หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชัน Optical Networking 2.0 รับยุค 5G

หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชัน Optical Networking 2.0 รับยุค 5G

หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชัน Optical Networking 2.0 รับยุค 5G
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ที่มหกรรม Mobile World Congress (MWC) 2019 หัวเว่ย ได้เปิดตัวโซลูชัน Optical Networking 2.0 (ON2.0) อย่างเป็นทางการ โซลูชันใหม่นี้ยกระดับความเร็วขึ้นไปอีกขั้นตามกฎแบนด์วิธของมัวร์เพื่อเพิ่มมูลค่าไฟเบอร์ถึงขีดสุด พร้อมนำเสนอจุดติดตั้งใหม่ (จุดติดตั้งแบบรวม) เพื่อลดต้นทุน และระบบ O&M ใหม่ที่มีความอัจฉริยะยิ่งขึ้นเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นเครือข่ายที่ทำงานโดยอิสระ โซลูชันใหม่นี้จะเข้ามาลดต้นทุน O&M และเปิดโอกาสให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมงานบริการใหม่ ๆ ต่อไป

ในยุค 5G บริการลักษณะ 2C, 2B และ 2H ในรูปแบบใหม่ ๆ ได้ปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเข้ามาขับเคลื่อนอุตสาหกรรม CT สู่ความก้าวหน้าครั้งใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาท้าทายอันมหาศาลต่อเครือข่ายรับส่งข้อมูล โดยในแวดวง 2C นั้น รายได้ของผู้ดูแลเครือข่ายไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับปริมาณการใช้ข้อมูล ส่วนในแวดวง 2B ผู้ดูแลเครือข่ายกำลังถูกผู้ให้บริการคลาวด์ (CSP) แย่งส่วนแบ่งตลาด ขณะที่ในแวดวง 2H ประสบการณ์ของผู้ใช้งานนั้นไม่เพียงพอต่อการรองรับการพัฒนาบริการใหม่ ๆ และเครือข่ายที่มีความซับซ้อนนั้นก็ทำให้ต้นทุนการทำ O&M เครือข่ายสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ ความต้องการแบนด์วิธจำเป็นต้องได้รับการตอบสนอง อย่างไรก็ดี โมเดลการพัฒนาที่อาศัยแบนด์วิธเป็นสำคัญนั้น ไม่สามารถเข้ามาหนุนรายได้ของผู้ดูแลเครือข่ายให้เติบโตได้อีกต่อไป จนก่อให้เกิดความจำเป็นในการพลิกโฉมสู่การอาศัยประสบการณ์แทน

เควิน หวง ซีเอ็มโอประจำธุรกิจ Huawei Transmission & Access Network Product Line กล่าวว่า “เราจำเป็นต้องปรับเครือข่ายการเข้าถึงและขนส่งข้อมูลทางแสง เพื่อสร้างเครือข่ายใยแก้วนำแสงพื้นฐานที่ทำงานครบวงจร (E2E) บน 5G สิ่งนี้จะช่วยให้บรรดาผู้ดูแลเครือข่ายสามารถสร้างเครือข่ายใยแก้วนำแสงแบบบูรณาการ ที่มีต้นทุนต่อบิตเหมาะสมและรับประกันคุณภาพงานบริการแบบ E2E เพื่อจัดการกับปัญหาท้าทายต่าง ๆ ในยุค 5G” ด้วยเหตุนี้เอง หัวเว่ย จึงขอเปิดตัวโซลูชัน ON2.0 ที่มาพร้อมกับคุณประโยชน์สำคัญ 3 ประการ ดังนี้

ความเร็วใหม่: กฎแบนด์วิธของมัวร์จะเข้ามาขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยี E2E ในเครือข่ายการเข้าถึง เครือข่ายเขตเมือง และเครือข่ายแกนหลัก เพื่อเดินหน้าพัฒนาแบนด์วิธและเพิ่มมูลค่าไฟเบอร์ให้ถึงขีดสุด นอกจากนี้ ยังมีการใช้ Wi-Fi 6 เพื่อเร่งการเข้าถึงในบ้าน เช่นเดียวกับ Flex-PON2.0 เพื่ออัปเกรด GPON เป็น 10G PON อย่างแนบเนียน ใช้ Super 200G เพื่อเพิ่มอัตราการรับส่งข้อมูลแบบ single-carrier ทั้งยังใช้เทคโนโลยี Super C Band เพื่อยกระดับศักยภาพของสเปกตรัมเส้นใยนำแสง ทั้งหมดนี้เป็นไปตามกฎของมัวร์ในเรื่องการรับส่งข้อมูลทางแสง

จุดติดตั้งใหม่: เครือข่ายเชิงแสง ทั้งเครือข่ายการเข้าถึง เครือข่ายเขตเมือง และเครือข่ายแกนหลัก จะถูกลดความยุ่งยากในลักษณะ E2E เพื่อลดการใช้ทรัพยากรห้องอุปกรณ์ที่จำเป็น โดยในส่วนเครือข่ายการเข้าถึงนั้น จะมีการบูรณาการการเข้าถึงสื่อประเภทต่าง ๆ เพื่อลดความซับซ้อนของจุดเข้าถึง สำหรับเครือข่ายเขตเมืองนั้น จะมีการใช้ MS-OTN เพื่อรองรับบริการประเภทต่าง ๆ เพื่อลดความซับซ้อนของจุด CO ขณะที่ปรับเครือข่ายการเข้าถึงและรับส่งข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ และเปิดให้เชื่อมต่อแบบ one-hop และในส่วนของเครือข่ายแกนหลัก จะมีการใช้เทคโนโลยีต่อไขว้ที่ใช้แสงทั้งหมด เพื่อสร้างเครือข่ายแกนหลักแบบ 3D-Mesh และลดความซับซ้อนในการเชื่อมต่อไฟเบอร์ เพื่อการกรูมมิ่งแบบใช้แสงทั้งหมด

O&M อัจฉริยะแบบใหม่: จะมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทวินบนเครือข่ายออปติกแบบกายภาพ โดยใช้ AI บิ๊กดาต้า และเทคโนโลยีคลาวด์ สิ่งนี้จะเปลี่ยน O&M จากแบบตั้งรับเป็นแบบเชิงรุก พร้อมเปลี่ยนการกำหนดค่าที่จุดใช้งานจากแบบแมนนวลเป็นแบบอัตโนมัติและอัจฉริยะ ช่วยในการวิวัฒนาการสู่เครือข่ายขับเคลื่อนอิสระ และสำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น บรอดแบนด์ระดับพรีเมี่ยม สายส่วนตัวระดับพรีเมี่ยม และการคาดการณ์สภาพเครือข่าย จะมีการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนของ O&M และทำให้มั่นใจว่าประสบการณ์ในการบริการจะมีความเหมาะสม

ด้วยโซลูชัน ON2.0 หัวเว่ยสามารถช่วยให้ผู้ดูแลเครือข่ายสามารถนำ “เครือข่ายออปติกมาใช้ในการบริการ” และพลิกโฉมเครือข่ายการรับส่งข้อมูลจากเดิมที่ใช้การเชื่อมต่อเป็นศูนย์กลาง สู่การใช้ประสบการณ์เป็นศูนย์กลาง ช่วยให้การทำธุรกิจของผู้ดูแลเครือข่ายประสบความสำเร็จ

ปัจจุบัน หัวเว่ย ได้เข้ามาสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ใน ON2.0 อย่างต่อเนื่องร่วมกับเหล่าผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลก เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตต่อไป โดยหัวเว่ย ได้ทำงานร่วมกับ China Mobile เพื่อพัฒนาโซลูชันถ่ายทอดสดวิดีโอระดับพรีเมี่ยมแบบ OTN 4K เพื่อให้ประสบการณ์รับชมวิดีโอที่ยอดเยี่ยม ด้วยการวางโครงสร้างแบบ Non-blocking ที่ไม่มีการสูญเสียข้อมูลระหว่างทาง นอกจากนี้ หัวเว่ย ยังได้ร่วมมือกับ Fastweb ในอิตาลี เพื่อพัฒนาโซลูชันสายส่วนตัวระดับพรีเมี่ยม ลดเวลาการจัดเตรียมบริการจากหลายเดือนเหลือเพียงไม่กี่สัปดาห์ และมีสภาพพร้อมใช้งานสูงถึง 99.999% ทั้งยังได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายอีกรายหนึ่งในยุโรป เพื่อเร่งสร้างนวัตกรรมในโซลูชันบรอดแบนด์ระดับพรีเมี่ยม ซึ่งรองรับการอนุมานรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายการเข้าถึงแบบ E2E และมีการแบ่งเขตจุดที่บกพร่องอย่างแม่นยำ ช่วยลดการเข้าแก้ไขในพื้นที่ทำงานลงได้ถึง 30%

คุณเควิน หวง กล่าวว่า “อุตสาหกรรมเครือข่ายออปติกทั่วโลกกำลังเผชิญกับจุดเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของยุค โดยหัวเว่ยจะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งทางต้นน้ำและปลายน้ำ เพื่อสร้างเครือข่ายออปติกรุ่นใหม่ที่มุ่งเน้น 5G เป็นหลัก และทำให้โลกใบนี้มีความอัจฉริยะและเชื่อมต่อถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook