รีวิว “ASUS Zenbook 14 (UX433)” Ultrabook บางเบาที่สุดในโลก ราคาไม่ถึง 4 หมื่น

รีวิว “ASUS Zenbook 14 (UX433)” Ultrabook บางเบาที่สุดในโลก ราคาไม่ถึง 4 หมื่น

รีวิว “ASUS Zenbook 14 (UX433)” Ultrabook บางเบาที่สุดในโลก ราคาไม่ถึง 4 หมื่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลับมาพบกับรีวิวจากทีม Sanook! Hitech กันอีกแล้ว ในครั้งนี้ทีมจะพบคุณมาพบกับความงดงามและศิลปแห่งเทคโนโลยีจากคอมพิวเตอร์ Notebook รุ่นใหม่จาก ASUS อย่าง ASUS Zenbook 14 รุ่นล่าสุดที่มีรหัส UX433 มาดูกันว่ามันมีคุณงามความดีแค่ไหน

รูปลักษณ์ภายนอกตัวเครื่องและการออกแบบดีไซน์ของ ASUS Zenbook 14 (UX433)

เริ่มต้นกับวัสดุด้านหน้าที่เป็นอะลูมิเนียมพร้อมโลโก้ ASUS ตัดเป็นวงกลมที่ดูเด่นเป็นเอกลักษณ์ เมื่อดูไปแล้วก็เป็นเอกลักษณ์ของ Notebook ยี่ห้อนี้ โดยเฉพาะรุ่นบน

 ด้านข้างของเครื่องจะมีความหนาเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ Ultrabook ทั่วไปเล็กน้อย แต่มีข้อดีที่ช่องเสียบครบทุกช่อง ไม่ว่าจะเป็นฝั่งซ้ายบนสุดจะมี USB 3.0 แบบปกติ,  HDMI, ช่องเสียบชาร์จไฟ

p1140534

p1140535

 ฝั่งขวามีช่องเสียบ USB 2.0, ช่องเสียบหูฟัง, MicroSD

p1140536

p1140537

 ส่วนหน้าสุดของเครื่องมีติ่งที่สามารถยกบานหน้าของเครื่องได้ทั้งหมด

ส่วนด้านหลังของเครื่องเป็นที่อยู่ของ Heat Sink แต่เมื่อยกจอขึ้น ส่วนนี้ก็จะถูกบังเพื่อให้หน้าจอตั้งกับพื้นประมาณ  3 องศาช่วยให้การพิมพ์นั้นง่ายมากขึ้น พร้อมกับโลโก้ Zenbook สังเกตว่าด้านหน้าจะยื่นออกมาเพื่อให้เปิดจอแล้วยกขึ้น

 ด้านใต้ลำโพงอยู่ทั้งใต้แผงรองมือทั้งซ้ายและขวาของเครื่องและเป็นที่อยู่ส่วนนี้ไม่มีระบบระบายอากาศมาให้เนื่องจากติดตั้งที่ด้านหน้าไปหมดแล้ว

p1140561

p1140562

p1140563

 เมื่อเปิดฝาเครื่องหน้าจอจะดันให้ตัวเครื่องยกขึ้นเล็กน้อย ทำให้ช่วยพิมพ์ได้สะดวกมากขึ้น โดยภาพประกอบไปด้วยหน้าจอ NANO EDGE ขนาด 14 นิ้ว มาพร้อมกับขอบที่ชิดและจอใส่กิ๊ก รับชมภาพยนต์ได้คมชัด

p1140552

มาพร้อมกับ Keyboard ขนาดใหญ่พอสมควร และจัดวางแบบกดพิมพ์ได้ง่าย พร้อมกับไฟเรืองแสงสวยงาม และมี Numpad ที่ TouchPad ในบางรุ่น

ฟิลลิ่งการสัมผัส / น้ำหนัก / สีสันของเครื่อง

ตัวเครื่องถือว่าน้ำหนักเบาเพียงแค่กิโลเดียวและขนาดของเครื่องถือว่าเล็กและพกพาง่ายกว่าที่คาดคิด แต่ว่าสิ่งที่ต้องระวังคือ การเกิดรอยจากความเงางามของเครื่องนั่นเอง

สำหรับสีสันของเครื่องมีทั้งสีน้ำเงิน Royal Blue และ Icicle Silver แต่ใครรอ เบอร์กันดี้ เรด เจอกันในงาน Commart Connect 2019 นะครับ

เปิดเครื่อง ลองฟังและลองใช้ฟีเจอร์ของ ASUS Zenbook 14 (UX433)

ก่อนที่จะชมรายละเอียดของเครื่องเรามาเจาะสเปคของ ASUS Zenbook 14 UX433 ที่ Sanook! Hitech ได้มารีวิวกันหน่อยว่าจะเป็นอย่างไรกันบ้าง

รายละเอียดของ ASUS Zenbook 14 (UX433)

  • หน้าจอแสดงผลขนาด 14 นิ้วความละเอียด 1920x1080 พิกเซล
  • ขนาด : กว้าง 31.9  x ยาว 19.9 x หนา 1.59 เซนติเมตร
  • หนัก : 1.19 กิโลกรัม
  • ชิปเซ็ตประมวลผล : Intel® Core™ i7-8565U processor 1.8GHz quad-core with Turbo Boost (up to 4.6GHz) and 8MB cache
    • Intel® Core™ i5-8265U processor 1.6GHz quad-core with Turbo Boost (up to 3.9GHz) and 6MB cache
  • ชิปประมวลผลกราฟิก : Intel Graphic HD 620, NVidia GeForce MX150 2GB GDDR5
  • RAM : 8GB
  • ความจุ(ROM) : SSD 512GB + MicroSD
  • กล้องหน้า : HD Camera
  • ตัวเชื่อมต่อ (Port) ช่องเสียบหูฟัง, HDMI, USB-C 1 ช่อง, USB 3.0 1 ช่อง, USB 2.0 ช่องเสียบชาร์จไฟ
  • เชื่อมต่อ WiFi 802.11 AC, Bluetooth V5.0
  • ระบบปฏิบัติการ : Windows 10 64 Bit
  • แบตเตอรี่ขนาด 4 Cell ที่ชาร์จแบบ 65W Power Adapter (Output: 19V DC, 3.42A, 65W) (Input: 100-240V AC, 50/60Hz universal) สายแบบปกติ

การทดสอบประสิทธิภาพ

ผลการทดสอบ SSD ถือว่าให้ความเร็วที่และสเปคของเครื่องเหมาะกับการทำงานเบาๆ และกราฟิกได้เล็กน้อย เพราะว่าข้อจำกัดของการ์ดจอ อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้เล่นเกมอาจจะได้แค่บางรูปแบบเท่านั้น

ระบบปฏิบัติการและฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ ASUS Zenbook 14 UX433

ระบบปฏิบัติดการของ ASUS Zenbook UX433 ขนาด 14 นิ้วและรวมไปถึง UX Series ในปีนี้ ก็จะเลือกใช้ Windows 10 Pro พร้อมกับ ระบบความปลอดภัยแบบ Iris Scan ที่สแกนใบหน้า แล้วปลดล็อคได้ทันที

ฟีเจอร์ของตัวเครื่องอาจจะไม่ได้แตกต่างจาก Notebook ของ ASUS เพราะมีเรื่องของระบบดูแลตัวเครื่องและจัดการแบตเตอรี่ รวมไปถึง ASUS Gift

p1140549
p1140550

แต่ที่โดดเด่นคือ TouchPad ที่มีปุ่มเปิดปิด Numpad ด้านล่าง ทำให้คุณใช้งานได้สะดวกมากขึ้น และไม่ต้องห่วงเรื่องเปลี่ยนภาษาในการพิมพ์ตัวเลขเลย

การแสดงผลของภาพ / ระบบเสียง / การสัมผัส Keyboard

หน้าจอของเครื่องเป็นแบบกระจกใสและทำให้คุณมองภาพได้ดี และได้ความละเอียดระดับ Full HD จึงทำให้รับชมภาพยนตร์ได้

นอกจากนี้ระบบเสียงยังติดตั้งลำโพงจาก Harman Kardon ช่วยทำให้เสียงเพลงที่ฟังเพราะมากยิ่งขึ้น

Keyboard ออกแบบถูกหลัก Ergonomic ของคนทำให้พิมพ์ได้ง่ายและรองรับน้ำหนักได้ดี แป้นพิมพ์มีขนาดใหญ่ แต่ว่า Touch Pad อาจจะไม่ได้ใหญ่ตามเท่าไหร่

การใช้พลังงานและการชาร์จไฟกลับ

ข่าวดีคือ ASUS Zenbook 14 UX433 เลือกใช้ CPU Intel Core i7 8565U รุ่นใหม่ที่มีการจัดการพลังงานที่ดี จึงทำให้คุณประหยัดพลังงานได้โดยเคลมว่าใช้งานได้ 14 ชั่วโมง แต่จากทดสอบของทีมงาน Sanook! Hitech สามารถใช้ Notebook รุ่นนี้ได้นานสุดแบบต่อเนื่องที่ 9 ชั่วโมง แต่ถ้ามีการปิดเปิดก็สามารถใช้งานได้นานกว่านั้น

ส่วนระบชาร์จไฟ เนื่องจากเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ชาร์จไฟจะมีกำลังสูง ทำให้เครื่องรุ่นนี้เข้าสู่โหมด Quick Charge จาก Adapter ที่ติดเครื่องมา สามารถชาร์จไฟจาก 20% เต็ม 100% ใช้เวลา 40 นาทีโดยประมาณ

สรุปผลหลังทางทีมงาน Sanook! Hitech ได้ทดสอบและลองเล่น เครื่อง ASUS Zenbook 14 (UX433) มาสักระยะ

ASUS Zenbook 14 UX433 เป็นอีกคอมพิวเตอร์ที่ยกระดับทั้งการออกแบบและรูปลักษณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งโดยเฉพาะคนที่ต้องการคอมพิวเตอร์แนวพกพากอย่างยิ่ง เพราะขนาดเครื่องไม่เล็กและใหญ่เกินไป และการออกแบบ ทำให้คุณเหมือนถือสมุดเท่านั้น

แต่ประสิทธิภาพก็ไม่ได้ทิ้งเหมือนกัน แต่ถ้ารุ่นนี้เล็กไปก็มีรุ่น 15 นิ้วให้เลือก หรือใหญ่ไปก็ลดลงมาที่ 14 นิ้วก็ได้

ส่วนราคาของ ASUS Zenbook 14 UX433 เครื่องที่รีวิวมีมูลค่าอยู๋ที่ 35,990 บาท สำหรับบางคนจะไปมองหารุ่น 13 นิ้วที่ประหยัดกว่า แต่สเปคของรุ่น 14 นิ้วจะดีกว่าพอสมควร

ราคานั้นเริ่มต้นถือว่าน่าสนใจและไปหาตัวสูง ถ้าต้องการ คอมพิวเตอร์พรีเมี่ยมแต่ไม่ต้องเข้าใจยาก นี่ก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่งและ ASUS ก็เริ่มปรับปรุงบริการหลังการขาย จนทำให้คุณมั่นใจได้ไม่น้อย

ดังนั้น ถ้าต้องการ Ultrabook ที่ครบเครื่อง ไม่จ่ายแพง อ้อและเดี๋ยวมีสีแดงแสบๆ ให้เลือกด้วย ASUS Zenbook UX Series ทั้ง 3 ขนาด เป็นทางเลือกที่ไม่ควรปล่อยให้หลุดมือครับ

จุดเด่น

  • ตัวเครื่องสวยหรูเกินราคา
  • ประสิทธิภาพทำได้สมตัว
  • แบตเตอรี่อึดใช้ได้นาน
  • สีสันมีให้เลือกเยอะ
  • ราคาเครื่องสมเหตุสมผล

ข้อสังเกต

  • การ์ดจอที่ใหญ่อาจจะไม่ได้ทันใจกับคนที่ชอบเล่นเกม
  • ยังคงมีความร้อนอยู่บ้างโดยเฉพาะด้านหน้า
  • วัสดุเครื่องเสียงเป็นรอย
  • ที่ชาร์จไม่ใช่ USB-C
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook