มูลนิธิอาเซียนจับมือกับ Microsoft เผยโครงการควารรวมมือพัฒนายาวชนสู่ยุค AI

มูลนิธิอาเซียนจับมือกับ Microsoft เผยโครงการควารรวมมือพัฒนายาวชนสู่ยุค AI

มูลนิธิอาเซียนจับมือกับ Microsoft เผยโครงการควารรวมมือพัฒนายาวชนสู่ยุค AI
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)  และพันธมิตร จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “สอนไพทอนอย่างไรให้นักเรียนมัธยมศึกษาทำโครงงานอย่างง่ายได้” สำหรับอาจารย์ไทย เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาทักษะเชิงดิจิทัลที่จำเป็นในอนาคตแก่เยาวชน ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม เมื่อเร็วๆ นี้

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “ASEAN Digital Innovation” ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียนและ ไมโครซอฟท์ เอเชีย แปซิฟิก โดยมีวัตถุประสงค์ในการเตรียมความพร้อมแก่บุคลากรในภูมิภาคอาเซียนจากทุกภูมิหลังด้วยทักษะเชิงดิจิทัลที่สำคัญอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี

 

เยาวชนคืออนาคตของประเทศไทย

วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการจ้างงานมากขึ้นในอนาคต ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่ออนาคตให้กับเยาวชนทุกคนจากทุกภูมิหลัง ด้วยทักษะและความรู้เชิงดิจิทัลที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย

ข้อมูลจากรายงานวิจัยที่จัดทำขึ้นร่วมกันโดยไมโครซอฟท์ เอเชีย แปซิฟิก และไอดีซี ในหัวข้อ “Future Ready Business: Assessing Asia Pacific’s Growth Potential Through AI” ระบุว่าอาชีพที่มีอยู่ในปัจจุบันจะไม่มีอยู่อีกต่อไปในอนาคต และยังได้พบเห็นความต้องการที่มีต่อบทบาทของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

และความต้องการนั้นไม่ได้จำกัดเพียงในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเท่านั้น ผลสำรวจดังกล่าวพบว่าภายใน 3 ปีข้างหน้า ทักษะที่ผู้บริหารธุรกิจในประเทศไทยมองหาจากพนักงานมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ ทักษะเชิงความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะเชิงดิจิทัล

 

การเตรียมความพร้อมเยาวชนสู่อนาคตยุค AI

โครงการ “ASEAN Digital Innovation” มีวัตถุประสงค์ในการเข้าถึงบุคลากรและเยาวชนจำนวน 46,000 คนใน 7 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม และเตรียมความพร้อมให้กับพวกเขาด้วยทักษะเชิงดิจิทัลที่จะช่วยให้พวกเขาเติบโตในการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุค 4.0 และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว พันธมิตรในระดับท้องถิ่นจากทั้ง 7 ประเทศจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะและความรู้ให้กับอาจารย์จำนวนกว่า 500 คน ผ่านการใช้ประโยชน์จากหลักสูตรการเรียนรู้ที่ถูกออกแบบขึ้นเป็นพิเศษ

เพื่อสานต่อโครงการดังกล่าวในประเทศไทย ไมโครซอฟท์ได้ร่วมมือกับสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเชนจ์ ฟิวชั่น จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “สอนไพทอนอย่างไรให้นักเรียนมัธยมศึกษาทำโครงงานอย่างง่ายได้” แก่อาจารย์จำนวนกว่า 50 คน

เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการฝึกอบรมทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับบุคคลากรทางการศึกษา (train the trainers) จากความมุ่งมั่นในการเตรียมความพร้อมแก่ชาวไทยสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลของไมโครซอฟท์ โดยภายในงาน มีอาสาสมัครเยาวชนจาก Coder Dojo ชมรมนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์รุ่นเยาว์ที่มาร่วมให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำแก่อาจารย์ภายในห้องเรียนด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook