เปิดศูนย์การวิจัยเทคโนโลยีและศูนย์เทคโนโลยีการผลิต ณ Dyson Singapore

เปิดศูนย์การวิจัยเทคโนโลยีและศูนย์เทคโนโลยีการผลิต ณ Dyson Singapore

เปิดศูนย์การวิจัยเทคโนโลยีและศูนย์เทคโนโลยีการผลิต ณ Dyson Singapore
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่ทาง Dyson จะได้พาท่านสื่อมวลชนจากเมืองไทยรวมทั้งทีมงาน Sanook Hitech เข้าเยี่ยมชม ศูนย์การวิจัย การออกแบบ และการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ของ Dyson เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการอันเข้มงวดของการทดสอบเทคโนโลยี ก่อนที่จะออกมาเป็นสินค้าให้พวกเราได้ใช้กัน ทั้งหมดนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่า Dyson จะเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพในการทำงานอย่างแท้จริง โดยสิ่งที่ท่านจะมีโอกาสได้สัมผัสด้วยตัวท่านเอง ได้แก่

Engineering Expertise ความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมของไดสัน ณ Singapore Tech Centre จะมีห้องทดลอง ห้องวิจัย ต่างๆมากมาย เทียบได้ระดับเดียวกับ ที่สาขาประเทศอังกฤษ

Where Hardware meets Software เป็นสถานที่ฮาร์ดแวร์มาบรรจบกับซอฟท์แวร์ เพราะที่สิงค์โปร์จะมีการ interface ระหว่างทั้งสองอย่างนี้เข้าด้วยกัน อย่างเช่น การพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ การพัฒนาเซ็นเซอร์ เทคโนโลยีเกี่ยวกับ สมาร์ทโฮม เทคโนโลยีการเชื่อมต่อ และการพัฒนาแอพลิเคชั่น

wm_2018_2_w700

Advanced Manufacturing & Supply Chain Analytics การผลิตชิ้นส่วนด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำและการวิเคราะห์ซัพพลายเชน เนื่องจากไดสันมีความตั้งใจจะให้ประเทศสิงค์โปร์ เป็นจุดรวมเทคโนโลยีมอเตอร์ทั้งหมดของไดสัน เพื่อมุ่งมั่นในการพัฒนาศาสตร์แห่งดิจิตอลมอเตอร์ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นจุดแข็งของไดสันเลยทีเดียว

เริ่มกันด้วยศูนย์การวิจัยเทคโนโลยี (Dyson Singapore Technology Centre)

ศูนย์การวิจัยเทคโนโลยี Dyson Singapore Technology Centre แห่งใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งในการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนาคตระดับโลกของไดสันที่ใช้เงินลงทุนสูงถึง 1.5 พันล้านปอนด์ ซึ่งจะเป็นสถานที่ที่วิศวกรของไดสันคิดค้นเทคโนโลยีและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆของไดสันต่อไป

ห้องทดลองเสียง (Acoustics Lab)

p5070121

ผลิตภัณฑ์ของไดสันนั้นทรงพลัง แต่ความทรงพลังมักจะมากับเสียงที่ดัง ไดสันจึงมีความต้องการที่จะพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นทำงานได้เงียบที่สุด โดยไดสันได้ใช้งบลงทุนสูงถึง 20 ล้านสิงค์โปร์ดอลล่าร์ในการสร้างห้องทดลองเสียงแห่งนี้ ซึ่งห้องนี้ถือเป็นห้องทดลองที่ใหญ่ที่สุดใน Dyson Singapore Technology Centre และยังทำให้เกิด ไดร์เป่าผมนวัตกรรม Dyson Supersonic ไดร์ที่เงียบที่สุดในโลกอีกด้วย

ห้องทดลองพลศาสตร์ของไหล (Fluid Dynamics Lab)

 เมื่อปลายปี 2016 ไดสันเริ่มบุกตลาดความงาน เปิดตัว Dyson Supersonic เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นไดร์เป่าผมที่ใช้วิศวกร กว่าร้อยคน เป็นเวลากว่า 5 ปีในการคิดค้นและพัฒนา ซึ่งที่จริงแล้วเทคโนโลยีด้านพลังลมส่วนใหญ่ถูกพัฒนาที่นี่  วิศวกรของไดสันจะได้รับมอบหมายงานในการทดสอบพลังลมในรูปแบบต่างๆ และคิดค้นวิธ๊ควบคุมพลังของดิจิตอล มอเตอร์ V9 เพื่อที่จะได้ลมเป่าที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพที่สุดในแล็บนี้

ห้องทดลองประสิทธิภาพ (Performance Lab)

ไดสันใส่ใจในเรื่องเส้นผม และได้ทำการทดลองมากมายเพื่อให้เข้าใจสภาพเส้นผม และศึกษาการตอบสนองของเส้นผมกับผลิตภัณฑ์ของไดสัน วิศวกรทำการทดสอบไดร์เป่าผม กับเส้นผมประเภทต่างๆ และทำการทดสอบซึ่งจำลองเทคนิคการไดร์ผมที่แตกต่างกันไปทั่วโลก ซึ่งมีการนำเส้นผมจริงของมนุษย์มาใช้ในการทดสอบครั้งนี้ ถ้านำความยาวของเส้นผมทั้งหมดมาคำนวณรวมกัน คิดรวมเป็นระยะทางกว่า 1,010 ไมล์ หรือประมาณ 1,625 กิโลเมตร ซึ่งการทดสอบประสทิธิภาพของไดร์ต่อเส้นผมจะเกิดขึ้นในห้องนี้

 ห้องสตูดิโอเชื่อมต่อ (Connected Studio)

หุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั่วๆไปจะทำงานตามกฎการนำทาง โดยเมื่อเซ็นเซอร์ส่งสัญญาณว่ากำลังจะชนกับวัตถุใดๆ มันจะเปลี่ยนเส้นทางแบบสุ่มๆ และเมื่อเวลาผ่านไปสักพักมันก็จะหยุดทำงานโดยคิดว่าพื้นผิวสะอาดแล้ว ซึ่งสิ่งนั้นจะไม่เกิดกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่น 360 องศาของ Dyson เพราะ  Dyson คิดค้นกล้อง 360 องศาและเชื่อมต่อมันเข้ากับหุ่นยนต์ดูดฝุ่น

ซึ่งสามารถแสดงผลบนระบบคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งภายในห้องทดลองนี้เราทดสอบการทำงานของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น โดยการเคลื่อนที่เฟอร์นิเจอร์ และสิ่งของต่างๆ เพื่อทดสอบว่ามันสามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เคยเจอมาก่อน และสามารถพัฒนาความฉลาดของตัวมันเองขึ้นได้เรื่อยๆ และที่สำคัญ Singapore Technology Centre จะกลายเป็นบ้านหลังใหม่ของซอฟต์แวร์ในอนาคต รวมถึงโครงการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์อีกด้วย

 ห้องทดลองซอฟต์แวร์ (Software Lab)

 ทีมซอฟต์แวร์ของไดสันเป็นทีมที่เติบโตเร็วที่สุด เพราะที่สิงค์โปร์นี้ มีนักพัฒนาแอพลิเคชั่นถึง 20 คนและวิศวกรซอฟต์แวร์ถึง 40 คน และเมื่อต้นปีนี้ ไดสันยังได้กำหนดแผนในการรับซอฟต์แวร์วิศวกรเข้ามาทำงานอีกกว่า 110 คนจากทั่วโลก ภายในห้องนี้ วิศวกรหลายชีวิตจะทำการออกแบบ ทดสอบ และวิเคราะห์รหัสของโปรแกรมที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของไดสัน ได้อย่างอิสระ เพื่อที่สร้างสรรค์ผงานที่ดีที่สุดออกมา

p5070125

 ห้องอิเล็กทรอนิคส์ (Electronics Lab)

ซอฟต์แวร์คือหัวใจหลักในการทำงานของไดสันดิจิตอลมอเตอร์ทำให้แซงหน้ามอเตอร์แบบอื่นๆ  เนื่องด้วยการหมุนถึง 110,000 รอบต่อนาที ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งและอัลกอริทึมที่ซับซ้อนจึงเป็นสิ่งที่คอยทำหน้าที่จับตาการทำงานและควบคุมการทำงานของมอเตอร์อย่างละเอียด และที่สำคัญยังช่วยทำให้เราสามารถกำหนดเสียงการทำงานของมอเตอร์ได้อีกด้วย ในห้องนี้จะมีการทดสอบการทำงานของซอฟต์แวร์ โดยทำให้มอเตอร์ทำงานสุดขีดจำกัด และทดสอบว่าซอฟต์แวร์สามารถควบคุมความเร็วของมอเตอร์ การเร่ง และแรงดันไฟฟ้า ของมอเตอร์ได้มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่

 หอควบคุม (Control Tower)

 ปัจจุบันไดสันผลิตดิจิตอลมอเตอร์ถึง 12 ล้านชิ้นต่อปี และเพื่อที่จะติดตามสถานะขั้นตอนการผลิตทั้งหมด ไดสันมีหอควบคุมการผลิต ที่จะคอยตับตาดูหากมีข้อผิดพลาด และวิเคราะห์ความเสี่ยงตลอดเวลา

ต่อกันด้วยอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ ศูนย์เทคโนโลยีการผลิต Dyson Singapore Advanced Manufacturing Centre

p5070169

ห้องเครื่องจักร – เครื่องกลึงอัตโนมัติ (Machining area – auto lathe)

p5070172

วัฏจักรชีวิตของดิจิตอลมอเตอร์ เช่น รุ่น V9 เริ่มต้นขึ้นที่นี่ เริ่มจากเครื่องจักรจะทำผลิตใบพัด (Impellor) โดยการใส่อลูมิเนียมเข้าไปในเครื่องกลึงอัตโนมัติ ซึ่งสามารถผลิตใบพัดได้ถึง 275 ชิ้นต่อ 28 วินาที

 เครื่องวัดเส้นศูนย์สูตร (Equator Machine)

ด้วยความเร็วของการหมุน ถึง 110,000 รอบต่อนาที ไดสันจึงจะต้องผลิตใบพัดให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดทุกชิ้น โดยกำหนดความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 50 ไมครอน ซึ่งไม่สามารถสังเกตุเห็นได้ด้วยตาเปล่า  

 เครื่องเจาะ (Drilling Machine)

p5070196

 หลังจากนั้นตัวใบพัดจะถูกส่งไปยังเครื่องเจาะอัติโนมัติ ซึ่งเครื่องจะทำการเหลาใบพัด โดยใช้เวลาเพียงแค่ 60 วินาที ซึ่งในการผลิตใบพัด 1 ชิ้นจากเครื่องจักรตัวแรก ทำให้ไดสันทีความสามารถในการผลิตใบพัด ทุกๆ 30 วินาที

 ห้องประกอบโรเตอร์ (Rotor assembly)

wm_2018_2_w70011

ในบริเวณนี้เครื่องเครื่องจักรหุ่นยนต์จะทำงานด้วยกันเพื่อประกอบชิ้นส่วนโรเตอร์ภายในมอเตอร์ โรเตอร์คือตัวหมุนทำให้เกิดพลังงานภายในมอเตอร์ ซึ่งการหมุนของโรเตอร์เกิดจากพลังลมและพลังงานแม่เหล็ก ซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้ใบพัดหมุนเช่นกัน ชิ้นส่วนของโรเตอร์ประกอบไปด้วย กระสวย แม่เหล็ก และ ลูกปืน ขั้นตอนการผลิตทั้งหมดจะอยู่ในบริเวณนี้และสุดท้ายประกอบเข้าด้วยกันเป็น ดิจิตอลมอเตอร์ เมื่อประกอบเรียบร้อยแล้ว มาถึงจุดทดสอบแรงวัตต์ พลัง และความเร็วของมอเตอร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานของไดสัน รวมถึงวัดความดังเสียงเดซิเบล ที่นี่ด้วย 

ปิดท้ายกันด้วยบทสัมภาษณ์สั้นๆ กับ Scott Maguire, Vice President, Global Engineering and Operations และ  Yvonne Tan, Dyson Digital Motor Engineering Manager

Scott Maguire, Vice President, Global Engineering and Operations

p5070166

Scott Maguire ผู้อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีของไดสัน สกอตจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกลาสโกลว สาขา วิศวกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ในปี 2003 และร่วมทำงานกับไดสันในฐานะวิศวกรออกแบบตั้งแต่นั้นมา เขาออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ไดสันมามากกว่า 50 แบบ ทั้งเครื่องดูดฝุ่น พัดลม เครื่องเป่ามือ และหุ่นยนต์ จนในปี 2010 สกอตได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายวิจัยและย้ายมาประจำที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  2 ปีต่อมาในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมประจำสิงค์โปร์และมาเลเซีย ใน ณ ปัจจุบัน สกอตดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมระดับโลก เขาดูแลตั้งแต่เรื่องของคอนเซปต์ทางด้านเทคโนโลยี ไปจนถึงกระบวนการผลิต

Yvonne Tan, Dyson Digital Motor Engineering Manager

img_3549

Yvonne ทำงานประจำอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม ดูแลการออกแบบมอเตอร์และทีมตรวจสอบด้านเครื่องกลในสิงคโปร์และฟิลิปปินส์ การประจำอยู่ที่ศูนย์ผลิตแห่งหนึ่ง Yvonne ควบคุมการผลิตดิจิตอลมอเตอร์กว่า 20 ล้านชิ้น

และเธอคนนี้คืออีกหนึ่งผู้หญิงเก่งที่โดดเด่นอยู่ในวงการไอทีระดับโลก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook