จีน ทดลองใช้ “5G” และ “ระบบจดจำใบหน้า” จ่ายค่าโดยสารรถไฟใต้ดิน

จีน ทดลองใช้ “5G” และ “ระบบจดจำใบหน้า” จ่ายค่าโดยสารรถไฟใต้ดิน

จีน ทดลองใช้  “5G” และ “ระบบจดจำใบหน้า” จ่ายค่าโดยสารรถไฟใต้ดิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จีนเป็นผู้นำของโลกในการเป็นผู้นำ ‘สังคมไร้เงินสด‘ (Cashless society) ทั่วโลกกำลังจับตาการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในขั้นต่อไป ว่าจีนจะการก้าวเป็นผู้นำการใช้ระบบจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ในชีวิตประจำวันหรือไม่

ผู้ประกอบการสถานีรถไฟใต้ดินในเซินเจิ้นที่สถานีรถไฟใต้ดินฟูเทียน (Futian) กำลังทดสอบเทคโนโลยีขั้นสูงที่ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่าย 5G สนับสนุนโดย Huawei รวมถึงการออกตั๋วระบบจดจำใบหน้า โดยแทนที่ผู้โดยสารจะแสดงตั๋วหรือสแกน QR Code บนสมาร์ทโฟนเพื่อจ่ายค่าโดยสาร ก็สามารถสแกนใบหน้าบนหน้าจอขนาดแท็บเล็ตติดตั้งไว้ที่ประตูทางเข้าและหักค่าโดยสารอัตโนมัติที่เชื่อมโยงกับบัญชีส่วนตัวได้เลย

การนำระบบจดจำใบหน้ามาใช้ในการชำระเงินกับระบบขนส่งสาธารณะ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการรวมเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังอยู่ในโหมดทดลองอยู่ โดยในอนาคตหากทำได้ก็จะสามารถทำการจดจำหน้าผู้โดยสารได้ถึง 5 ล้านครั้งต่อวัน

ก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคม 2017 มีการเปิดตัวระบบจดจำใบหน้า ‘Smile to Pay’ โดยผู้บริโภคสามารถชำระเงินค่าไก่ทอดที่เคเอฟซีในประเทศจีนได้ในหางโจ

“ในการจองตั๋วจดจำใบหน้า ผู้โดยสารจะต้องลงทะเบียนข้อมูลใบหน้าในบัญชีส่วนตัวอีกครั้งเพื่อเปลี่ยนวิธีการชำระเงิน เช่นเดียวกับการชำระเงินที่ร้านเคเอฟซี”  พนักงานรถไฟใต้ดินกล่าว

ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของจีน (China Internet Network Information Cente) ระบุว่า จีนเป็นเมืองที่ผู้คนมีความเป็น Digital Savvy และไม่พกเงินสดมากที่สุดในโลก โดยมีคนประมาณ 583 ล้านคนที่ใช้สมาร์ทโฟนในการชำระเงิน โดยเกือบร้อยละ 68 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ใช้กระเป๋าเงินมือถือสำหรับการชำระเงินแบบออฟไลน์

นอกจากนี้ เมืองใหญ่ของจีนอย่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้กำลังใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบจดจำใบหน้าเพื่อควบคุมการจราจรและระบุผู้ขับขี่ที่ละเมิดกฎจราจร ในเซินเจิ้นเอง เมื่อเดือนเมษายน 2017 ตำรวจจราจรก็เริ่มแสดงภาพของผู้ที่เดินข้ามถนนแบบไม่ระมัดระวังบนหน้าจอ LED ขนาดใหญ่ตามทางแยกสำคัญแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook