่ตัวแอปให้เราเลือก จนกว่าจะเสร็จตามกระบวนการ
  • หากต้องการเลือกเป็นเมือง ก็สามารถระบุเมืองหรือประเทศที่ต้องการลงไปได้เลย

4

3

2

ในตัวแอปเราสามารถกำหนดเมืองที่ต้องการดูค่าฝุ่นละอองได้ทั่วโลกครับ แต่สำหรับตัวอย่างนี้เราเลือกเป็น Bangkok เพราะตอนนี้กรุงเทพค่าฝุ่นหนักสุดๆ

25620114_190114_0007

การดูค่าดัชนีคุณภาพอากาศ

ดัชนีคุณภาพอากาศ เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ซึ่งดัชนีคุณภาพอากาศเป็นรูปแบบสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และประเทศไทย เป็นต้น

untitled-1

ดัชนีคุณภาพอากาศที่ใช้อยู่ในประเทศไทย คำนวณโดยเทียบจากมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปของสารมลพิษทางอากาศ 5 ประเภท ได้แก่ ก๊าซโอโซน (O3) เฉลี่ย 1 ชั่วโมง ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เฉลี่ย 1 ชั่วโมง ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เฉลี่ย 8 ชั่วโมง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ดัชนีคุณภาพอากาศที่คำนวณได้ของสารมลพิษทางอากาศประเภทใดมีค่าสูงสุด จะใช้เป็นดัชนีคุณภาพอากาศของวันนั้น

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง มากกว่า 300 ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย (ตารางที่ 1) โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

เรียกได้ว่าตอนนี้ชีวิตคนกรุงออย่างเราน่าเป็นห่วงสุดๆ และดูเหมือนหน่วยงานที่เกียวข้องก็ยังไม่มีแนวทางแก้ไขอะไรที่ชัดเจนออกมาให้เราได้อุ่นใจเลย!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook