กสทช. ยันไม่มีแนวทางจัดเก็บรายได้ OTT จากบริการอย่าง Facebook, Youtube ยังใช้งานได้อย่างปกติ

กสทช. ยันไม่มีแนวทางจัดเก็บรายได้ OTT จากบริการอย่าง Facebook, Youtube ยังใช้งานได้อย่างปกติ

กสทช. ยันไม่มีแนวทางจัดเก็บรายได้ OTT จากบริการอย่าง Facebook, Youtube ยังใช้งานได้อย่างปกติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลขาธิการกสทช. ขอชี้แจง จากกรณีแนวคิดในการจัดเก็บรายได้จากบริการ Over the Top อย่างเฟซบุ๊ก ยูทูบ และทวิตเตอร์ ยืนยันว่ายังคงเป็นแค่แนวคิดที่ยังไม่ได้ผลสรุป และยังไม่มีการประกาศบังคับใช้ พร้อมรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย

หลังจากที่มีกระแสและความเคลื่อนไหวล่าสุดจากกสทช. ถึงแนวคิดที่จะจัดเก็บรายได้จากการให้บริการคอนเทนท์ในรูปแบบ OTT หรือ Ovet the Top รวมไปถึงการปรับลดแบนด์วิดธ์ให้ลดน้อยลง หากผู้ให้บริการรายใดไม่ให้ความร่วมมือในการนำส่งรายได้ให้กับทางกสทช. นั้น ล่าสุด นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ได้ออกมาชี้แจงถึงกระแสจากเรื่องดังกล่าวที่ส่งผลไปในทางลบว่า แนวคิดในการจัดเก็บรายได้นี้ เป็นข้อหารือในหลายๆ ประเทศ มีมาไม่น้อยกว่า 2 – 3 ปีมาแล้ว สำหรับประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนนั้นก็ได้มีการหารือในเรื่องดังกล่าวนี้แล้วด้วย เนื่องจากผู้ให้บริการ OTT เหล่านั้น ให้บริการโดยใช้โครงข่ายพื้นฐานโทรคมนาคมของแต่ละประเทศเป็นจำนวนมาก แต่ว่าไม่มีการเสียภาษีเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ และปรับปรุงโครงข่ายโทรคมนาคมที่ต้องมีการสร้าง และมีการปรับปรุง และการบำรุงรักษาอยู่ทุกปี

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.

เลขาธิการกสทช. ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า แนวคิดในการจัดเก็บค่าใช้บริการโครงข่ายจาก OTT ที่มีการใช้งานโครงข่ายโทรคมนาคมในปริมาณที่มาก และมีทราฟฟิกการใช้งานสูง มีการนำเสนอขึ้นมาครั้งแรกบนเวทีในงาน “5G ปลุกไทยที่ 1 อาเซียน” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการเปิดประเด็นทางความคิดและกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการดำเนินการเรื่องของการจัดเก็บรายได้จากการประกาบธุรกิจประเภท OTT โดยในแนวคิดนี้ ตัวของเลขาธิการกสทช. ในฐานะประธานอาเซีนยด้านโทรคมนาคมในปีนี้ จะนำเรื่องดังกล่าวนำเสนอต่อที่ประชุมอาเซียน ซึ่งประเทศไทยรับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมในช่วงเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ เพื่อหาข้อยุติในเรื่องดังกล่าว

นอกเหนือจากนี้ สำหรับแนวทางการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการ OTT นั้น ในหลายประเทศอยากให้ดำเนินการ ทางด้านประเทศไทยเองนั้น ได้มีความพยายามในการจัดเก็บเมื่อช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยมีการเปิดเวทีรับฟังข้อคิดเห็นจากเหล่าแอดมินเพจ บุคคลผู้มีชื่อเสียง ผู้ที่มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ และเหล่ายูทูบเบอร์ ซึ่งทางกสทช. มีแนวคิดที่จะเสนอให้บริการ OTT เหล่านั้นต้องลงทะเบียนในประเทศไทย รวมไปถึงได้เปิดให้ผุ้ให้บริการ OTT เข้ามาลงทะเบียนกับทางกสทช. ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนั้น ตัวของเลขากสทช. เอง และหลายต่อหลายฝ่ายต่างไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่สามารถบังคับให้ผู้ที่ให้บริการ OTT ให้เข้ามาลงทะเบียนในประเทศไทยได้ (ซึ่งคุณหนุ่ย พงศ์สุข ก็เป็นหนึ่งในตัวแทนที่ได้ไปร่วมให้ความเห็นกับเรื่องดังกล่าวนี้)

ดูย้อนหลัง: แบไต๋ไลฟ์ “กสทช. จะลากแอดมินเพจเฟซบุ๊กขึ้นทะเบียน คุณคิดว่าปัญหาและปัญญามันบรรจบกันไหม?” (OA: 08/06/2560)

รวมไปถึงในหลายต่อหลายประเทศในอาเซียนก็ได้มีความพยายามให้ OTT ไปลงทะเบียนในประเทศของตนเองเช่นกัน แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ

เลขาธิการกสทช. ได้กล่าวย้ำเป็นการทิ้งท้ายว่า เรื่องดังกล่าวนี้ยังเป็นแค่แนวคิดที่ยังไม่ได้ข้อสรุป และมีผลบังคับใช้แต่อย่างใด ซึ่งหากที่ประชุมอาเซียนให้ความเห็นชอบในเรื่องดังกล่าว ทางสำนักงานกสทช. จะทำการเปิดเวทีรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุด หากแนวทางต่างๆ ที่สำนักงานกสทช. เสนอออกมาแล้วหลายฝ่ายเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้ หรือมีแนวทางที่ดีกว่า ทางกสทช. ก็พร้อมน้อมรับเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย ทั้งประเทศชาติ ประชาชน รวมไปถึงผู้ประกอบการโทรคมนาคม และผู้ประกอบการ OTT ด้วย

สรุปสั้นๆ คือ แนวคิดดังกล่าวนี้เคยมีการเสนอและเปิดเวทีรับฟังมาแล้วเมื่อสองปีที่ผ่านมา และจะมีการนำเสนออีกครั้งในปีนี้ โดยจะเสนอในเวทีการประชุมผู้นำอาเซียนในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ ถ้าในที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการ จะสามารถดำเนินการขึ้นตอนในการรับฟังความคิดเห็นได้ แต่ถ้าหลายต่อหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยแล้วนั้น ทางกสทช. จะพร้อมรับฟังข้อคิดเห็นและคำแนะนำ เพื่อนำมาปรับใช้และให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป ในส่วนของเรื่องนี้ ต้องขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่ทางกสทช. จะทำออกมาและชี้แจงให้ทั่วไปได้ทราบนั้น จะมีความชัดเจนไปในทิศทางใด และจะเห็นผลเป็นรูปธรรมหรือไม่

เพราะในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบมากที่สุด ก็คือผู้บริโภคอย่างเราๆ นั่นเอง…

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook